Grammar-Translation Method in an EFL Class in Thailand: A Glance at an English Song’s Lyrics

Main Article Content

นันทนา สิทธิรักษ์

บทคัดย่อ

Abstract

 

In Thailand, English has its status as a foreign language, and is taught using a variety of methods, one of which is grammar-translation. The Grammar-Translation Method, which has been used for a number of years now, is still very popular and successful. In an attempt to assist the student in learning and improving their English, this research was conducted in order to study the student’s word choices in translating the assigned lyrics and their translation at sentence level as well as to study and analyse the problems found in their translation works. By using the Grammar-Translation Method among the target group, which includes 23 high school students, the findings of the research show that the student made errors and mistranslations, both at word level and sentence level, on their translation works, namely the translations of preposition, pronoun, adverb, and noun as well as the uses of pronoun reference, quantifier, imperative and relative clause; all of these errors signify that more assistance should be given to the Thai student at an early stage of their learning to emphasize the correct use and improve their use of English grammar and vocabulary, particularly on the problematic points. It, therefore, can be concluded the Grammar-Translation Method is still worth being employed in EFL classes in Thailand.

บทคัดย่อ

                ในประเทศไทย ภาษาอังกฤษมีฐานะเป็นภาษาต่างประเทศและมีการสอนภาษาอังกฤษโดยใช้วิธีต่างๆ รวมถึงการสอนแบบไวยากรณ์และการแปล แม้ว่าการสอนแบบไวยากรณ์และการแปลจะเป็นวิธีที่ใช้กันมาอย่างยาวนาน แต่ก็ยังได้รับความนิยมจนถึงปัจจุบันและถือเป็นวิธีการสอนที่ประสบความสำเร็จวิธีหนึ่ง

               งานวิจัยชิ้นนี้ดำเนินการโดยใช้วิธีการสอนแบบไวยากรณ์และการแปลโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเลือกใช้คำภาษาไทยเพื่อถ่ายทอดความหมายของคำภาษาอังกฤษในเพลงที่กำหนด และศึกษาบทแปลระดับประโยคของเพลงภาษาอังกฤษดังกล่าวของนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งประกอบด้วยนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจำนวน 23 คน รวมถึงวิเคราะห์ปัญหาที่พบในบทแปลทั้งระดับคำและระดับประโยค ผลจากการใช้วิธีการสอนแบบไวยากรณ์และการแปลแสดงให้เห็นว่านักเรียนกลุ่มเป้าหมายประสบปัญหาการใช้ภาษาอังกฤษทั้งในระดับคำและระดับประโยค ได้แก่ การใช้คำบุพบท คำสรรพนาม คำวิเศษณ์ คำนาม คำบอกปริมาณ คำสรรพนามแทนคำนามที่ผู้เขียนต้องการกล่าวซ้ำ ประโยคคำสั่งหรือขอร้อง และอนุประโยคที่ขยายคำนามข้างหน้า ข้อผิดพลาดที่พบในบทแปลภาษาไทยชี้ให้เห็นว่าผู้สอนควรให้ความช่วยเหลือแก่นักเรียนเพิ่มขึ้นตั้งแต่ระยะแรกของการเรียนภาษาอังกฤษ ทั้งนี้เพื่อเน้นย้ำและพัฒนาความเข้าใจเรื่องการใช้ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษและความหมายของคำศัพท์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นไวยากรณ์ที่เป็นปัญหา นอกจากนี้แล้วผลจากการวิจัยครั้งนี้ยังแสดงให้เห็นว่าการสอนภาษาอังกฤษแบบไวยากรณ์และการแปลเป็นวิธีการสอนที่ยังมีประสิทธิภาพในชั้นเรียนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างชาติในประเทศไทยอีกด้วย

Article Details

บท
บทความวิจัย