ผลการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มตามทฤษฎีพิจารณาเหตุผล อารมณ์และพฤติกรรม เพื่อลดค่านิยมทางวัตถุของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โครงการห้องเรียนพิเศษ โรงเรียนพัทลุง จังหวัดพัทลุง

Main Article Content

อติกานต์ เทพขวัญ
กาญจนวัลย์ ภิญโญศุภสิทธิ์
วัลลยา ธรรมอภิบาล

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เปรียบเทียบระดับค่านิยมทางวัตถุของนักเรียนโครงการห้องเรียนพิเศษ โรงเรียนพัทลุง จังหวัดพัทลุงก่อนและหลังการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มตามทฤษฎีพิจารณาเหตุผล อารมณ์และพฤติกรรม และ2. เปรียบเทียบระดับค่านิยมทางวัตถุของนักเรียนโครงการห้องเรียนพิเศษ  โรงเรียนพัทลุง จังหวัดพัทลุง ระหว่างนักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มตามทฤษฎีพิจารณาเหตุผล อารมณ์และพฤติกรรมกับนักเรียนกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โครงการห้องเรียนพิเศษด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ที่มีระดับค่านิยมทางวัตถุสูงตั้งแต่เปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 75 ขึ้นไปจำนวน 16 คนและได้แบ่งเข้ากลุ่มโดยวิธีการสุ่มอย่างง่ายเป็นกลุ่มทดลอง 8 คนที่ได้รับการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มตามทฤษฎีพิจารณาเหตุผล อารมณ์และพฤติกรรม กลุ่มควบคุม 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบวัดค่านิยมทางวัตถุ โปรแกรมการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มตามทฤษฎีพิจารณาเหตุผล อารมณ์และพฤติกรรม  และแบบประเมินพฤติกรรมนักเรียนต่อการมีค่านิยมทางวัตถุ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติวิลคอกซัน (The Wilcoxon Signed Rank Test) และแมนวิสเนย์ ยูเทส  (The Mann – Whitney U Test) ในการทดสอบสมมุติฐาน

ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

           1. กลุ่มทดลองที่ได้รับการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มตามทฤษฎีพิจารณาเหตุผล อารมณ์และพฤติกรรม มีระดับค่านิยมทางวัตถุลดลงกว่าก่อนได้รับการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01

           2. กลุ่มทดลองที่ได้รับการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มตามทฤษฎีพิจารณาเหตุผล อารมณ์และพฤติกรรมมีระดับค่านิยมทางวัตถุลดลงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

The Effect of Rational Emotive Behavior Theory in Group Counselingfor Reducing the Material of Student Secondary Education on the Gifted Class Project Phatthalung School in Phatthalung Province

    This research aim to : 1. to compare level of the material value of student secondary education on the gifted class project Phatthalung  School in  Phatthalung  Province before and after that received the effect on rational emotive behavior theory in group counseling : and 2. to compare level of  material value of student secondary education on the gifted class project Phatthalung  School in  Phatthalung Province between experimental group that received the effect on rational emotive behavior theory in group counseling and control group . The Subjects of this study were 16 in Science-Mathematics Ability Class students who have 75thpercentile on the material value. The sixteen samples were randomly assigned into two groups : an experimental group that received the effect on rational emotive behavior theory in group counseling and a control group. The research instruments used for study were the rational emotive behavior theory in group counseling program for reducing the Material value, the Test of Material value, the Assessment Behavior of Material value .The statistical analyses employed were average, standard deviation, The Wiilcoxon Singned Rank Test and The Mann–Whitney U Test .

                The results of the study were as follows :

                1. The experimental group received the effect on rational emotive behavior theory in group counseling reduced in level of the material value after the treatment than before at a statistical level of .01

                2. The experimental group received the effect on rational emotive behavior theory in group counseling reduced in level of the material value than the control group at a statistical level of .05

Article Details

บท
บทความวิจัย