การศึกษาแนวทางการส่งเสริมเครือข่ายการวิจัยทางการศึกษา ในการขับเคลื่อนการวิจัยและพัฒนาการศึกษาเขตพื้นที่ดำเนินการที่ 3 ภาคกลางตอนล่างกลุ่มที่ 3
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัย 1) เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมเครือข่ายการวิจัยทางการศึกษาในการขับเคลื่อนการวิจัยและพัฒนาการศึกษาในระดับพื้นที่ตามกรอบทิศทางและประเด็นการวิจัยทางการศึกษาเพื่อขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษา2) เพื่อศึกษาสภาวการณ์ของงานวิจัยและพัฒนาทางการศึกษาในปัจจุบัน ข้อค้นพบของงานวิจัยและหัวข้อการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาของพื้นที่ และ 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะแนวทางการบริหารเครือข่ายในการขับเคลื่อนกรอบและทิศทางการวิจัยทางการศึกษาเพื่อปฏิรูปการศึกษาในระดับพื้นที่
กลุ่มเป้าหมายการวิจัย คือ ผลงานวิจัยและพัฒนาเพื่อขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษา ของบุคคล นักวิจัย สถาบันการศึกษาทุกระดับและทุกประเภทการศึกษา หน่วยงานทางการศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในทุกระดับการศึกษาและประเภทการศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน ซึ่งครอบคลุมกลุ่มจังหวัดที่เครือข่ายรับผิดชอบ ย้อนหลัง 3 ปี (พ.ศ. 2555-2557) ที่ผ่านการคัดเลือกตามเกณฑ์คุณภาพที่ สกศ.เป็นผู้กำหนด ภาคกลางตอนล่างกลุ่มที่ 3 จำนวน 5 จังหวัด ได้แก่ ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ นครนายก สระแก้ว ปราจีนบุรี
การวิเคราะห์ข้อมูล
วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน วิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) และสังเคราะห์ผลงานวิจัยเพื่อขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษา
ผลการวิจัยพบว่า
1) แนวทางการส่งเสริมการสร้างเครือข่ายการวิจัยทางการศึกษา ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 เริ่มต้นสร้างสรรค์ด้วยศรัทธา (ศึกษาและแสวงหาเครือข่าย) ขั้นตอนที่ 2 กำหนดกฎเกณฑ์ และแนวทางปฏิบัติ ขั้นตอนที่ 3 ดำเนินการพัฒนาเครือข่ายอย่างกัลยาณมิตร ขั้นตอนที่ 4 ปรับปรุงและนำไปใช้ และขั้นตอนที่ 5 สรุปและประเมินผล2) สภาวการณ์ของงานวิจัยและพัฒนาทางการศึกษาในปัจจุบัน พบว่า มีผลการสังเคราะห์งานวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาในพื้นที่ ตามกรอบและทิศทางการศึกษาเพื่อขับเคลื่อนปฏิรูปการศึกษาฯ รวมทั้งสิ้น 255 เรื่อง ซึ่งสามารถแยกในรายตามกรอบการวิจัย ดังนี้
กรอบที่ 1 ปฏิรูปการศึกษาและการเรียนรู้ทั้งระบบ และการศึกษาทางเลือก เพื่อสร้างสังคมให้เข้มแข็งอย่างมีคุณภาพและคุณธรรม จำนวน 105 เรื่อง
กรอบที่ 2 เพิ่มโอกาสทางการศึกษา และยกระดับมาตรฐานการศึกษาอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม เพื่อลดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย จำนวน 16 เรื่อง
กรอบที่ 3 พัฒนาศักยภาพคนทุกช่วงวัยให้เหมาะกับความต้องการของพื้นที่ และการจ้างงานในอนาคต จำนวน 19 เรื่อง
กรอบที่ 4 ส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนของสังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพและทั่วถึง จำนวน 18 เรื่อง
กรอบที่ 5 ปฏิรูปคุณภาพของความเป็นครู จำนวน 31เรื่อง
กรอบที่ 6 พัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ จำนวน 32 เรื่อง
กรอบที่ 7 สนับสนุนด้านการศึกษาเพื่อพัฒนาความสามารถของทรัพยากรมนุษย์ในการเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมอาเซียน และประชาคมโลก จำนวน 6 เรื่อง
กรอบที่ 8 วิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ จำนวน 28 เรื่อง
กรอบที่ 9 พัฒนาการศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ไม่มีผลงานวิจัย
3) ข้อเสนอแนะทางการบริหารเครือข่ายฯ ในระดับพื้นที่ พบว่า ในกระบวนการสร้างเครือข่ายนั้น ความเป็นกัลยาณมิตรระหว่างผู้วิจัยและเครือข่ายการวิจัยมีความสำคัญมากในการพัฒนาเครือข่ายการวิจัยทางการศึกษาที่ไม่ใช่เพียงประกาศรับสมัครรับงานวิจัยเท่านั้น ตัวผู้วิจัยต้องลงไปในพื้นที่ และสร้างความศรัทธาความเชื่อมั่นในตัวผู้วิจัยต่อเครือข่ายและสมาชิก โดยการช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันตลอดเวลา พร้อมทั้งการเป็นที่ปรึกษาทางวิชาการในเรื่องการศึกษาอื่นๆArticle Details
ในกรณีที่กองบรรณาธิการ หรือผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งได้รับเชิญให้เป็นผู้ตรวจบทความวิจัย หรือ บทความทางวิชาการมีความเห็นว่าควรแก้ไขความบกพร่อง ทางกองบรรณาธิการจะส่งต้นฉบับให้ ผู้เขียนพิจารณาจัดการแก้ไขให้เหมาะสมก่อนที่จะลงพิมพ์ ทั้งนี้ กองบรรณาธิการจะยึดถือความคิด เห็นของผู้เชี่ยวชาญเป็นเกณฑ์