ผลของการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มตามทฤษฎีเผชิญความจริงที่มีต่อการปรับตัวทางวัฒนธรรม ของนิสิตมุสลิมระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1

Main Article Content

มนลดา ยูโซะ
จิระสุข สุขสวัสดิ์
กฤธยากาญจน์ โตพิทักษ์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

                   การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ(1) เปรียบเทียบผลของการปรับตัวทางวัฒนธรรมของนิสิตมุสลิมของกลุ่มทดลองก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรมการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มตามทฤษฎีเผชิญความจริง และ (2) เปรียบเทียบผลของการปรับตัวทางวัฒนธรรมของนิสิตมุสลิมของกลุ่มทดลองหลังการเข้าร่วมโปรแกรมการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มตามทฤษฎีเผชิญความจริงและกลุ่มควบคุมที่ได้รับการดูแลปกติ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นิสิตมุสลิมมหาวิทยาลัยทักษิณ ระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ประจำปีการศึกษา 2556 ที่สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามที่มีคะแนนการปรับตัวทางวัฒนธรรมในระดับต่ำกว่าปกติเล็กน้อยถึงต่ำกว่าปกติมาก จำนวน 20 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 10 คน ที่เข้าร่วมโปรแกรมการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มตามทฤษฎีเผชิญความจริง และกลุ่มควบคุม จำนวน 10 คน ที่ได้รับการดูแลปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดการปรับตัวทางวัฒนธรรม และโปรแกรมการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มตามทฤษฎีเผชิญความจริง สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือWilcoxon Signed Rank Test และ Mann Whitney U Test

ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้

                   1. นิสิตมุสลิมที่เข้าร่วมโปรแกรมการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มตามทฤษฎีเผชิญความจริงมีการปรับตัวทางวัฒนธรรมสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

                   2. นิสิตมุสลิมที่เข้าร่วมโปรแกรมการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มตามทฤษฎีเผชิญความจริงมีการปรับตัวทางวัฒนธรรมสูงขึ้นมากกว่านิสิตมุสลิมที่ได้รับการดูแลปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

 

The Effects of the Reality Group Counseling on Cultural Adjustment in Muslim Freshmen, Thaksin University, SongkhlaCampas

              The purpose of this research was(1) to compare the effects of approach on cultural adjustment to Muslim freshmen in experimental group before and after participated the group counseling with reality therapy;(2) to compare and the effects of approach on cultural adjustment to Muslim freshmen in experimental group, which is the control group, before participated the group counseling with reality therapy and the control group who received usual care. The subjects of this study were Muslim freshmen who were graduates of Islamic school, of Thaksin University on 2nd semester academic year 2556 they had scored lower than normal to slightly below normal on cultural adjustment. There were 20 students who had done the experiment, 10 students who received the group counseling with reality therapy. And 10 students for the control group who received usual care.

                   The research instruments used for the studywere the cultural adjustment scale, the group counseling assessment with reality therapy.The statistical analyses employed were the Wilcoxon Signed Rank test and Mann Whitney U test.

                   The result of the study were as follows :

                   1. Muslim freshmen who participated in group counseling with reality therapy, had higher on cultural adjustment with a statistically significant at the .01 level.

                   2. Muslim freshmen who participated in group counseling with reality therapy, had higher on cultural adjustment more than the Muslim freshmen who received usual care with a statistically significant at the .01 level.


Article Details

บท
บทความวิจัย