การนำเสนอรูปแบบการเรียนการสอนด้วยกลวิธีการกำกับตนเองร่วมกับการเรียนรู้ร่วมกันใน การเรียนแบบผสมผสาน สำหรับนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต

Main Article Content

ดิเรก ธีระภูธร

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อสร้างรูปแบบการเรียนการสอนด้วยกลวิธีการกำกับตนเองร่วมกับการเรียนรู้ร่วมกันในการเรียนแบบผสมผสาน 2) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนด้วยกลวิธีการกำกับตนเองร่วมกับการเรียนรู้ร่วมกันในการเรียนแบบผสมผสาน 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนิสิตนักศึกษาที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนด้วยกลวิธีการกำกับตนเองร่วมกับการเรียนรู้ร่วมกันในการเรียนแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวรที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา 375450 การบริหารและจัดการเทคโนโลยีการศึกษาและคอมพิวเตอร์ศึกษา ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 38 คน การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่  1) การสร้างรูปแบบการเรียนการสอนด้วยกลวิธีการกำกับตนเองร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือในการเรียนแบบผสมผสาน 2) การทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนด้วยกลวิธีการกำกับตนเองร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือในการเรียนแบบผสมผสาน 3) การศึกษาความพึงพอใจของนิสิตนักศึกษาที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนด้วยกลวิธีการกำกับตนเองร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือในการเรียนแบบผสมผสาน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มีจำนวน 8 ชิ้น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าที (t-test dependent) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

                   1. รูปแบบการเรียนการสอนด้วยกลวิธีการกำกับตนเองร่วมกับการเรียนรู้ร่วมกันในการเรียนแบบผสมผสานที่สร้างขึ้นประกอบด้วย หัวข้อหลัก 4 หัวข้อ ได้แก่ 1) แนวคิดของรูปแบบการเรียนการสอนด้วยกลวิธีการกำกับตนเองร่วมกับการเรียนรู้ร่วมกันในการเรียนแบบผสมผสาน 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบการเรียนการสอนด้วยกลวิธีการกำกับตนเองร่วมกับการเรียนรู้ร่วมกันในการเรียนแบบผสมผสาน 3) องค์ประกอบที่สำคัญของรูปแบบการเรียนการสอนด้วยกลวิธีการกำกับตนเองร่วมกับการเรียนรู้ร่วมกันในการเรียนแบบผสมผสาน 4) ขั้นตอนของรูปแบบการเรียนการสอนด้วยกลวิธีการกำกับตนเองร่วมกับการเรียนรู้ร่วมกันในการเรียนแบบผสมผสาน

                   2. ผลการทดลองใช้การเรียนการสอนด้วยกลวิธีการกำกับตนเองร่วมกับการเรียนรู้ร่วมกันในการเรียนแบบผสมผสาน พบว่า ผู้เรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนด้วยกลวิธีการกำกับตนเองร่วมกับการเรียนรู้ร่วมกันในการเรียนแบบผสมผสานมีคะแนนการกำกับตนเองและคะแนนผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

                   3. ผู้เรียนมีความพึงพอใจในการเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนด้วยกลวิธีการกำกับตนเองร่วมกับการเรียนรู้ร่วมกันในการเรียนแบบผสมผสานสำหรับนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตในระดับมากจำนวน 14 ข้อคำถาม และมีความพึงพอใจในระดับปานกลาง จำนวน 1 ข้อคำถาม


Abstract

                   The objectives of this research were 1) to construct self-regulated learning and collaborative learning with the blended learning instructional model for undergraduate students, 2) to examine the use of this construct, and 3) to study the learner satisfaction after having used self-regulated learning and collaborative learning in blended learning instructional model. Thirty-eight undergraduate students at Naresuan University during the first academic year of 2014 who registered in the course "Management Educational Technology and Computer Education" participated in this study. The process of this research consisted of three steps : 1) construct the self-regulated and collaborative learning with the blended learning instructional model for undergraduate students, 2) examine the use of self-regulated learning and collaborative learning with blended learning instructional model, and 3) study learner satisfaction who participated in this learning environment. Eight instruments were used in this research. Data were analyzed by using descriptive and inferential statistics: mean, standard deviation and t-test.

The research findings are as follows:

                      1. Self-regulated learning and collaborative learning with blended learning instructional model for undergraduate students consisted of 4 main phases as follow: 1) the concept of self-regulated and collaborative learning with the blended learning instructional model for undergraduate students, 2) the object of self-regulated and collaborative learning with blended learning instructional model for undergraduate students, 3) the component of self-regulated and collaborative learning with blended learning instructional model for undergraduate students, and 4) the processes within this learning environment.

                   2. The analysis of pretest and posttest scores of samples shows a statistically significance at the .05 level with improvements of self-regulated learning and learning achievement. The findings of this study support the developed model as a strategy for improving student’s self-regulated learning and learning achievements.

                   3. Learners who used the self-regulated learning and collaborative learning with the blended learning instructional model were highly satisfied with 16 characteristics and medium satisfied with 1 characteristic

Article Details

บท
บทความวิจัย