การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง การขยายพันธุ์ยางพารา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่องการขยายพันธุ์ยางพาราสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2 โดยสำรวจความคิดเห็นของชุมชน เพื่อเลือกเนื้อหาสร้างหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม สร้างและตรวจสอบคุณภาพโครงร่างหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม หาประสิทธิภาพ และประสิทธิผลหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง การขยายพันธุ์ยางพารา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านพรุนายขาว จังหวัดพัทลุง ปีการศึกษา 2557 จำนวน 17 คน เครื่องมือการวิจัย ประกอบด้วยการสนทนากลุ่มในการเลือกรายวิชาเรียน แบบวัดความเหมาะสมและความสอดคล้ององค์ประกอบของหลักสูตร แผนการจัดการเรียนรู้ แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบวัดทักษะการปฏิบัติงาน แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนและ แบบสอบถามความคิดเห็นของครูผู้สอนและวิทยากรท้องถิ่นต่อหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง การขยายพันธุ์ยางพารา การวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าดัชนีความสอดคล้อง ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ
ผลการวิจัยพบว่า หลักสูตรมีความเหมาะสมและความสอดคล้องทุกองค์ประกอบในทุกประเด็นเหมาะที่จะนำไปใช้จัดการเรียนรู้ การนำหลักสูตรไปทดลองใช้ พบว่า หลักสูตรมีประสิทธิภาพ 89.06/89.41 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด และประสิทธิผลของหลักสูตรด้านความรู้ ความเข้าใจ การปฏิบัติงาน หลังใช้หลักสูตรสูงกว่าก่อนใช้หลักสูตรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นักเรียนมีความพึงพอใจต่อหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมโดยภาพรวมในระดับมาก (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.22) ครูผู้สอนและวิทยากรท้องถิ่น มีความเห็นว่าหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมมีความเหมาะสมในระดับมากทุกด้าน(ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.37)
Abstract
The study of additional curriculum developement on para rubber propagation for the Prathomsueksa 5 Students of School in Phatthalung Primary Educational Area 2 was aimed to survey the opinions from community in the additional curriculum selection. The study required to establish and examine the quality of additional curriculum framework. The 17 Prathomsueksa 5 students of Ban Prunaikhaw School in Phatthalung 2014 year were subjects of this study. Questionnaire assessments were performed by using additional curriculum group conversation questions, curriculum according assessments,management of learning plan,the study achievement, practice skill assessment and assessment of satisfied and opinion of teachers and local trainers in additional curriculum of students. The statistic used was, mean, standard deviation and percentage.
Result of the study found that the curriculum was appropriate and consistent in all components. Trail study showed that developed curriculum was higher effectively than set criteria as 89.06/89.41. The effectiveness of the curriculum statistically significant increased after the study at a level of 0.05. All students satisfied with additional curriculum overall in an average level of 4.22. The opinion of teachers and local trainers to the additional curriculum was in a good level (= 4.37).
Article Details
ในกรณีที่กองบรรณาธิการ หรือผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งได้รับเชิญให้เป็นผู้ตรวจบทความวิจัย หรือ บทความทางวิชาการมีความเห็นว่าควรแก้ไขความบกพร่อง ทางกองบรรณาธิการจะส่งต้นฉบับให้ ผู้เขียนพิจารณาจัดการแก้ไขให้เหมาะสมก่อนที่จะลงพิมพ์ ทั้งนี้ กองบรรณาธิการจะยึดถือความคิด เห็นของผู้เชี่ยวชาญเป็นเกณฑ์