การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อยกระดับทักษะภาษาอังกฤษ ตามกรอบอ้างอิงทางภาษาของสหภาพยุโรปของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อยกระดับทักษะภาษาอังกฤษตามกรอบอ้างอิงทางภาษาของสหภาพยุโรป ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยมีขั้นตอนการดำเนินการศึกษาดังนี้ 1) การศึกษาข้อมูลพื้นฐานด้านการพัฒนาตนเองด้านทักษะภาษาอังกฤษ 2) การสร้างและตรวจสอบคุณภาพหลักสูตร และ 3) การใช้และประเมินผลหลักสูตร เพื่อเปรียบเทียบทักษะภาษาอังกฤษ ก่อนและหลังการฝึกอบรม กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 ของโรงเรียนบ้านย่านตาขาว อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง จำนวน 30 คน ได้มาโดยนักเรียนที่มีความสนใจหรือสมัครใจในการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ เครื่องมือที่ใช้ ประกอบด้วย หลักสูตรฝึกอบรม แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมินทักษะภาษาอังกฤษทั้ง ฟัง พูด อ่าน และเขียน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าคะแนนเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าที ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานด้านการพัฒนาตนเองด้านทักษะภาษาอังกฤษ เพื่อยกระดับทักษะภาษาอังกฤษ ตามกรอบอ้างอิงทางภาษาของสหภาพยุโรป ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่านักเรียนมีความสามารถในการใช้ทักษะภาษาอังกฤษยู่ในระดับพอใช้ สามารถสื่อสารได้ตามความสามารถของระดับชั้น ขาดการฝึกฝนทักษะและขาดความรู้เรื่องคำศัพท์ ไม่กล้าแสดงออก นำทักษะภาษาอังกฤษไปใช้ในชีวิตประจำวัน อยู่ในระดับน้อย นำความรู้ไปใช้ในชีวิตจริงไม่ถูกต้อง ขาดการสนับสนุนจากทางโรงเรียนและทางบ้าน และขาดความแม่นยำในการนำทักษะภาษาอังกฤษไปใช้ และนักเรียนมีความต้องการในการพัฒนาตนเองด้านทักษะภาษาอังกฤษอยู่ในระดับมาก
2. ผลการสร้างและตรวจสอบคุณภาพหลักสูตร
ประกอบด้วย แผนการฝึกอบรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และแบบประเมินทักษะการฟัง แบบประเมินทักษะการพูด แบบประเมินทักษะการอ่าน และแบบประเมินทักษะการเขียน
3. ผลการนำหลักสูตรไปใช้
ผลการเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยก่อนฝึกอบรมและหลังฝึกอบรมทักษะภาษาอังกฤษ ตามกรอบอ้างอิงทางภาษาของสหภาพยุโรป ทุกทักษะหลังฝึกอบรมสูงกว่าก่อนฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
ในกรณีที่กองบรรณาธิการ หรือผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งได้รับเชิญให้เป็นผู้ตรวจบทความวิจัย หรือ บทความทางวิชาการมีความเห็นว่าควรแก้ไขความบกพร่อง ทางกองบรรณาธิการจะส่งต้นฉบับให้ ผู้เขียนพิจารณาจัดการแก้ไขให้เหมาะสมก่อนที่จะลงพิมพ์ ทั้งนี้ กองบรรณาธิการจะยึดถือความคิด เห็นของผู้เชี่ยวชาญเป็นเกณฑ์