การติดตามผลบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

Main Article Content

เกสรา จิตต์ณรงค์
นิรันดร์ จุลทรัพย์
อมลวรรณ วีระธรรมโม

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

                 การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาความคิดเห็นของบัณฑิตที่มีต่อหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิตสาขาวิชาการศึกษาเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยทักษิณ ได้แก่ ด้านโครงสร้างหลักสูตร ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านอาจารย์และบุคลากร ด้านทรัพยากรที่ใช้ในการดำเนินหลักสูตร ด้านการนำความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติงาน 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของบัณฑิตจำแนกปัจจัยส่วนบุคคลคือ เพศ อายุ ปีที่เข้าศึกษา ปีที่สำเร็จการศึกษา ตำแหน่งงาน เงินเดือนที่มีต่อหลักสูตรและการเรียนการสอน 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงานของบัณฑิตเกี่ยวกับการปฏิบัติงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาของประเทศไทย 5 ด้าน คือ ด้านคุณธรรม จริยธรรม ด้านความรู้ ด้านทักษะทางปัญญา ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และ 4) สำรวจการมีงานทำและการศึกษาต่อของบัณฑิต เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ บัณฑิต ที่สำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา  2549 – 2555 รวม 7 รุ่น จำนวน 57 คน ผู้บังคับบัญชา จำนวน 43 คนและเพื่อนร่วมงาน จำนวน 47 คน รวมทั้งสิ้น 147 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม สถิตที่ใช้ในการวิเคราะห์คือค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (µ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ) ผลการวิจัยพบว่า 1) บัณฑิตมีความคิดเห็นต่อหลักสูตรและการเรียนการสอนในหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิตสาขาวิชาการศึกษาเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ทั้งภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยคือ ด้านอาจารย์และบุคลากร ด้านโครงสร้างหลักสูตร ด้านการนำความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติงาน ด้านการจัดการเรียนการสอน และด้านทรัพยากรที่ใช้ในการดำเนินหลักสูตร ตามลำดับ 2) บัณฑิตที่มีเพศ อายุ ปีที่เข้าศึกษา ปีที่สำเร็จการศึกษา ตำแหน่ง เงินเดือนต่างกันมีความคิดเห็นต่อหลักสูตรและการเรียนการสอนไม่แตกต่างกันในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3) ความพึงพอใจของผู้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงานของบัณฑิตพบว่าความพึงพอใจของผู้บังคับบัญชาในภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก  เมื่อพิจารณาในรายด้านแล้วพบว่า มีความพึงพอใจด้านคุณธรรม จริยธรรมมากที่สุด มีความพึงพอใจน้อยที่สุดคือ ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ส่วนความพึงพอใจของเพื่อนร่วมงานในภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก ความพึงพอใจมากที่สุด คือ ด้านคุณธรรม จริยธรรม ความพึงพอใจน้อยที่สุดคือ ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ  การมีงานทำและการศึกษาต่อของบัณฑิตพบว่าบัณฑิตส่วนใหญ่มีอาชีพเป็นข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ รองลงมาคือดำเนินธุรกิจอิสระ/เจ้าของกิจการ ด้านการศึกษาต่อพบว่าบัณฑิตที่ศึกษาต่อระดับปริญญาเอกมีจำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 10.52

Abstract

                                 The purpose of this research were to study 1) the opinions of the graduates about curriculum structure, program management, lecturers and staffs, the resources to operate and application of academic knowledge and experiences gained from the Education for Human  Resource Development of Thaksin university program 2) to compare the opinions base on personal factors : gender, age, year of admission, year of graduation, salary and position 3) to study the satisfaction of their superiors and colleagues about practicality within Thai Qualifications Framework covering 5 areas : ethics and moral, knowledge, cognitive skills, interpersonal skills  and responsibility, numerical analysis and communication and information technology skills 4) to study the graduates career status  and further education. The population consisted of 57 master degree graduates between the academic years 2006 to 2012, 43 superiors and 47 colleagues, including 147 people. The instrument was a set questionnaire with 5 rating scale. The data were analyzed using the package in order to find frequency, percentage, mean and standard deviation. The research found that: 1) The opinions of the graduates in the operational process of educational program for Human Resource Development was at a high level as a whole, order from high to low: lecturers and staffs, curriculum structure, experiences gained from the graduates program , program management  and the resources to operated and application of academic knowledge. 2) The graduates had gender, age, year of admission, year of graduation, salary and position that different, the opinions of the graduates in the operational process of educational program for Human Resource Development were not difference it was at a high level. 3) The satisfaction of their superiors and colleagues’ s the graduates found that the satisfaction of superiors was at the highest level, considering in each aspect it was found that ethics and moral was at the highest and the least went to interpersonal skills and responsibility. The satisfaction of colleagues was at the highest level of, considering in each aspect it was found that ethics and moral was at the highest and the least went to communication and information technology skills, and practical skills. 4) The career status and further education of the graduates, almost graduates had work in government organization and followed by the own business and graduates had further study in Doctor’s degree 6 people were obtained as 10.52 percent.

Article Details

บท
บทความวิจัย