ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือที่ประยุกต์รูปแบบกราฟฟิติ (Graffiti) เรื่อง การแปรผัน ที่มีต่อความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ด้านการเขียน เรื่อง การแปรผัน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือที่ประยุกต์รูปแบบแกรฟฟิติ (Graffiti) กับเกณฑ์ร้อยละ 70 และเปรียบเทียบความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ด้านการพูดนำเสนอ เรื่อง การแปรผัน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2หลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือที่ประยุกต์รูปแบบแกรฟฟิติ (Graffiti) กับเกณฑ์ร้อยละ 70
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนวรนารีเฉลิม อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา จำนวน 41 คนซึ่งได้มาจากวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบร่วมมือที่ประยุกต์รูปแบบแกรฟฟิติ (Graffiti) แบบทดสอบวัดความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ด้านการเขียนและแบบทดสอบวัดความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ด้านการพูดนำเสนอ โดยใช้แบบแผนการวิจัยแบบ One Short Case Study สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ t - test for One Sample
ผลการวิจัยพบว่า
- ความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ด้านการเขียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือที่ประยุกต์รูปแบบแกรฟฟิติ (Graffiti)สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
- ความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ด้านการพูดนำเสนอ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือที่ประยุกต์รูปแบบแกรฟฟิติ (Graffiti)สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
The Effects of Cooperative Learning to apply with the Graffiti model “Variation” on Mathematical Communication Ability of Matthayomsuksa II Students
The purposes of this research were to compare mathematicalcommunication abilities in writing on Variation of Matthayomsuksa II students after being organized Cooperative Learning to apply with the Graffiti model to 70 percentage criterion and to compare mathematicalcommunication abilities in speaking on Variation of Matthayomsuksa II students after being organized Cooperative Learning to apply with the Graffiti model to the 70 percentage criterion.
The sample of this study was 41 Matthayomsuksa II students in the second semester of 2013 academic year at WoranariChaloemSongkhla School, Songkhla. They were selected by using Cluster Random Sampling.
The research instruments were the mathematics lesson plans based on Cooperative Learning to apply with the Graffiti model, the mathematical communication ability in writing test and the mathematical communication ability in speaking test. The One Short Case Studydesign was used for data analysis. The data was analyzed by using t - test for One Sample.
The results of the study were as follow:
1. Mathematical communication ability in writing ofMatthayomsuksa II students after being organized Cooperative Learning to apply with the Graffiti model was higher than the 70 percentage criterion at the .05 level of significance.
2. Mathematical communication ability in speaking ofMatthayomsuksa II students after being organized Cooperative Learning to apply with the Graffiti model was higher than the 70 percentage criterion at the .05 level of significance.
Article Details
ในกรณีที่กองบรรณาธิการ หรือผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งได้รับเชิญให้เป็นผู้ตรวจบทความวิจัย หรือ บทความทางวิชาการมีความเห็นว่าควรแก้ไขความบกพร่อง ทางกองบรรณาธิการจะส่งต้นฉบับให้ ผู้เขียนพิจารณาจัดการแก้ไขให้เหมาะสมก่อนที่จะลงพิมพ์ ทั้งนี้ กองบรรณาธิการจะยึดถือความคิด เห็นของผู้เชี่ยวชาญเป็นเกณฑ์