การพัฒนาเครื่องมือการประเมินความสามารถการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการสร้างและหาคุณภาพของเครื่องมือและสร้างคู่มือการใช้เครื่องมือการประเมินความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 16 ในจังหวัดสงขลา จำนวน 383 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Sampling)เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน แบบเขียนตอบ จำนวน 15 ข้อ จำนวน 1 ฉบับ นำไปทดสอบ 3 ครั้ง ทดสอบครั้งที่ 1จำนวน 193 คน ครั้งที่ 2 จำนวน 193 คน เพื่อนำไปปรับปรุง การทดสอบครั้งที่ 3 กับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 383 คนเพื่อนำแบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์และเขียนไปหาคุณภาพและนำผลการประเมินไปตัดสินระดับคุณภาพความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนของผู้เรียน ผลการวิจัยพบว่า แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์และเขียน มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาระหว่างข้อคำถามกับพฤติกรรม และเกณฑ์การให้คะแนนมีค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.60 - 1.00 พิจารณาความยากง่ายมีค่าตั้งแต่ 0.47 - 0.77 และค่าอำนาจจำแนกมีค่าตั้งแต่ 0.25 – 0.83 ความเชื่อมั่นของแบบทดสอบโดยใช้วิธีของลิวิงสตัน มีค่าเท่ากับ 0.93 ความเชื่อมั่นของเกณฑ์การให้คะแนนระหว่างการประเมินของกรรมการ 2 คนโดยวิธีของเพียร์สันมีค่าเท่ากับ 0.80 ผลการตัดสินระดับคุณภาพของนักเรียนอยู่ในระดับดี จำนวน 18 คน คิดเป็นร้อยละ 4.70 อยู่ในระดับผ่าน จำนวน 228 คน คิดเป็นร้อยละ 59.50 อยู่ในระดับไม่ผ่าน จำนวน 137 คน คิดเป็นร้อยละ 35.80
Article Details
How to Cite
บท
บทความวิจัย
ในกรณีที่กองบรรณาธิการ หรือผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งได้รับเชิญให้เป็นผู้ตรวจบทความวิจัย หรือ บทความทางวิชาการมีความเห็นว่าควรแก้ไขความบกพร่อง ทางกองบรรณาธิการจะส่งต้นฉบับให้ ผู้เขียนพิจารณาจัดการแก้ไขให้เหมาะสมก่อนที่จะลงพิมพ์ ทั้งนี้ กองบรรณาธิการจะยึดถือความคิด เห็นของผู้เชี่ยวชาญเป็นเกณฑ์