การศึกษาและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ยุทธศาสตร์สะท้อนอภิปัญญร่วมกับการเรียนรู้แบบใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อพัฒนาความสามารถในการออกแบบหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น : กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ จังหวัดฉะเชิงเทรา

Main Article Content

ทิพย์วิมล วังแก้วหิรัญ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

                   การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ยุทธศาสตร์สะท้อนอภิปัญญาร่วมกับการเรียนรู้แบบใช้ชุมชนเป็นฐาน และศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ยุทธศาสตร์สะท้อนอภิปัญญาร่วมกับการเรียนรู้แบบใช้ชุมชนเป็นฐาน ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ยุทธศาสตร์สะท้อนอภิปัญญาร่วมกับการเรียนรู้แบบใช้ชุมชนเป็นฐานได้อาศัยหลักการของแนวคิดการสร้างสรรค์ความรู้  การรู้กระบวนการเรียนรู้หรืออภิปัญญา การเรียนรู้ด้วยโครงงาน และการเรียนรู้แบบใช้ชุมชนเป็นฐาน มาใช้เป็นหลักการในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน โดยกำหนดชื่อเป็น รูปแบบการเรียนการสอน KWPML Plus Community Based Project การเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนดังกล่าวเป็นการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ ผู้เรียนได้เรียนรู้ และสร้างองค์ความรู้ตามความสนใจของตนเอง ได้ฝึกทักษะกระบวนการคิด เกิดการเรียนรู้กระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง ได้ลงมือปฏิบัติจริง มีขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ 6 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การสำรวจความรู้เดิม ขั้นตอนที่ 2  การกำหนดเป้าหมายการเรียนรู้  ขั้นตอนที่ 3 การวางแผนดำเนินงานเพื่อสร้างความรู้ใหม่ ขั้นตอนที่ 4  การกำกับและตรวจสอบกระบวนการดำเนินงานตามแผน  ขั้นตอนที่  5 การสรุปองค์ความรู้ และขั้นตอนที่ 6  การวางแผนต่อยอดองค์ความรู้ด้วยโครงงานการเรียนรู้แบบใช้ชุมชนเป็นฐาน ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนย่อย 4 ขั้นตอนได้แก่  (1) การกำหนดหัวข้อและเป้าหมายการเรียนรู้  (2)  การวางแผนดำเนินงาน (3) การดำเนินงานตามแผน (4) การสรุปองค์ความรู้และสะท้อนความคิด ผลการตรวจสอบคุณภาพรูปแบบการเรียนการสอนพบว่า ทุกองค์ประกอบ ซึ่งประกอบด้วย แนวคิดและหลักการของรูปแบบ วัตถุประสงค์ของรูปแบบ ขั้นตอนกระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ และผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนหลังจากการเรียนตามรูปแบบ มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุดทุกองค์ประกอบ ส่วนผลที่เกิดขึ้นจากการเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอน KWPML Plus  Community Based Project พบว่าช่วยทำให้ผู้เรียนเกิดทักษะการสืบค้นข้อมูล การเห็นประโยชน์ของแหล่งเรียนรู้ในชุมชน มีจิตสำนึกร่วมอนุรักษ์องค์ความรู้ในชุมชน พัฒนาทักษะการตั้งคำถาม พัฒนาทักษะการสรุปองค์ความรู้ และพัฒนาทักษะการวางแผน ในระดับมาก ส่วนทักษะการกำกับตนเองในการเรียนรู้ ได้รับการพัฒนาในระดับปานกลาง

           

Abstract

              The objectives of this research were: to develop an instructional model based on reflective metacognition strategies together with community based learning  and to study the using of the developed instructional model. The instructional model based on reflective metacognition strategies together with community based learning was based on the principle of constructivism theory, metacognitive theory, project based learning, and community based learning information to be the principle of the instructional model and was named  KWPML Plus Community Based Project. There were 6 steps of learning process which were; step 1 : reviewing prior knowledge,  step 2 : setting learning outcomes goal, step 3 : planning to construct new knowledge, step 4 : operating and monitoring according to the plan, step 5: summarizing new knowledge and step 6 : planning a project to construct further new knowledge which follow 4 steps ; 1) setting project topic and learning outcomes, 2) planning learning activities according to the learning outcomes, 3) operating step by step and 4) summarizing and reflecting the new knowledge. The quality of instructional model was in very high level in every aspects which consisted of the instructional model principle, the instructional model objectives, learning process and learning results.  The implementation of KWPML Plus Community Based Project instructional model revealed that the learners were enhancing progress in high level of these aspects ; information researching skill, concerning of community learning resources benefit and willing to conserve the local knowledge, developing the questioning skill, summarizing skill and planning skill. Besides, self learning monitoring was developed in the middle level as well.   

Article Details

บท
บทความวิจัย