ปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินตามนโยบายแท็บเล็ตพีซีเพื่อการศึกษาไทย : กรณีศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินตามนโยบายแท็บเล็ตพีซีเพื่อการศึกษาไทย ตามความคิดเห็นของครู และศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะของครูเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินตามนโยบายแท็บเล็ตพีซีเพื่อการศึกษาไทย เก็บข้อมูลในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครศรีธรรมราช เขต 2 โดยศึกษาข้อมูลปัจจัยทางสมรรถนะขององค์การ 5 ด้าน คือ โครงสร้าง บุคลากร งบประมาณ สถานที่ วัสดุและอุปกรณ์ และศึกษาการดำเนินตามนโยบายแท็บเล็ตพีซีเพื่อการศึกษาไทย 4 ด้าน คือ การวางแผน การดำเนินงาน การนิเทศ ติดตามและตรวจสอบ และการประเมินผลและรายงานผล กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง คำนวณจากสูตรของยามาเน่ ที่ความเชื่อมั่น 95% ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 377 คน แบบสอบถามที่ใช้เก็บข้อมูล มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาระหว่าง 0.66-1.00 และค่าสัมประสิทธิแอลฟาของครอนบาค มีค่าเท่ากับ 0.94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยแบบพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า ภาพรวมสมรรถนะขององค์การ อยู่ในระดับปานกลาง โดยสมรรถนะขององค์การด้านโครงสร้างขององค์กร มีค่าเฉลี่ยสูงสุด และสมรรถนะขององค์การด้านงบประมาณ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ภาพรวมการดำเนินตามนโยบาย อยู่ในระดับปานกลาง โดยการดำเนินตามนโยบายด้านการประเมินผลและรายงานผล มีค่าเฉลี่ยสูงสุด และการดำเนินตามนโยบายด้านการวางแผน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด จากการวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณพบว่า สมรรถนะขององค์การ ในภาพรวม มีผลต่อการดำเนินตามนโยบายแท็บเล็ตพีซีเพื่อการศึกษาไทย ด้านการวางแผน ด้านการดำเนินงาน ด้านการนิเทศ ติดตามและตรวจสอบ ด้านการประเมินผลและรายงานผล และในภาพรวม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ปัญหาและข้อเสนอแนะพบว่า ครูผู้สอนส่วนใหญ่ มีปัญหาเกี่ยวกับ การไม่สามารถปิดกั้นหรือห้ามปรามไม่ให้เด็กเปิดเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสมได้
Abstract
The purposes of this research were to investigate factors affecting the implementation of the tablet PC policy for education in Thailand and investigate teacher’s opinion on the tablet PC policy for education in Thailand: Nakhon Si Thammarat primary education service area office 2. And aimed at 5 organizational performance factors affecting the implementation in structure, officer, budget, location and equipment including to the 4 processing of the tablet PC policy for education in Thailand within planning, performing, supervision and inspection, assessment and reporting. The 95% confidential with Yamane methodology was used to select 337 samplings. The questionaire’s Cronbach coefficient alpha try out was 0.94 and 0.66-1.00 content validity indicators were existed. The analysis of data used frequency distribution, percentage, mean, standard deviation and multiple regression analysis.
The research result found that as a whole organizational performance factors affecting the implementation was perceived by the teacher at medium level average point with the highest average point of structure and lowest average point of budget. The whole of processing of the tablet PC policy for education in Thailand was perceived by the teacher at medium level average point with the highest average point of assessment and reporting, lowest average point of planning. Multiple regression analysis found that the whole of organizational performance factors affecting the implementation in perspective, there were perceived .05 statistical significant to the whole of processing of the tablet PC policy for education in Thailand. The obstacle and recommendation of tablet PC found that inefficiency block an inappropriateness website.
Article Details
ในกรณีที่กองบรรณาธิการ หรือผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งได้รับเชิญให้เป็นผู้ตรวจบทความวิจัย หรือ บทความทางวิชาการมีความเห็นว่าควรแก้ไขความบกพร่อง ทางกองบรรณาธิการจะส่งต้นฉบับให้ ผู้เขียนพิจารณาจัดการแก้ไขให้เหมาะสมก่อนที่จะลงพิมพ์ ทั้งนี้ กองบรรณาธิการจะยึดถือความคิด เห็นของผู้เชี่ยวชาญเป็นเกณฑ์