ผลการใช้ชุดการเรียนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ความเท่ากันทุกประการ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาชุดการเรียนเพื่อ 1) ส่งเสริมความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ เรื่องความเท่ากันทุกประการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนตะโหมด ให้มีประสิทธิภาพ 80/80 และมีดัชนีประสิทธิผลมากกว่า 0.50 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังใช้ชุดการเรียน 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดการเรียนกับการเรียนแบบปกติ 4) เปรียบเทียบความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดการเรียนกับเกณฑ์ และ 5) เปรียบเทียบความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดการเรียนกับการเรียนแบบปกติ
กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนตะโหมด อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง เป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 30 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ชุดการเรียนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ เรื่องความเท่ากันทุกประการ และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีค่าความยาก 0.40 - 0.80 ค่าอำนาจจำแนก 0.20 - 0.80 และค่าความเชื่อมั่น 0.87 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ ได้แก่ สถิติทดสอบที
ผลการวิจัย พบว่า 1) ชุดการเรียนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ เรื่องความเท่ากันทุกประการ ที่ได้พัฒนามีประสิทธิภาพ 80.83/81.41 และดัชนีประสิทธิผล เท่ากับ 0.64 และ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังใช้ชุดการเรียนสูงกว่าก่อนใช้ชุดการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดการเรียนสูงกว่า การเรียนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 4) ความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดการเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 65 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01โดยมีคะแนนเฉลี่ย 21.70 คะแนน คะแนนคิดเป็นร้อยละ 86.80 และ 5) ความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดการเรียนสูงกว่า การเรียนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Abstract
The research aimed to ; develop learning packages on congruency to promote mathematical reasoning ability to meet the 80/80 efficiency standard, to have index of the effectiveness more than 0.50, compare mathematical achievement before and after using the learning packages, compare mathematical achievement after using the learning packages and conventional instruction, compare mathematical reasoning ability after using the learning packages and its criteria and compare mathematical reasoning ability after using the learning packages and conventional instruction.
Samples of this research were Matthayomsuksa II students, Tamot school, Tamot district, Phatthalung and enrolled mathematics course in semester I, Academic Year 2013. The experimental group were 30 students and The control group were 30 students. The research instruments is consist of; 1) the learning packages on congruency to promote mathematical reasoning ability and 2) the achievement test with difficulty index is 0.40 - 0.80 and discriminant index is 0.20 – 0.80 , reliability is 0.87. Statistics were used to analyze data such as mean, standard deviation, t-test independent samples , t-test dependent samples and t-test one sample.
The research results were the efficiency of learning packages was 80.83/81.41. The effectiveness index of learning packages was 0.64. The achievement was higher then pre-test with significant at the .01 level. The achievement taught by the learning packages was higher then by conventional instruction with significant at the .01 level. The mathematical reasoning ability after using the learning packages was statistically higher than 65 percent criterion at the .01 level of significance. Its mean score 21.70 was as 86.80 %. The mathematical reasoning ability after using the learning packages was higher then by conventional instruction with significant at the .01 level.
Article Details
ในกรณีที่กองบรรณาธิการ หรือผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งได้รับเชิญให้เป็นผู้ตรวจบทความวิจัย หรือ บทความทางวิชาการมีความเห็นว่าควรแก้ไขความบกพร่อง ทางกองบรรณาธิการจะส่งต้นฉบับให้ ผู้เขียนพิจารณาจัดการแก้ไขให้เหมาะสมก่อนที่จะลงพิมพ์ ทั้งนี้ กองบรรณาธิการจะยึดถือความคิด เห็นของผู้เชี่ยวชาญเป็นเกณฑ์