การสะท้อนสมรรถนะความรู้พื้นฐานของครูด้านภาษา และเทคโนโลยีผ่านการสร้างความตระหนักด้วยตนเอง

Main Article Content

ชวนพิศ ชุมคง
ศิริรัตน์ สินประจักษ์ผล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสมรรถนะการปฏิบัติงานของครูด้านการใช้ภาษาและเทคโนโลยี 2) เพื่อศึกษาความตระหนักของครูที่มีต่อสมรรถนะด้านการใช้ภาษาและเทคโนโลยี 3) เพื่อพัฒนารูปแบบการเติมเต็มสมรรถนะด้านการใช้ภาษาและเทคโนโลยีของครู กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ครูประจำการที่สอนอยู่ในโรงเรียนในเขตพื้นที่การศึกษา จังหวัดสงขลาพัทลุงและตรัง เป็นการเลือกแบบเจาะจงโดยเลือกจากครูประจำการที่สอนกลุ่มสาระต่าง ๆ ทั้งในระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษายกเว้นกลุ่มสาระภาษาไทย กลุ่มสาระการงานพื้นฐานอาชีพและเทคโนโลยี และกลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ จำนวน 40 คน ครูจากโรงเรียนประถมศึกษาโรงเรียนละ 4 คน จำนวน 5 โรงเรียน และครูจากโรงเรียนมัธยมศึกษาโรงเรียนละ 4 คน จำนวน 5 โรงเรียน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่า ร้อยละ, ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า

1. ผลการศึกษาสมรรถนะการปฏิบัติงานของครูด้านการใช้ภาษาและเทคโนโลยี พบว่า โดยรวมทั้ง 3 จังหวัด มีค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการศึกษาสมรรถนะการปฏิบัติงานของครูด้านการใช้ภาษาและเทคโนโลยี โดยภาพรวมอยู่ในระดับน้อยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.25 และเมื่อพิจารณารายด้านแล้ว พบว่า สมรรถนะครูด้านการใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร อยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.52 รองลงมา คือ สมรรถนะครูด้านการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการแสวงหาความรู้ อยู่ในระดับน้อย มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.32 และสมรรถนะครูด้านการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการแสวงหาความรู้ อยู่ในระดับน้อย มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.73

2. ศึกษาความตระหนักของครูที่มีต่อสมรรถนะด้านการใช้ภาษาและเทคโนโลยี พบว่า

2.1 ด้านการใช้ภาษา

ครูมีความคิดเห็นว่า ควรมีความสามารถในการสื่อสาร ได้แก่ การรับ – ส่งสาร , การถ่ายทอดความรู้ ความคิด ความเข้าใจของตนเองโดยใช้ภาษาได้อย่างเหมาะสม และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน

2.2 ด้านเทคโนโลยี

ครูมีความคิดเห็นว่า ครูควรมีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการใช้ในเทคโนโลยี ความรู้เกี่ยวกับข่าวสารทางเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่ทันสมัย , มีความรู้และทักษะพื้นฐานในการใช้คอมพิวเตอร์ เห็นคุณค่าและประโยชน์ในการใช้เทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนกิจกรรมการเรียน

3. การพัฒนารูปแบบการเติมเต็มสมรรถนะด้านการใช้ภาษาและเทคโนโลยีของครู พบว่า

3.1 การสร้างความตระหนักด้วยตนเองโดยระลึกอยู่เสมอว่าภาษาและเทคโนโลยีคือเครื่องมือสำคัญที่ส่งผลให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3.2 ครูผู้สอนต้องพัฒนาตนเองโดยการศึกษาและฝึกฝนทักษะทั้งด้านภาษาและเทคโนโลยีอย่างสม่ำเสมอ โดยการเข้าประชุม สัมมนา หรืออบรมเชิงปฏิบัติการในด้านภาษาและเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง จึงจะส่งผลให้ครูผู้สอนมีสมรรถนะด้านภาษาและเทคโนโลยีเพิ่มมากขึ้น

 

Reflection of Teacher Knowledge - Base Competence on Language and Technology through Self - Awareness Raising

Chuanphit Chumkhong1* and Sirirat Sinprajakpol2

This research aimed 1) to study the performance competence of teachers in the use of language and technology, 2) to study the awareness of teachers on the performance competence in the use of language and technology, and 3) to develop a model for complementing the teachers’ performance competence in the use of language and technology. The sample used in this study consisted of 40 tenured teachers in the schools under educational service areas in the provinces of Songkhla, Phatthalung and Trang. They were drawn according to the purposive sampling from tenured teachers teaching different subject groups from both at elementary and secondary levels, with an exception of those teaching Thai language, occupation and technology and foreign languages. Four participants were selected from each of the ten participating schools (five primary schools and five secondary schools). The instrument used in the study was a questionnaire and the data were analyzed using such statistics as percentage, arithmetic mean and standard deviation. The results of the study reveal the following:

1. The results of the study show that the overall ‘low’ level of performance competence of teachers in the use of language and technology (\inline \dpi{100} \bar{X}=2.25). By individual aspects, it is found that the competency in using Thai for communication is at the ‘moderate’ level (\inline \dpi{100} \bar{X}=2.52), followed by the competency in using a computer for the pursuit of knowledge, which is at the ‘low’ level (\inline \dpi{100} \bar{X}=2.32) and the competency in using English for the pursuit of knowledge is at the ‘low’ level (\inline \dpi{100} \bar{X}=1.73).

2. The results of the study with regard to the awareness of teachers on the performance competence on the use of language and technology reveal the following:

2.1 Language use

The teachers have expressed their opinions that they should have knowledge and the ability to communicate, i.e. reception and transmission of messages and to transfer their knowledge, thoughts and understanding by using the language properly and efficiently. As a result, they are able to put their knowledge to good use in their daily life.

2.2 Technology

The teachers perceive that they should have the knowledge, understanding and skills in the use of technology, modern knowledge on information technology, knowledge and basic skills in the use of computers, realizing the value of using the use of technology in assisting instructional activities.

3. Development of models to complement the performance competence on the use of the language and technology.

3.1 It is found that teachers should raise their self-awareness, always realizing that that language and technology is an important tool that contributes to effective learning.

3.2 Teachers should develop themselves through studies and skills in language and technology on a regular basis, by attending seminars or workshops in the fields of language and technology continuously. This will contribute to teachers' increased performance competency on language and technology.

Article Details

บท
บทความวิจัย