การวิเคราะห์ปัจจัยการบริหารจัดการที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาในโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เขตกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารจัดการและประสิทธิผลของสถานศึกษา 2) วิเคราะห์ปัจจัยการบริหารจัดการที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาในโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน ครู-อาจารย์ผู้สอน เจ้าหน้าที่สนับสนุนทางการศึกษา และผู้ปกครองจำนวนทั้งหมด 2,217 คน ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยใน เขตกรุงเทพมหานคร 5 แห่ง เป็นกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (structured interview) และแบบสอบถามความคิดเห็นชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (rating scale) 5 ระดับของลิเคิร์ท (Likert Scale) สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ (percentage) ความถี่ (frequency) ค่าเฉลี่ย(Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพการบริหารจัดการในภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยปัจจัยแต่ละด้านมีตัวชี้วัดที่มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าตัวชี้วัดอื่นๆ ได้แก่ 1) ปัจจัยด้านการบริหาร ได้แก่ การบริหารวิชาการ(,S.D.=0.71) 2)ปัจจัยสภาพแวดล้อม ได้แก่ ความผูกพันต่อองค์การ (, S.D.=0.75) 3) ปัจจัยด้านครู ได้แก่ วิญญาณความเป็นครู (, S.D.=0.68) 4) ปัจจัยด้านผู้บริหาร ได้แก่ การติดต่อสื่อสาร (, S.D.=0.79) และ5 ปัจจัยด้านโรงเรียน ได้แก่ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการบริหาร (, S.D.=0.76)ประสิทธิผลของสถานศึกษาในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านนักเรียน (, S.D.=0.68) ด้านครู (, S.D.=0.70) และด้านโรงเรียน (, S.D.=0.65) ตามลำดับ
2. ประสิทธิผลของนักเรียนอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ประเด็น เมื่อเปรียบเทียบกับโรงเรียนอื่นที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน นักเรียนในโรงเรียนนี้มีความร่าเริงแจ่มใสมากกว่านักเรียนในโรงเรียนอื่นมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด (, S.D.=0.84)
3.ปัจจัยบริหารจัดการที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย ได้แก่ ปัจจัยด้านโรงเรียน ซึ่งประกอบด้วย โครงสร้างที่เหมาะสม วิสัยทัศน์ เป้าหมาย พันธกิจ การจัดทรัพยากรการเรียนรู้ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการบริหาร และการติดตามและประเมินผล จะเป็นตัวทำนายประสิทธิผลของสถานศึกษาได้เป็นอย่างดี โดยมีผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสอง พบว่า ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนระหว่างแบบจำลองกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ได้ค่าไค-สแคว์ เท่ากับ 430.49 (p=0.00) ที่องศาอิสระ 229 ค่าดัชนีระดับความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ 0.94 ค่าดัชนีวัดระดับความเหมาะสมพอดีที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ 0.91 ค่าดัชนีรากของกำลังสองเฉลี่ยของเศษ(RMR) เท่ากับ 0.036 แสดงว่า แบบจำลองประสิทธิผลของสถานศึกษาที่สร้างจากกรอบแนวคิดทฤษฎีสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์
AN ANALYSIS OF MANAGEMENT FACTORS AFFECTING THE EFFECTIVENESS OF DEMONSTRATION SCHOOL IN THE OFFICE OF HIGHER EDUCATION COMMISSION IN BANGKOK
The objectives of this research were 1)to study the management and effectiveness of educational institutions 2) to analyze the management factors that affect the effectiveness of educational institutions , Demonstration School affiliated to the Office of Higher Education Commission in Bangkok. The sample was used 2,217 administrators , teachers , staff supports and parent by using purposive sampling of 5 Demonstration Schools in Bangkok. The Instruments were used structured interview and questionnaire. Statistical were used percentage , frequency , Mean , S.D. and Confirmatory Factor Analysis.
The results of this research found that
1. The state of management all factors were at high level , and each of indicators’ factors were higher than other indicators, including academic administration was in the management factors (,S.D. = 0.71). Organizational commitment was in environmental factors (, S.D. = 0.75).Spiritual teacher was in teacher factors (,S.D.= 0.68). Communication was in the administrator factors (, S.D. = 0.79) and an using of information and communication technologies was in the school’s factors (, S.D. = 0.76).
The effectiveness of the schools in overall were at high level, including the students (,S.D.=0.68), the teachers (, S.D.= 0.70) and the school(,S.D.=0.65), respectively.
2. The Effectiveness of students in all the factors at a high level and indicators "compared to other schools in the same vicinity , students in this school are very cheerful compared to students in other schools" (, S.D.=0.84) higher than the other indicators.
3. Management factors that affect the effectiveness of the Demonstration schools , School factors which include reasonable structure, vision, mission, goals, a learning resource , The information technology and communications management , and monitoring and evaluation were a predictor of the effectiveness of education as well.
A Confirmatory Factor Analysis: The Second Order showed an agreement of analysis which average values of Chi-Square=430.49, df= 229, P-value= 0.000 ,GFI=0.94, AGFI=0.91 and RMR= 0.036. They have shown that the model was properly in agreement with the empirical data.
Article Details
ในกรณีที่กองบรรณาธิการ หรือผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งได้รับเชิญให้เป็นผู้ตรวจบทความวิจัย หรือ บทความทางวิชาการมีความเห็นว่าควรแก้ไขความบกพร่อง ทางกองบรรณาธิการจะส่งต้นฉบับให้ ผู้เขียนพิจารณาจัดการแก้ไขให้เหมาะสมก่อนที่จะลงพิมพ์ ทั้งนี้ กองบรรณาธิการจะยึดถือความคิด เห็นของผู้เชี่ยวชาญเป็นเกณฑ์