การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสมรรถนะการจัดการชั้นเรียนของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราชสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Main Article Content

อรุณ จุติผล

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

       การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสมรรถนะการจัดการชั้นเรียนของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และเพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพของหลักสูตรฝึกอบรม โดยดำเนินการวิจัยในรูปแบบของการวิจัยและพัฒนา 5 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษา และวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน ด้วยการศึกษาจากเอกสารและสำรวจความต้องการพัฒนาสมรรถนะการจัดการชั้นเรียนของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม ด้วยการออกแบบโครงร่างหลักสูตรฝึกอบรม แล้วนำไปตรวจสอบ โดยการจัดประชุมกลุ่มสนทนา (Focus Group)      จากผู้ทรงคุณวุฒิ การทดลองใช้ (Try Out) และปรับปรุงก่อนทดลองใช้จริง 3) การตรวจสอบประสิทธิภาพหลักสูตรฝึกอบรม ด้วยการนำหลักสูตรไปทดลองใช้กับกลุ่มทดลองที่เป็นครูที่สมัครเข้าอบรม โครงการฝึกอบรมมาตรฐานความรู้วิชาชีพครูของคุรุสภา มาตรฐานที่ 6 หลักสูตรการบริหารจัดการในชั้นเรียน จำนวน  35  คน  ใช้เวลา 60 ชั่วโมง ในรูปแบบการทดลองกลุ่มเดียววัด 2 ครั้ง (One-Group Pretest-Posttest Design)  4) การติดตามผลการฝึกอบรม โดยทำการประเมินผลหลังการฝึกอบรมไปแล้ว 1 เดือน  และ 5) การปรับปรุงหลักสูตรฝึกอบรม เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบทดสอบและแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อหาค่าสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า t-test  

ผลการวิจัยพบว่า 

                    1. หลักสูตรฝึกอบรม เพื่อเสริมสมรรถนะการจัดการชั้นเรียนของครู สังกัดสำนักงาน   เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน      มีเนื้อหาในการพัฒนา  4  เรื่อง คือ 1) การจัดการกับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพของชั้นเรียน 2) การกำหนดมาตรฐานพฤติกรรมของนักเรียน  3) การใช้กลยุทธ์ที่เหมาะสมในการเสริมสร้างพฤติกรรม ที่เหมาะสมหรือลดพฤติกรรมที่ไม่พึงปรารถนาของนักเรียน  และ4) การประเมินประสิทธิผลของ กลยุทธ์ที่ใช้ในการเสริมสร้างพฤติกรรมที่เหมาะสมหรือลดพฤติกรรมที่ไม่พึงปรารถนาของนักเรียน โดยมีองค์ประกอบของหลักสูตร 6 องค์ประกอบ ได้แก่  1) หลักการและเหตุผล 2) วัตถุประสงค์  ของหลักสูตรฝึกอบรม 3) เนื้อหาและระยะเวลาของการฝึกอบรม 4) กิจกรรมการฝึกอบรม  5) สื่อ    ที่ใช้ในการฝึกอบรม และ 6) การวัดและประเมินผล 

                    2.  ประสิทธิภาพของหลักสูตรฝึกอบรม  มีดังนี้

                        2.1 หลักสูตรสามารถเสริมสมรรถนะการจัดการชั้นเรียนของครูที่เข้ารับการฝึกอบรมได้ตามวัตถุประสงค์  โดยมีค่าเฉลี่ยรวมทุกหน่วยการเรียนรู้ ร้อยละ  80  ขึ้นไป

                       2.2 หลักสูตรสามารถเสริมสมรรถนะการจัดการชั้นเรียนของครู หลังเสร็จสิ้นการฝึกอบรม สูงกว่าก่อนการฝึกอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .001

                       2.3 ครูที่เข้ารับการฝึกอบรมเห็นว่า หลักสูตรมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด

                        2.4 การติดตามและประเมินผล หลังการฝึกอบรม 1 เดือน พบว่าครูสามารถนำสมรรถนะการจัดการชั้นเรียนไปบูรณาการและประยุกต์ใช้ อยู่ในระดับดีถึงดีมาก  


A development of training curriculum to enhance the classroom management competency of teachers under the office of Nakhon Si Thammarat primary education service area office the basic education commission

                      The  purposes  of  this  research  were  to develop  the  training  curriculum  to  enhance  the  classroom  management  competency  of  teachers  under  Nakhon Si Thammarat Primary Education Service Area Office  of  the  Basic  Education  Commission, and  to  evaluate  the  efficiency  of  the  training  curriculum.  The research procedures were processed in 5 steps.     First  were  studying  and  analyzing  data by studying  the  documents  and  explored  the capacity development needs  for classroom management. Second was developing the curriculum by creating a training program scheme, then proved by focus group discussion of 8 experts before actual try out. Third was validating the efficiency of training curriculum by experimented with    35 teachers covered 60 hours and one-group pretest-posttest design was employed. Fourth was curriculum usage followed-up after one month trained. And fifth was curriculum improvement. The research instruments consisted of objective tests and questionnaires.  The data analyzed by computer program to analyze by percentage, mean, standard deviation, and t-test.

                The research findings revealed as follows:

                1.  The  training  curriculum  to  enhance  the  classroom  management  competency  of  teachers was composed  of  4  contents; 1) the classroom physical evidence management, 2) the standard setting rule of student behavior, 3) the appropriate strategies to promote appropriate  behavior or reduce the undesirable of student behavior, and 4) the effectiveness evaluating of the strategies complied in creating to promote appropriate behavior or reduce the undesirable of  student behavior. The training curriculum consisted of 6 components; 1) rationale, 2)  objectives, 3) contents and duration, 4) activities, 5) materials, and 6) measurement and evaluation. 

               2.  The efficiency of the training curriculum;

                        2.1 The enhancement outcomes for the classroom management competency of trained teachers were reached to improve the objectives and learning units.

                        2.2 A comparison of the enhancement outcomes for the classroom management competency before and after training revealed that after training outcomes were higher with significant statistic at a .001 level.

                        2.3 The perception of trained teachers on the training curriculum was in the highest level.

                        2.4 According to the curriculum usage followed-up after one month trained revealed that the trained teachers can be integrated and implemented the knowledge as well, within good to very good level. The average between 3.25 – 3.86


Article Details

บท
บทความวิจัย