การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีมของพนักงานส่วนท้องถิ่น

Main Article Content

อัมพร ปัญญา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ  พัฒนารูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีมของพนักงานส่วนท้องถิ่น และเพื่อประเมินรูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีมของพนักงานส่วนท้องถิ่น การวิจัยนี้ศึกษาเฉพาะพนักงานส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี ได้แก่  เทศบาลเมืองบางกรวย เทศบาลตำบลปลายบาง เทศบาลตำบลศาลากลาง เทศบาลตำบลบางสีทอง  องค์การบริหารส่วนตำบลบางขุนกอง องค์การบริหารส่วนตำบลบางขนุน และองค์การบริหารส่วนตำบลมหาสวัสดิ์ กลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key Informants) โดยใช้วิธีการพหุวิธี  (Triangulation) จำนวน 9 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงด้วยเทคนิคแบบ Snowball และใช้แบบเสวนา (Dialoque) แบบตัวต่อตัว ส่วนกลุ่มตัวอย่างเพื่อประเมินรูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม ได้แก่ พนักงานส่วนท้องถิ่น จำนวน 316 คน ได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) ที่ระดับความเชื่อมั่น 95 % เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่วัดความเที่ยง (Reliability) ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach) เท่ากับ 0.9651 การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติที่ใช้ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลของการวิจัย พบว่า (1) ผลการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีมของพนักงานส่วนท้องถิ่น  โดยผู้เชี่ยวชาญ มีความเห็นสอดคล้องกันในทุกองค์ประกอบ มากกว่า 50 % ได้แก่ ด้านคุณลักษณะส่วนบุคคล ประกอบด้วย ภาวะผู้นำ การสื่อสารที่ดี ความเชี่ยวชาญส่วนบุคคล รูปแบบความคิดในใจที่เปิดกว้าง และความคิดเชิงระบบ ด้านหลักการเรียนรู้ ประกอบด้วย การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้จากประสบการณ์ การเรียนรู้จากการปฏิบัติ การเรียนรู้จากสภาพความเป็นจริงในปัจจุบัน และการเรียนรู้วิธีที่จะเรียนรู้ และการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน(PBL) ด้านการจัดการความรู้ ประกอบด้วย การแสวงหาความรู้ การสร้างความรู้ การเก็บรักษาความรู้ การวิเคราะห์และกลั่นกรองความรู้ การถ่ายโอนและแบ่งปันความรู้ การนำความรู้ไปใช้และทำให้ถูกต้อง ด้านการเป็นชุมชนนักปฏิบัติ ประกอบด้วย การมีหัวข้อความสนใจหรือความชำนาญอย่างเดียวกัน การมีปฏิสัมพันธ์กันอย่างต่อเนื่อง การมีแนวปฏิบัติร่วมกัน และการบริหารจัดการตามวัตถุประสงค์ (MBO)  (2) ผลการประเมินรูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีมของพนักงานส่วนท้องถิ่น  พบว่าโดยภาพรวมทุกองค์ประกอบอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านการถ่ายโอนและแบ่งปันความรู้ รองลงมาได้แก่ด้านการมีปฏิสัมพันธ์กันอย่างต่อเนื่อง อยู่ในระดับมาก ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยที่น้อยที่สุด แต่อยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านการเรียนรู้ด้วยตนเองและด้านการเรียนรู้ด้วยวิธีเรียนรู้ ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากัน

Article Details

บท
บทความวิจัย