การสะท้อนเรียนรู้แบบย้อนมองตน และใคร่ครวญภายในของนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ภายหลังการจัดดำเนินการโครงงานสังคม

Main Article Content

จุรีพร กาญจนการุณ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบมีส่วนร่วม มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาการสะท้อนเรียนรู้แบบย้อนมองตนและใคร่ครวญภายในของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี(มจธ.) ภายหลังการดำเนินโครงงานกิจกรรมทางสังคม เป็นการศึกษาโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือสำคัญในการวิจัย คือ การสังเกต การสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม และแบบสอบถามปลายเปิด ซึ่งเป็นแบบรายงานการประเมินผลการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยมีกลุ่มตัวอย่างและผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือ นักศึกษา มจธ. ในกลุ่มของวิชาศึกษาทั่วไป จำนวน 39 คน วิเคราะห์สังเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์สถิติพื้นฐาน การวิเคราะห์เนื้อหา และวิเคราะห์เชิงสรุปแบบอุปนัย ผลการศึกษาพบว่า ขั้นตอนในการจัดดำเนินโครงงานทางสังคมของนักศึกษามีลักษณะเริ่มตั้งแต่การประชุมระดมสมองกลุ่มเพื่อการเลือกหัวข้อโครงงาน การเลือกพื้นที่การดำเนินกิจกรรม การวางแผนงาน ตลอดจนการเผชิญปัญหาอุปสรรคต่างๆร่วมกัน ผลการสะท้อนเรียนรู้แบบย้อนมองตนและใคร่ครวญภายในของนักศึกษา ซึ่งมีลักษณะเป็นการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง ในเรื่องดังต่อไปนี้ คือ ความอดทน (100%) ความสามัคคี (100%) ความเมตตา(92.31%) ความรับผิดชอบ (74.36%) และ ความตรงต่อเวลา (51.28%%) สำหรับปัญหาอุปสรรคที่สำคัญต่อการเรียนรู้ คือ ความรู้สึกกังวลใจเกี่ยวกับคะแนนสอบ(100%) ปัญหาการแข่งขันระหว่างกลุ่ม (100%)และความไม่ไว้วางใจต่อกันในกลุ่ม (17.95%)

 

Students ’ Self-Inquiry Learning-Reflection and Inner Contemplation at King Mongkut University of Technology Thonburi after Implementing a Social Activity Project

Jureeporn Kanjanakaroo 1*

The main objective of this participatory research is to study students’ self-inquiry learning-reflection and inner contemplation after the implementation of a social activity project. The study was conducted in King Mongkut University of Technology Thonburi (KMUTT). It used qualitative methodology. The research instruments used to collect the data were observations, in-depth interviews, group discussions and open-ended form (students’ learning self-report). The samples and key informants were thirty-nine KMUTT students studied in the subject area of general education. The data analysis involved fundamental statistical analysis, content and inductive analysis. The results of this research showed that the steps to implement the project activities, ranging from the beginning to the end were group brain storming for project topic, project site selection, planning, and problem confronting. Additionally, these students’ self-inquiry learning-reflection and inner contemplation were transformative learning— Endurance or Patience (100%), Unity (100%), Compassion (92.31%), Responsibility (74.36%), and Punctuality (51.28%). The problems of their learning were the anxiety about test score (100%), competition among groups (100%), and untrustworthiness among group members (17.95%).

Article Details

บท
บทความวิจัย