การจัดการสถาบันขงจื๊อแห่งราชอาณาจักรไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการจัดการสถาบันขงจื๊อแห่งราชอาณาจักรไทย เปรียบเทียบการจัดการสถาบันขงจื๊อแห่งราชอาณาจักรไทยตามตัวแปร สถานภาพและภาคที่ตั้ง ศึกษาปัญหาและแนวทางแก้ไขการจัดการสถาบันขงจื๊อแห่งราชอาณาจักรไทย ได้กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง 382 คนจากประชากรที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหาร อาจารย์ผู้สอนและผู้เรียน รวมทั้งสิ้นจำนวน 58,119 คน เครื่องมือที่ใช้ใน การวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบสอบถาม ๑ ฉบับ และแบบสัมภาษณ์ด้วย การวิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติที่ใช้พิจารณาความมีนัยสำคัญจากการแจกแจงแบบ (F-test) ผลการจัยพบว่า
1. ระดับความคิดเห็นการจัดการสถาบันขงจื๊อแห่งราชอาณาจักรไทย ทั้ง 3 ประการ โดยภาพรวมอยู่ระดับมาก
2. สถานภาพและภาคที่ตั้งของสถาบันขงจื๊อแห่งราชอาณาจักรไทยแตกต่างกัน การจัดการสถาบันขงจื๊อแห่งราชอาณาจักรไทยไม่แตกต่างกัน
3. ลักษณะขององค์การ มีปัญหา จำนวนบุคลากรภายในองค์การไม่เพียงพอ บางแห่งขาดบุคลากรประสานงาน และรับผิดชอบการประชาสัมพันธ์ เปิดโอกาสให้บุคลากรได้อบรม เรียนเสริม และพัฒนาตนเองน้อยมาก แนวทางแก้ไขคือ ควรเพิ่มบุคลากรที่มีความสามารถและประสิทธิภาพต่อความต้องการ จัดบุคลากรรับผิดชอบการประสานงาน และการประชาสัมพันธ์ เปิดโอกาสให้บุคลากรภายในและภายนอกองค์การได้อบรม เรียนเสริม และพัฒนาตนเองมากกว่าเติม ลักษณะของสภาพแวดล้อม มีปัญหา ที่ตั้งของสถาบันขงจื๊อไม่สะดวกสำหรับผู้เรียนภายนอก(ไม่อยู่ในระบบมหาวิทยาลัยที่ตั้ง) จำนวนและความแตกต่างระหว่างระดับพื้นฐานของผู้เรียนในห้องเรียนยังไม่เหมาะสมกับการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน หลักสูตรไม่สอดคล้องกับ ความต้องการของผู้เรียน แนวทางแก้ไขคือ ควรประสานกับมหาวิทยาลัยที่ตั้ง เพื่อให้ผู้เรียนซึ่งไม่ใช่เป็นนักศึกษาเข้าถึงง่ายและมีการคมนาคมที่สะดวกขึ้น ควรจัดจำนวนและความแตกต่างระหว่างระดับพื้นฐานของผู้เรียนในห้องให้เหมาะสม ปรับปรุงหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน ลักษณะของผู้ปฏิบัติงาน มีปัญหา อาจารย์ผู้สอนขาดความชำนาญและประสบการณ์ขาดทักษะทางด้านภาษาไทยที่จำเป็นในการทำการสอน แนวทางแก้ไขคือ สถาบันขงจื๊อควรจัดหาอาจารย์ผู้สอนมาสอนตรงกับสายงานของอาจารย์ผู้สอนหรือความถนัด เพื่อสายตรงกับหลักสูตรการสอนภาษาจีนสำหรับคนต่างประเทศ มีประสบการณ์อย่างน้อย 2-3 ปี ควรฝึกอบรมให้มีทักษะทางด้านไทยแก่อาจารย์ผู้สอนArticle Details
ในกรณีที่กองบรรณาธิการ หรือผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งได้รับเชิญให้เป็นผู้ตรวจบทความวิจัย หรือ บทความทางวิชาการมีความเห็นว่าควรแก้ไขความบกพร่อง ทางกองบรรณาธิการจะส่งต้นฉบับให้ ผู้เขียนพิจารณาจัดการแก้ไขให้เหมาะสมก่อนที่จะลงพิมพ์ ทั้งนี้ กองบรรณาธิการจะยึดถือความคิด เห็นของผู้เชี่ยวชาญเป็นเกณฑ์