การประเมินการดำเนินงานหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ ระบบทวิภาคี สาขาวิชาธุรกิจค้าปลีก ของสถานศึกษาอาชีวะเอกชนกลุ่มภาคใต้

Main Article Content

รัชนี แก้วเจริญ
ลิขิต สร้อยเพชรเกษม
เมธี ดิสวัสดิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการดำเนินงานหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ ระบบทวิภาคี  ด้านปัจจัยนำเข้า  ด้านกระบวนการ  และด้านผลผลิตในการจัดการเรียนการสอนระบบทวิภาคี สาขาธุรกิจค้าปลีก ของสถานศึกษาอาชีวะเอกชนกลุ่มภาคใต้  โดยใช้แนวทางการประเมินตามทฤษฎีระบบเป็นแนวทางในการประเมิน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ครูผู้ช่วยสอน จำนวน  13 คน นักเรียนสาขาวิชาธุรกิจค้าปลีก  จำนวน 83  คน และผู้บริหารสถานประกอบการ ที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน  77  คน  เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินการดำเนินงานหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ ระบบทวิภาคี    แบบสัมภาษณ์ครูผู้ช่วยสอน นักเรียนและผู้บริหารสถานประกอบการ แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และแบบประเมินสมรรถนะทั่วไปและสมรรถนะวิชาชีพ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย  และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย ด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า โดยรวมผ่านเกณฑ์ คือ นักเรียนมีความพร้อมในการเรียนเป็นอย่างดี ครูผู้ช่วยสอนมีคุณวุฒิการศึกษาที่ตรงสาขา มีความรู้ความสามารถ ส่วนด้านปัจจัยเกื้อหนุนมีความพร้อมทุกด้าน  ด้านกระบวนการ  พบว่า โดยรวมผ่านเกณฑ์ คือ กระบวนการเรียนการสอนและการวัดผลประเมินผลมีความเหมาะสมและสมบูรณ์ ซึ่งการเรียนการสอนได้เน้นการปฏิบัติจริง  มีการฝึกประสบการณ์วิชาชีพที่มีระบบอย่างชัดเจน  กระบวนการวัดและประเมินผล ได้ชี้แจง รายละเอียดของเกณฑ์ และวัดและประเมินผลตามสภาพจริง และการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ  เป็นการฝึกตามสถานที่จริง ด้านผลผลิต พบว่า โดยรวมผ่านเกณฑ์ คือ ผู้เรียนมีคุณลักษณะ เรียนเป็น คิดเป็น ทำงานเป็น ให้ความสำคัญกับวัฒนธรรม และเป็นคนที่รักความถูกต้อง  สมรรถนะทั่วไปและสมรรถนะวิชาชีพ โดยรวมผ่านเกณฑ์ คือ นักเรียน มีสมรรถนะครบถ้วน มีความรู้ความสามารถและพฤติกรรมที่เหมาะสมกับความต้องการของสถานประกอบการ


The Evaluation of Action the Vocational Certificate of the Dual Education System for the Retail Business Program of  Private Vocational Schools in the Southern Region. 

Ratchanee  Kaewcharoen1*, Chailikit Soipetkasem 2 and Matee Di-sawat3

 

The objectives of this research was to evaluate the of action the vocational certificate of the dual education system on the input factor, the process, and the output in managing the dual education system for the Retail Business Program of private vocational schools in the southern region by the structural theory. The samples were 13 teaching assistants, 83 students of the Retail Business Program, and 77 executives of establishments. The data were collected by teaching and learning evaluation forms; interview data forms for the teaching assistants, students, and executives of establishments; evaluation forms of desirable characteristics, evaluation forms of establishments’ satisfaction, and the evaluation forms performance and competencies . The arithmetic mean and standard deviation were used to analyze the obtained data.

 

The research discovered that the evaluation of the dual education system for the Retail Business Program of private vocational schools in the southern region on the input factor was found that the overall result met the criteria . The students had readiness to enroll on classes together with paying attention on lessons. The teaching assistants had qualifications required by the curriculums, had competency and high readiness for teaching. 

 

For the process, it was found that the overall result met the criteria . The process of teaching and learning and evaluation was appropriate and complete, and the process of professional practicum was a clear system. The measurement and evaluation were conducted by the real conditions, and students were informed the progresses of measurement continuously. The professional practicum was provided at a real workplace. 

 

The output was found that that the overall result met the criteria at a high level. The teaching assistants perceived that students were able to learn, think, work, emphasize on culture, and have sense of justice. The performance and competencies was found that the overall result met the criteria . The executives perceived that students had desirable characteristics, core competency and common competency, and career competency. These indicated students had abilities and acceptable behavior required by the establishments

Article Details

บท
บทความวิจัย