รายงานผลการใช้หน่วยการเรียนรู้ท้องถิ่น เรื่อง ไข่ครอบภูมิปัญญาชาวบ้าน ริมทะเลสาบสงขลา กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

Main Article Content

ณัฐติกา พรมดำ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหน่วยการเรียนรู้ท้องถิ่น เรื่อง ไข่ครอบภูมิปัญญาชาวบ้านริมทะเลสาบสงขลา  2) สร้างและหาคุณภาพหน่วยการเรียนรู้ท้องถิ่น  3) ศึกษาผลการใช้หน่วยการเรียนรู้ท้องถิ่น โดยประเมินจาก 3.1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน 3.2) ผลการปฏิบัติงานของนักเรียนที่เรียนด้วยหน่วยการเรียนรู้ท้องถิ่น 3.3) ความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนด้วยหน่วยการเรียนรู้ท้องถิ่นเรื่องไข่ครอบภูมิปัญญาชาวบ้านริมทะเลสาบสงขลา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558  โรงเรียนเทศบาล 3 วัดศาลาหัวยาง  จำนวน 34  คน  ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster  Random  Sampling)  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1)
แบบสัมภาษณ์ความคิดเห็นและความต้องการในการพัฒนาหน่วยการเรียนรู้  2) หน่วยการเรียนรู้ท้องถิ่น เรื่อง

ไข่ครอบภูมิปัญญา ชาวบ้านริมทะเลสาบสงขลา 3) แผนการจัดการเรียน จำนวน 6 แผน  จำนวน เวลา 18 ชั่วโมง
 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบปรนัย เลือกตอบ 4  ตัวเลือก จำนวน  30 ข้อ  5)  แบบประเมินผลการปฏิบัติงาน  6) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยหน่วยการเรียนรู้ท้องถิ่น
 จำนวน 13 ข้อ

      ผลการวิจัยพบว่า  1)  ผู้บริหารสถานศึกษา ครู คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง และนักเรียน  เห็นความสำคัญและต้องการให้มีการพัฒนาหน่วยการเรียนรู้ท้องถิ่น และเห็นว่าควรจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อปลูกฝังให้เยาวชนได้มีความรู้ความเข้าใจ เกิดความหวงแหนในท้องถิ่นของตนเอง และร่วมกันสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นให้ยั่งยืน  2)  การตรวจสอบคุณภาพของหน่วยการเรียนรู้ท้องถิ่น  โดยผู้เชี่ยวชาญพบว่า  มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 0.90  
3) การศึกษาผลการใช้และการประเมินผลการใช้หน่วยการการเรียนรู้ท้องถิ่น  พบว่า 3.1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในภาพรวมอยู่ในระดับดีเยี่ยม  มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 80.09 สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3.2) คะแนนผลการปฏิบัติงาน รวมอยู่ในระดับดีมาก มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 87.62 สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3.3) ความพึงพอใจของนักเรียนต่อหน่วยการเรียนรู้ท้องถิ่น อยู่ในระดับมากที่สุด มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 4.81 สูงกว่าเกณฑ์ 3.51 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

บท
บทความวิจัย