การพัฒนาความรู้พื้นฐานด้านการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยโดยใช้ชุดการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาความรู้ครูปฐมวัย ที่สำเร็จการศึกษาไม่ตรงกับสาขาวิชาที่สอน สำหรับครูปฐมวัยในโรงเรียนเอกชน อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพชุดฝึกอบรมความรู้พื้นฐานด้านการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยสำหรับครูปฐมวัยที่สำเร็จการศึกษาไม่ตรงกับสาขาวิชาที่สอน ตามเกณฑ์มาตรฐาน 75/75 2) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความรู้พื้นฐานด้านการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยของครูปฐมวัยที่สำเร็จการศึกษาไม่ตรงกับสาขาวิชาที่สอน ทั้งก่อนและหลังการใช้ชุดฝึกอบรม 3) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจต่อชุดการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาความรู้ครูปฐมวัย ที่สำเร็จการศึกษาไม่ตรงกับสาขาวิชาที่สอน กลุ่มเป้าหมายในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ ครูปฐมวัยในโรงเรียนเอกชน อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี ที่สำเร็จการศึกษาไม่ตรงกับสาขาวิชาที่สอนและปฏิบัติงานอยู่ในสถานศึกษาเป็นระยะเวลาต่ำกว่า 2 ปี ซึ่งได้กลุ่มเป้าหมายมาด้วยวิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง โดยการวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) โดยมีรูปแบบการทดลองแบบกลุ่มเดียวทดลองก่อนและหลังการทดลอง (One Group Pretest-Posttest Design) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบไปด้วย ชุดฝึกอบรมความรู้พื้นฐานด้านการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยสำหรับครูปฐมวัยที่สำเร็จการศึกษาไม่ตรงกับสาขาวิชาที่สอน แบบทดสอบวัดความรู้พื้นฐานด้านการจัดการศึกษาปฐมวัย และแบบประเมินความพึงพอใจ ต่อชุดการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาความรู้ครูปฐมวัยที่สำเร็จการศึกษาไม่ตรงกับสาขาวิชาที่สอน ใช้สถิติ ร้อยละและค่าเฉลี่ยในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพของชุดฝึกอบรมเพื่อพัฒนาความรู้ครูปฐมวัย ที่สำเร็จการศึกษาไม่ตรงกับสาขาวิชาที่สอนมีค่าเท่ากับ 75.08/75.20 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 75/75 ที่ตั้งไว้ 2) คะแนนเฉลี่ยความรู้พื้นฐานด้านการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยของผู้เข้ารับการอบรมหลังจากการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนการฝึกอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .013) ผู้เข้ารับการอบรมมีความพึงพอใจต่อการใช้ชุดฝึกอบรมระดับมากโดย มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.46
Article Details
How to Cite
บท
บทความวิจัย
ในกรณีที่กองบรรณาธิการ หรือผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งได้รับเชิญให้เป็นผู้ตรวจบทความวิจัย หรือ บทความทางวิชาการมีความเห็นว่าควรแก้ไขความบกพร่อง ทางกองบรรณาธิการจะส่งต้นฉบับให้ ผู้เขียนพิจารณาจัดการแก้ไขให้เหมาะสมก่อนที่จะลงพิมพ์ ทั้งนี้ กองบรรณาธิการจะยึดถือความคิด เห็นของผู้เชี่ยวชาญเป็นเกณฑ์