วาทกรรมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในชุดวรรณกรรมเพื่ออาเซียน ของ ประภัสสร เสวิกุล
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อวิเคราะห์วาทกรรมและกระบวนการสร้างวาทกรรมสังคม-วัฒนธรรม ที่ปรากฏในตัวบทชุดวรรณกรรมเพื่ออาเซียน ของประภัสสร เสวิกุล ผู้วิจัยใช้แนวคิดการวิเคราะห์วาทกรรม (Discourse Analysis)ตามแนวคิด ของ มิเชล ฟูโกต์ (Michel Foucault) การวิเคราะห์กระบวนการสร้างวาทกรรมเน้นวิเคราะห์ตัวบท (Text) ที่แสดงเหตุการณ์ บรรยากาศ วิธีการเล่าเรื่อง บริบทของเรื่อง ตัวละคร สัญญะ(Sign) โดยตีความตัวบทหรือที่เรียกว่าการปฏิบัติการทางวาทกรรม(Discursive Practices) เพื่ออธิบายกระบวนการประกอบสร้างวาทกรรม (Construction) ของ ประภัสสร เสวิกุล ว่ามีการประกอบสร้าง /โต้กลับวาทกรรมกระแสหลัก (Dominant Discourse) และมีอุดมการณ์แฝงในชุดวรรณกรรมเพื่ออาเซียนอย่างไร
ผลการวิจัย พบว่า ผู้ประพันธ์มีการสร้างวาทกรรมตอบสนองกระแสหลักประชาคมสังคม-วัฒนธรรมอาเซียน ในชุดวาทกรรมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 2 แนวคิดหลัก คือ แนวคิดเรื่องมนุษย์คือทรัพยากรที่มีค่าของชาติ และแนวคิดเรื่องการศึกษาเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนามนุษย์ กระบวนการสร้าง วาทกรรมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ผลิตซ้ำ (Reproduction) คำคม/ ความเชื่อ/คำเปรียบ/ข้อคิด/วลี/คำสอนของบรรพบุรุษตามแนวปรัชญาขงจื๊อมาใช้สนับสนุนข้อความที่แสดงความหมายเกี่ยวกับความสำเร็จของการพัฒนามนุษย์ ประกอบสร้างตัวละครเอก (Construction) มุ่งใฝ่ดี โดยเฉพาะด้านการศึกษา การมีระเบียบวินัย ขยัน อดทน ต่อสู้กับอุปสรรคในชีวิต สุดท้ายตัวละครเอกทุกตัวประสบความสำเร็จในชีวิต หน้าที่การงาน มีชีวิตที่ดีและมีความสุข การผลิตซ้ำแนวคิดการพัฒนาทรัยพากรมนุษย์ดังกล่าวเพื่อสนับสนุนวาทกรรมกระแสหลักประชาคมสังคม-วัฒนธรรมอาเซียนที่มุ่งเน้นพัฒนาพลเมืองในประชาคมอาเซียนให้พร้อมสำหรับการแข่งขันกับภูมิภาคอื่นArticle Details
ในกรณีที่กองบรรณาธิการ หรือผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งได้รับเชิญให้เป็นผู้ตรวจบทความวิจัย หรือ บทความทางวิชาการมีความเห็นว่าควรแก้ไขความบกพร่อง ทางกองบรรณาธิการจะส่งต้นฉบับให้ ผู้เขียนพิจารณาจัดการแก้ไขให้เหมาะสมก่อนที่จะลงพิมพ์ ทั้งนี้ กองบรรณาธิการจะยึดถือความคิด เห็นของผู้เชี่ยวชาญเป็นเกณฑ์