การพัฒนาการอ่านภาษาญี่ปุ่นเพื่อความเข้าใจสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือแบบจิกซอว์ประยุกต์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาญี่ปุ่นเพื่อความเข้าใจสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาญี่ปุ่นเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างก่อนและหลังเรียน เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาญี่ปุ่นเพื่อความเข้าใจหลังเรียนของนักเรียนกลุ่มที่ใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือแบบจิกซอว์ประยุกต์กับกลุ่มที่ใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือแบบจิกซอว์ และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือแบบจิกซอว์ประยุกต์
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนโปรแกรมอังกฤษ-ญี่ปุ่น โรงเรียนธาตุนารายณ์วิทยาจังหวัดสกลนคร แบ่งเป็น กลุ่มทดลอง จำนวน 20 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือแบบจิกซอว์ประยุกต์และแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือแบบจิกซอว์ แบบทดสอบก่อนและ หลังเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือแบบจิกซอว์ประยุกต์
ผลการศึกษา พบว่า นักเรียนกลุ่มทดลองที่เรียนโดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือแบบจิกซอว์ประยุกต์ และนักเรียนกลุ่มควบคุมที่เรียนโดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือแบบจิกซอว์ มีคะแนนความสามารถในการอ่านภาษาญี่ปุ่นเพื่อความเข้าใจ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นักเรียนกลุ่มทดลองที่เรียนที่ใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือแบบจิกซอว์ประยุกต์ มีคะแนนความสามารถในการอ่านภาษาญี่ปุ่นเพื่อความเข้าใจหลังเรียนสูงกว่ากลุ่มควบคุมเรียนที่ใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือแบบจิกซอว์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 19.10 คะแนน และกลุ่มควบคุมมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 13.35 คะแนน และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือแบบจิกซอว์ประยุกต์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก
Article Details
ในกรณีที่กองบรรณาธิการ หรือผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งได้รับเชิญให้เป็นผู้ตรวจบทความวิจัย หรือ บทความทางวิชาการมีความเห็นว่าควรแก้ไขความบกพร่อง ทางกองบรรณาธิการจะส่งต้นฉบับให้ ผู้เขียนพิจารณาจัดการแก้ไขให้เหมาะสมก่อนที่จะลงพิมพ์ ทั้งนี้ กองบรรณาธิการจะยึดถือความคิด เห็นของผู้เชี่ยวชาญเป็นเกณฑ์