ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการปฏิบัติงาน ของข้าราชการสังกัดสำนักงานศึกษาธิการภาค 1-13

Main Article Content

เพ็ญศรี มณีรัตน์
นิรันดร์ จุลทรัพย์
อมลวรรณ วีระธรรมโม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับปัจจัยในการทำงานของข้าราชการ เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมการปฏิบัติงานของข้าราชการ เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการปฏิบัติงานของข้าราชการ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการปฏิบัติงานข้าราชการ และเพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาพฤติกรรมการปฏิบัติงานของข้าราชการ กลุ่มตัวอย่าง คือ ข้าราชการพลเรือนสำนักงานศึกษาธิการภาค 1-13 โดยใช้ตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan) แล้วนำมาเทียบสัดส่วนของแต่ละสำนักงานศึกษาธิการภาค 1 - 13 และใช้การสุ่มอย่างง่ายด้วยวิธีการจับฉลากได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 143 คน เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และค่า F - test สำหรับกลุ่มผู้บริหาร คือ ผู้อำนวยการสำนักงาน และผู้อำนวยการกลุ่มอำนวยการ จำนวน 14 คน ระดมความคิดเห็นสนทนากลุ่มเพื่อหาแนวทางในการพัฒนาพฤติกรรมการปฏิบัติงานของข้าราชการ แล้วสรุปประเด็นตามความคิดเห็นเป็นแนวทางในการพัฒนา

ผลการวิจัยพบว่า ระดับปัจจัยจูงใจในการทำงานของข้าราชการ ในภาพรวมทั้ง 5 ด้านอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.90 ระดับพฤติกรรมการปฏิบัติงานของข้าราชการ ในภาพรวมทั้ง 8 ด้าน อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.06 การเปรียบเทียบปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการปฏิบัติงานของข้าราชการตามตัวแปรเพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา ตำแหน่งปัจจุบัน ประสบการณ์การทำงาน และสำนักงานที่สังกัด สรุปได้ว่า ข้าราชการที่มีเพศต่างกันมีแรงจูงใจในการทำงานในภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน ข้าราชการที่มีอายุต่างกันมีแรงจูงใจในการทำงานในภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ข้าราชการที่มีสถานภาพต่างกันมีแรงจูงใจในการทำงานในภาพรวมไม่แตกต่างกัน ข้าราชการที่มีระดับการศึกษาต่างกันมีแรงจูงใจในการทำงาน ในภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ข้าราชการที่มีตำแหน่งต่างกันมีแรงจูงใจในการทำงาน ในภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน ข้าราชการที่มีประสบการณ์การทำงานต่างกันมีแรงจูงใจในการทำงาน ในภาพรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และข้าราชการที่สังกัดสำนักงานต่างกันมีแรงจูงใจในการทำงานในภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยจูงใจของข้าราชการกับพฤติกรรมการปฏิบัติงานของข้าราชการ ในภาพรวมและรายด้าน ได้แก่ ด้านความสำเร็จในการทำงาน ด้านการยอมรับนับถือ ด้านลักษณะงาน ด้านความรับผิดชอบ และด้านความก้าวหน้าในตำแหน่ง มีความสัมพันธ์ในระดับปานกลางกับพฤติกรรมการปฏิบัติงาน ส่วนแนวทางในการพัฒนาพฤติกรรมการปฏิบัติงานของข้าราชการควรให้ความสำคัญและพัฒนาข้าราชการ โดยให้ทำงานเป็นทีมให้ทุกคนมีส่วนร่วมทำงานบนพื้นฐานของความถูกต้องตามระเบียบข้อกฎหมาย ผู้นำควรให้คำยกย่องชมเชยเมื่อข้าราชการปฏิบัติงานประสบความสำเร็จ มอบหมายงานให้ตรงกับความรู้ความสามารถ สับเปลี่ยนหมุนเวียนงานตามความเหมาะสม สนับสนุนให้ได้รับการฝึกอบรมและการศึกษาต่อที่สูงขึ้น มอบหมายงานให้ตรงกับบทบาทหน้าที่ให้รับผิดชอบ มอบงานที่หลากหลายและท้าทายมากขึ้น หน่วยงานควรสำรวจตรวจสอบตำแหน่งงานและจำนวนบุคลากรให้มีอัตราตำแหน่งเพียงพอต่องานที่ปฏิบัติ ควรสนับสนุนให้บุคลากรภายในหน่วยงานได้เลื่อนตำแหน่งที่ว่างก่อน

 

Factors Associated with the Performance Behavior of the Officials of the Office of Education Region 1 – 13

Pensri Maneerat1* Niran Chunllasap2 Amonwan Werathummo3

The objectives of this research were to study the level factors of work of government officials, determine their level of performance behavior, compare the performance behavior, identify factors correlated with performance behavior and propose the guideline for the development of the performance behavior of the officials. The sample drawn according to Krejcie and Morgan’s table and the proportion of the population of the officials in each educational region along with the use of simple random sampling, included 143 officials under the Office of Education Region 1 - 13. The instrument was questionnaire developed from a focus group on ways to improve the performance of the officials. Participants in the focus group included 14 office directors and group directors under the Office of Education Region 1 - 13. The data were analyzed using such statistics as percentage, arithmetic mean, standard deviation, Pearson’s Correlation and the F - test.

The findings of the study found that : the factors associated with the performance behavior of the officials of the Office of Education Region 1 - 13 summarized as follows. Overall, the work motivation of the government officials in 5 aspects was at a high level, with a mean score of 3.90. Overall, the performance behavior of the government officials in 8 aspects was at a high level, with a mean score of 4.06. A comparison of the performance behavior of the officials based on the variables of gender, age, marital status, educational level, current position, work experience and work affiliation revealed the following. The officials who differ in their gender showed no significant difference in their level of performance behavior, as a whole and by individual aspects. Overall, the officials who differ in their age showed a .05 significant difference in their level of performance behavior. Overall and by individual aspects, the officials who differ in their marital status show no significant difference in their level of performance behavior. Overall, the officials who differ in their educational level showed a .05 significant difference in their level of performance behavior. The officials who differ in their current position showed no significant difference in their level of performance behavior, as a whole and by individual aspects. As a whole and by individual aspects, the officials who differ in their work experience showed a .05 significant difference in their level of performance behavior. The officials who differ in their work affiliation showed no significant difference in their level of performance behavior, as a whole and by individual aspects. As for the relationship between motivation factors of officials and their performance behavior, As for the relationship between motivation factors of officials and their performance behavior, the work achievement the respects the job aspect the responsibility and the career advancement, showed a moderate relationship, as a whole and by individual aspects.

Recommendations for the improvement of performance behavior of the government officials. It was suggested that the officials should give a priority to teamwork for everyone to get involved. They should work on the basis of valid rules and regulations. Leaders should give recognition to successful job performers. Supervisors should assign tasks according to individual’s capability and the work can be rotated as required. Officials should be encouraged to participate in training and further education. Assignments should be given to individuals in accordance with their responsibility. Officials should be provided with varied and more challenging assignments. Work units should explore a range of jobs and provide adequate personnel recruitment for the jobs. Personnel within the work units should be given a priority for promotion in case of vacancy.

Article Details

บท
บทความวิจัย