ปัจจัยที่สัมพันธ์กับสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ตามแนว PISA ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จังหวัดสงขลา

Main Article Content

ซารีนา อุศมา

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยบางประการที่สัมพันธ์กับสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ตามแนว PISA ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 16 จังหวัดสงขลา และสร้างสมการพยากรณ์สมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ตามแนว PISA ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 16 จังหวัดสงขลา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 384 คน ได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ฉบับ  ฉบับที่ 1 ได้แก่ แบบสอบถามวัดพฤติกรรมการสอนของครู แบบสอบถามวัดประสบการณ์การสอนของครูที่ผ่านการอบรมตามแนวPISA แบบสอบถามวัดความรู้พื้นฐานเดิมของนักเรียน แบบสอบถามวัดประสบการณ์การทำโครงงานวิทยาศาสตร์ของนักเรียน แบบสอบถามวัดเจตคติต่อวิชาวิทยาศาสตร์ และแบบสอบถามวัดแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ซึ่งค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.938 และฉบับที่ 2 ได้แก่ แบบทดสอบวัดสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ตามแนว PISA ของนักเรียน มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.794 วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และใช้การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และใช้การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ

ผลการวิจัย พบว่า พฤติกรรมการสอนของครู (X1) ประสบการณ์การสอนของครูที่ผ่านการอบรมตามแนว PISA (X2) ความรู้พื้นฐานเดิมของนักเรียน (X3) ประสบการณ์การทำโครงงานวิทยาศาสตร์ของนักเรียน (X4) เจตคติต่อวิชาวิทยาศาสตร์ (X5) และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ (X6) มีความสัมพันธ์ทางบวกกับสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ตามแนว PISA ของนักเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และพบว่าประสบการณ์การสอนของครูที่ผ่านการอบรมตามแนว PISA (X2) พฤติกรรมการสอนของครู (X1) ความรู้พื้นฐานเดิมของนักเรียน (X3)และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ (X6) สามารถร่วมกันพยากรณ์สมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ตามแนว PISA ของนักเรียนได้อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ (R) เท่ากับ 0.857 มีประสิทธิภาพของการพยากรณ์ (R2) ร้อยละ 73.4 โดยตัวแปรที่พยากรณ์ได้มีค่าสัมประสิทธิ์ของตัวพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ (b) ดังสมการ

 =  -5.452 + 1.079X2 + 1.280X1 + .654X3 + .614X6

Article Details

บท
บทความวิจัย