การเรียนการสอนวรรณคดีที่เน้นผู้เรียนคิดอย่างมีวิจารณญาณ : กรณีเรื่องเล่าความเจ็บปวด “เขาตราหน้าว่าหมอฆ่าคน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพิจารณาผลการเรียนรู้ของผู้เรียน ในแง่ความสามารถด้านการวิเคราะห์ วิจารณ์วรรณคดีเรื่องเล่าความเจ็บปวด เขาตราหน้าว่าหมอฆ่าคน ของนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะศิลปศาสตร์ สาขาวิชาภาษาและภาษาไทยประยุกต์ ชั้นปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือวรรณคดีเรื่องเล่าความเจ็บปวด เขาตราหน้าว่าหมอฆ่าคน และแบบทดสอบการวิเคราะห์ วิจารณ์วรรณคดีที่ศึกษา วิธีการศึกษาวิจัย คือ พิจารณาผลการเรียนรู้ ทั้งนี้ ก่อนสอนและขณะสอนผู้วิจัยต้องใช้วิธีการศึกษาที่ให้ความรู้แก่ผู้เรียนในประเด็น ต่อไปนี้ 1) แนวคิดด้านการศึกษาเรื่องเล่าความเจ็บปวด 2) การวิเคราะห์ วิจารณ์ และคิดอย่างมีวิจารณญานต่อเรื่องเล่าความเจ็บปวดในขอบเขตการศึกษา 3) การนำเสนอและอภิปรายผลการศึกษาด้วยรูปแบบการวิเคราะห์วิจารณ์ในเนื้อหาการศึกษาวิจัย
ผลการวิจัยพบว่า ผู้เรียนมีความสามารถในการเขียนบทวิเคราะห์วิจารณ์ ระดับคะแนนที่ดีเยี่ยมร้อยละ 23.33 ระดับคะแนนดีร้อยละ 46.66 และระดับคะแนนพอใช้ร้อยละ 26.66 และระดับคะแนนผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำร้อยละ 3.33
อนึ่ง เรื่องเล่าความเจ็บปวด เขาตราหน้าว่าหมอฆ่าคน ซึ่งเป็นกรณีศึกษานั้น มีนัยสำคัญที่ผู้เล่าใช้รูปแบบงานอัตชีวประวัติเพื่อจุดมุ่งหมายดังนี้ 1) เยียวยาบาดแผลในใจ 2) ทบทวนประสบการณ์ที่ผิดพลาดในอดีต 3) ค้นหาบทเรียนชีวิต 4) ลบตราบาปในตัวเองและสร้างตัวตนใหม่ในการรับรู้ของสังคม อนึ่งเรื่องเล่าความเจ็บปวดข้างต้นชี้ได้ว่าผลลัพธ์การสื่อสารของวรรณคดีเชื่อมโยงถึงสังคมArticle Details
ในกรณีที่กองบรรณาธิการ หรือผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งได้รับเชิญให้เป็นผู้ตรวจบทความวิจัย หรือ บทความทางวิชาการมีความเห็นว่าควรแก้ไขความบกพร่อง ทางกองบรรณาธิการจะส่งต้นฉบับให้ ผู้เขียนพิจารณาจัดการแก้ไขให้เหมาะสมก่อนที่จะลงพิมพ์ ทั้งนี้ กองบรรณาธิการจะยึดถือความคิด เห็นของผู้เชี่ยวชาญเป็นเกณฑ์