บทบรรณาธิการ
Main Article Content
บทคัดย่อ
สืบเนื่องจากการพิจารณาบทความวิชาการและบทความวิจัยจากกองบรรณาธิการชุดที่ผ่านมา ซึ่งมีรองศาสตราจารย์ดร.นิรันดร์ จุลทรัพย์ เป็นบรรณาธิการ เพื่อลงตีพิมพ์ในวารสารปีที่ 17 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2560 ได้คัดเลือกผลงานทางวิชาการ จำนวน 14 เรื่อง ซึ่งประกอบไปด้วยผู้เขียนที่เป็นทั้งนักวิจัยรุ่นเยาว์และนักวิชาการ บทความที่นำเสนอแบ่งได้เป็นสี่กลุ่ม กลุ่มแรก บทความวิชาการลำดับที่ 1 และ 2 มุ่งสะท้อนการมองการศึกษา ในมุมของการเรียนรู้รายวิชาสังคมศึกษาที่ครูควรจะต้องมีบทบาทในการเป็นผู้กระตุ้น แนะนำให้ผู้เรียนมีอัตลักษณ์ของความเป็นนักคิดมากกว่าที่จะเป็นเพียงผู้รอรับและบริโภคความรู้ กลุ่มที่สอง บทความวิจัยลำดับที่ 3-7 มุ่งสะท้อนการให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพและความรู้ของนักเรียน ทั้งในเรื่องของการพัฒนาทักษะการอ่านภาษาไทย ภาษาญี่ปุ่น การเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นซึ่งเป็นความรู้ใกล้ตัว การพัฒนาหลักสูตรที่เอื้ออำนวยต่อการสร้างทักษะภาษาอังกฤษของนักเรียน รวมถึงการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนควบคู่ไปกับการเรียนสาระความรู้วิชาการ กลุ่มที่สาม บทความวิจัยลำดับที่ 8-11 มุ่งเน้นการทำความเข้าใจเรื่องของการศึกษาที่เชื่อมโยงกับบริบทการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียน เช่น การศึกษาคุณภาพของแบบทดสอบ ภาวะผู้นำของการเป็นผู้บริหารโรงเรียน ที่ผู้บริหารจำเป็นต้องสร้างและพัฒนาขึ้นมาตามสถานการณ์ของการทำงานจริง ดังกรณีผู้นำในสถานการณ์สังคมพหุวัฒนธรรม ส่วนกลุ่มที่สี่ บทความวิจัยลำดับที่ 11-14 มุ่งเน้นการมองการศึกษาที่เลยไปจากกรอบความรู้วิชาการและสถาบันโรงเรียน การศึกษาตามนัยนี้คือเรื่องของการเรียนรู้ การทำงานร่วมกันของคนในองค์กร การพัฒนาศักยภาพของคนหลังจากผ่านการเรียนรู้ในสถาบันการศึกษามาแล้ว
กองบรรณาธิการขอขอบคุณผู้ที่มีส่วนสำคัญในการสร้างสรรค์และพัฒนาวารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ทั้งผู้ส่งบทความ ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความ และผู้อ่านทุกท่าน เชื่อว่าพื้นที่อิสระทางวิชาการด้านการศึกษาในแบบแผนของวารสารนี้ จะช่วยให้สังคมวิชาการมีพื้นที่ในตั้งคำถามกับการศึกษา เพื่อให้เกิดการสร้างสรรค์ พัฒนาและแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด รวมถึงประสบการณ์จริงทางด้านการศึกษาอย่างกว้างขวาง
Article Details
ในกรณีที่กองบรรณาธิการ หรือผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งได้รับเชิญให้เป็นผู้ตรวจบทความวิจัย หรือ บทความทางวิชาการมีความเห็นว่าควรแก้ไขความบกพร่อง ทางกองบรรณาธิการจะส่งต้นฉบับให้ ผู้เขียนพิจารณาจัดการแก้ไขให้เหมาะสมก่อนที่จะลงพิมพ์ ทั้งนี้ กองบรรณาธิการจะยึดถือความคิด เห็นของผู้เชี่ยวชาญเป็นเกณฑ์