ยุทธศาสตร์ในการส่งเสริมสู่ความสำเร็จการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของผู้ต้องขังในเรือนจำและทัณฑสถานเขต 9 อย่างเป็นรูปธรรม

Main Article Content

จิรทีปต์ ช่วยคง
ศุภรา เจริญภูมิ

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องยุทธศาสตร์ในการส่งเสริมสู่ความสำเร็จการศึกษาขั้นพื้นฐานของผู้ต้องขังในเรือนจำและทัณฑสถาน เขต 9 อย่างเป็นรูปธรรม มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการศึกษาตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ของผู้ต้องขังในเรือนจำและทัณฑสถาน เขต 9 2) เพื่อพัฒนายุทธศาสตร์ที่ส่งเสริมความสำเร็จการศึกษาของผู้ต้องขังในเรือนจำและทัณฑสถาน เขต 9 อย่างเป็นรูปธรรม การวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณประกอบกับการวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาเชิงปริมาณได้แก่ผู้ต้องขังในเรือนจำ ทัณฑสถานเขต9 ที่เป็นนักเรียนจำนวน 28,716 คน ทำการเลือกกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน โดยจำแนกเป็นผู้ต้องขังที่สำเร็จการศึกษาจำนวน 200 คน และไม่สำเร็จการศึกษาจำนวน 200 คน ผู้วิจัยเลือกกลุ่มเป้าหมายเพื่อทำการสัมภาษณ์เชิงลึกจำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยจำแนกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์เชิงลึก การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ใช้การวิเคราะห์ ถดถอยพหุคูณโลจิสติค (Multiple Logistic Regression Analysis)

ผลการวิจัยเชิงปริมาณพบว่า ปัจจัยด้านการกำกับตนเอง และปัจจัยด้านสุขภาวะ มีผลต่อความสำเร็จของผู้ต้องขังในเรือนจำและทัณฑสถาน เขต 9 ที่ศึกษาในหลักสูตรการศึกษานอกระบบในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยมีค่าสัมประสิทธิ์โลจิสติคเท่ากับ 3.300 และ 2.431 ตามลำดับ ส่วนปัจจัยด้านความรู้คุณค่าในตนเอง ด้านความเชื่อมั่นในความสามารถตนเอง ด้านแรงจูงใจ ด้านความเครียด และด้านการได้รับการสนับสนุนทางสังคม ไม่มีผลต่อความสำเร็จในการศึกษาของผู้ต้องขังในเรือนจำและทัณฑสถาน เขต 9

ผลการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า ปัจจัยด้านการกำกับตนเอง และปัจจัยด้านสุขภาวะหรือการมีสุขภาพดีมีผลต่อความสำเร็จในการศึกษาของผู้ต้องขัง ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิจัยเชิงปริมาณ และจากการสัมภาษณ์เชิงลึกยังพบว่า การที่ผู้ต้องขังได้รับการฝึกวินัยซ้ำหลายๆครั้ง รวมถึงการได้รับการอบรม การฝึกสมาธิให้ตนเอง การฝึกระเบียบแถวอย่างพร้อมเพรียงก่อนเข้าห้องเรียน ส่งผลให้ผู้ต้องขังรู้จักการกำกับตนเองได้อย่างเหมาะสมมากขึ้น นอกจากนี้การมีนักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์คอยให้ความช่วยเหลือ จะทำให้ผู้ต้องขังประสบความสำเร็จในการศึกษาได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งข้อค้นพบดังกล่าวเป็นประเด็นสำคัญที่สามารถนำไปสร้างยุทธศาสตร์ในการพัฒนาความสำเร็จในการศึกษาขั้นพื้นฐานของผู้ต้องขังในเรือนจำและทัณฑสถานเขต9 ได้อย่างเป็นรูปธรรมต่อไป

 

Strategies to Promote the Holistic Success of Basic Education for Inmates In District 9

Jirateeps Chuaykong1* and Suppara Charoenpoom2

There are two purposes of this research, Strategies to Promote the Holistic Success of Basic Education for Inmates in District 9. First, to study the factors that influenced the success of campus primary school for high school level for inmates in District 9, and Second, to develop strategies to promote the holistic success of Basic education for inmates in district 9.

This was a mixed research of both quantitative and qualitative methods. The population was all inmates in district 9 which were 28,716 students. The sample of this study included 400 inmates: 200 were selected from inmates who could be graduated and another 200 were selected from inmates who could not be graduated. In addition, 10 special target samples were selected for in-depth interviews. The data analysis was determined by Multiple Logistic Regression Analysis.

The findings of the quantitative method revealed that the self-regulation and well-being factors influenced the basic education success of inmates in district 9 with a logistic correlation of 3.300 and 2.431 respectively. Whereas, the self-esteem factor, self-efficacy factor, motivation factor, stress factor, and social support factor did not have influence to the basic education success of inmates in district 9.

The findings of the qualitative method revealed that both the self-regulation factor and well-being factor influenced the basic education success of the inmates in district 9. Moreover, the in-depth interviews revealed that repeated discipline along with training, meditation, and classroom attention helped these inmates to have more self-control. The assistance from psychologists and social workers enhanced the success rate of inmates in terms of basic education. Therefore, these findings can be used to develop important strategies to enhance the holistic success of basic education for inmates in the future.

Article Details

บท
บทความวิจัย