คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้นำท้องถิ่นเทศบาลตำบลทุ่งลาน อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความต้องการของประชาชนต่อคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้นำในท้องถิ่น 2) เปรียบเทียบความต้องการของประชาชนต่อคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้นำท้องถิ่นตามตัวแปรเพศ อายุ ระดับการศึกษาและอาชีพของประชาชน และ3)ความคิดเห็นแนวทางและข้อเสนอแนะของผู้นำชุมชนเกี่ยวกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้นำท้องถิ่น กลุ่มตัวอย่างคือ ประชากรอยู่ในพื้นที่ของเทศบาลตำบลทุ่งลาน จำนวน 367 คน และผู้นำชุมชน จำนวน 10 คน เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สำหรับวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานสถิติที่ใช้ คือ ค่า t-test และ F-test เมื่อพบว่าค่าสถิติมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญจะทำการทดสอบความแตกต่างระหว่างกลุ่มเป็นรายคู่โดยใช้วิธีการ Scheffe'
ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับความต้องการของประชาชนต่อคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้นำในท้องถิ่น พบว่า โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาตามเรียงลำดับ คือ ด้านมนุษยสัมพันธ์ ด้านการมีคุณธรรมและจริยธรรม ด้านความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงาน ด้านความเป็นผู้นำ ด้านการมุ่งมั่นที่จะพัฒนาท้องถิ่น และด้านการส่งเสริมและเปิดโอกาสให้เกิดการมีส่วนร่วม อยู่ในระดับมากตามลำดับ2) ผลการเปรียบเทียบความต้องการของประชาชนต่อคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้นำท้องถิ่นตามตัวแปรเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพของประชาชน พบว่า อายุ ระดับการศึกษาของประชาชนที่มีต่างกัน มีความต้องการของประชาชนต่อคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้นำท้องถิ่น แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และ3) ความคิดเห็นของผู้นำชุมชนเกี่ยวกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้นำท้องถิ่น คือ ต้องเป็นผู้มีวิสัยทัศน์กว้างไกล มีหัวใจพัฒนาและยึดหลักความถูกต้อง มีความชัดเจนในการปฏิบัติงาน เสียสละเพื่อส่วนรวม มีความเมตตาชอบช่วยเหลือผู้อื่น เข้าใจถึงสภาพปัญหาของท้องถิ่นที่แท้จริง รับฟังปัญหาจากลูกบ้านประสานความคิดกับคนทุกเพศทุกวัยทุกระดับการศึกษาได้ เปิดโอกาสให้ผู้ร่วมงานแสดงความคิดเห็น และต้องส่งเสริมภูมิปัญญาชาวบ้านอนุรักษ์ประเพณีของท้องถิ่น
Article Details
ในกรณีที่กองบรรณาธิการ หรือผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งได้รับเชิญให้เป็นผู้ตรวจบทความวิจัย หรือ บทความทางวิชาการมีความเห็นว่าควรแก้ไขความบกพร่อง ทางกองบรรณาธิการจะส่งต้นฉบับให้ ผู้เขียนพิจารณาจัดการแก้ไขให้เหมาะสมก่อนที่จะลงพิมพ์ ทั้งนี้ กองบรรณาธิการจะยึดถือความคิด เห็นของผู้เชี่ยวชาญเป็นเกณฑ์