การพัฒนาตัวชี้วัดออนโทโลยีเพื่อการบริหารสถานศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เสนอแนวทางการพัฒนาตัวชี้วัดเพื่อการบริหารสถานศึกษาด้วยออนโทโลยี โดยมีวัตถุประสงค์การวิจัย คือ 1) เพื่อศึกษาและจัดกลุ่มตัวชี้วัดการบริหารสถานศึกษา และ 2) เพื่อออกแบบและพัฒนาความสัมพันธ์ของตัวชี้วัดด้วยออนโทโลยี กระบวนการดำเนินการวิจัย แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ 1) การจัดกลุ่มตัวชี้วัดตามมุมมองของการประเมินดุลยภาพ (balanced scorecard) 2) การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (exploratory factor analysis) และ 3) การสร้างความสัมพันธ์ของตัวชี้วัดด้วยออนโทโลยีในแต่ละองค์ประกอบ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหาร อาจารย์ และบุคลากรในมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มตะวันตก ซึ่งได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี และมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง จำนวน 620 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิแบบง่าย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ
ผลการวิจัยพบว่า
1) การจัดกลุ่มตัวชี้วัด สามารถจัดกลุ่มตัวชี้วัดได้ 3 กลุ่ม ดังนี้ องค์ประกอบที่ 1 ด้านนักศึกษาและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 23 ตัวชี้วัด องค์ประกอบที่ 2 ด้านกระบวนการภายใน จำนวน 24 ตัวชี้วัด และองค์ประกอบที่ 3 ด้านการเรียนรู้และการเติบโต จำนวน 15 ตัวชี้วัด
2) การออกแบบและพัฒนาความสัมพันธ์ของตัวชี้วัดออนโทโลยี พบว่า มีความสัมพันธ์ระหว่างตัวชี้วัดทั้งที่อยู่ในองค์ประกอบเดียวกันและต่างกัน
จากงานวิจัยดังกล่าว พบว่า ตัวชี้วัดออนโทโลยีสามารถลดความซ้ำซ้อนในการจัดเก็บเอกสาร และง่ายต่อการสืบค้นเอกสารโดยนำไปพัฒนาเป็นซอฟต์แวร์ต้นแบบการบริหารสถานศึกษาโดยใช้ตัวชี้วัดออนโทโลยี
Developing Ontology – driven Indicators for the University Administration
This research aimed at creating a specific method for developing indicators employed in the university administration using ontology. The specific objectives of this study were as follows : 1) to categorize these indicators and 2) to design and develop the relationship between those indicators by ontology. The process of the research method was divided into three steps : 1) categorizing the indicators by balanced scorecard, 2) analyzing the indicators by factor analysis, and 3) creating the relationship among the indicators by ontology.
The research samples were 620 university administrators, lecturers and supportive staff from 4 Rajabhat Universities in the Western region of Thailand, namely, Nakhon Pathom Rajabhat University, Muban Chom Bueng Rajabhat University, Kanchanaburi Rajabhat University and Phetchaburi Rajabhat University. These samples were randomized using the simple stratified random sampling technique. And the data were analyzed using factor analysis.
The research findings were as follows:
1) The indicators were categorized into three groups: the indicators of 23 students and stakeholders, the indicators of 24 internal processes of the universities, and the indicators of 15 those concerning learning and growth of the universities.
2) The design and development of the relationship of the indicator by the ontology indicated that there was the relationship among the indicators both in the same group and among the different groups.
From the research findings, it can be concluded that filing documents could be reduced and document researching could be made easier if all of the prototype software using indicators ontology was employed.
Article Details
ในกรณีที่กองบรรณาธิการ หรือผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งได้รับเชิญให้เป็นผู้ตรวจบทความวิจัย หรือ บทความทางวิชาการมีความเห็นว่าควรแก้ไขความบกพร่อง ทางกองบรรณาธิการจะส่งต้นฉบับให้ ผู้เขียนพิจารณาจัดการแก้ไขให้เหมาะสมก่อนที่จะลงพิมพ์ ทั้งนี้ กองบรรณาธิการจะยึดถือความคิด เห็นของผู้เชี่ยวชาญเป็นเกณฑ์