ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีวินัยของนักเรียนมัธยมศึกษาในเขตภาคใต้ตอนบน

Main Article Content

สันติกร รักสองหมื่น
เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์
ไพศาล หวังพานิช
สงวนพงศ์ ชวนชม

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีวินัยของนักเรียนมัธยมศึกษาในเขตภาคใต้ตอนบน โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาระดับการมีวินัยของนักเรียนมัธยมศึกษาในเขตภาคใต้ตอนบน 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีวินัยของนักเรียนมัธยมศึกษาในเขตภาคใต้ตอนบน และ 3)เพื่อศึกษาลักษณะความสัมพันธ์ของปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีวินัยของนักเรียนมัธยมศึกษาในเขตภาคใต้ตอนบน ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ในเขตภาคใต้ตอนบน จำนวน  236 โรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง คือ โรงเรียนที่จัดการเรียนการสอนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา  2554 จำนวน  118  โรงเรียน  ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน  118  คน หัวหน้างานปกครองหรือหัวหน้าฝ่ายกิจการนักเรียน จำนวน  118  คน ครูประจำชั้นหรือครูที่ปรึกษา จำนวน  118  คน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  จำนวน  1,180 คน  รวมทั้งหมด  1,534 คนตัวแปรอิสระ ได้แก่  1) สภาพครอบครัวของนักเรียน 2) สภาพแวดล้อมภายในโรงเรียน 3) จิตลักษณะของนักเรียน และ4) การปรับตัวทางสังคมของนักเรียน ตัวแปรตาม ได้แก่การมีวินัยของนักเรียน ประกอบด้วย 1) ความรับผิดชอบ 2) พฤติกรรมเชิงจริยธรรม และ 3) การปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของสังคมเครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป

ผลการวิจัยปรากฏดังนี้

1.  ระดับการมีวินัยของนักเรียนมัธยมศึกษาในเขตภาคใต้ตอนบน มีระดับการมีวินัยโดยรวมอยู่ในระดับ ปานกลาง เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่าระดับการมีวินัยของนักเรียนอยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน เรียงตามลำดับดังนี้ ด้านพฤติกรรมเชิงจริยธรรม ด้านความรับผิดชอบ และด้านการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของสังคม

2.  ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีวินัยของนักเรียนมัธยมศึกษาในเขตภาคใต้ตอนบน พบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีวินัยของนักเรียนเรียงตามลำดับจากมากที่สุดไปหาน้อยที่สุด ได้แก่ ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียน ส่งผลทางตรงและทางอ้อมต่อการมีวินัยของนักเรียนมัธยมศึกษาในเขตภาคใต้ตอนบน มีค่าอิทธิพลรวม Beta = 0.65  รองลงมา ปัจจัยด้านสภาพครอบครัวของนักเรียน ส่งผลทางตรงและทางอ้อมต่อการมีวินัยของนักเรียนมัธยมศึกษาในเขตภาคใต้ตอนบน มีค่าอิทธิพลรวม Beta = 0.39  ปัจจัยด้านจิตลักษณะของส่งผลทางตรงและทางอ้อมต่อการมีวินัยของนักเรียนมัธยมศึกษาในเขตภาคใต้ตอนบน มีค่าอิทธิพลรวม Beta = 0.20 และ และปัจจัยด้านการปรับตัวทางสังคมของนักเรียน มีเส้นทางส่งผลทางตรงส่งผลทางตรงโดยไม่มีการส่งผลทางอ้อมต่อการมีวินัยของนักเรียนมัธยมศึกษาในเขตภาคใต้ตอนบน มีค่าอิทธิพลรวม Beta = 0.15

3.  ลักษณะของรูปแบบความสัมพันธ์ของปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีวินัยของนักเรียนมัธยมศึกษาในเขตภาคใต้ตอนบนที่สร้างขึ้นมีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์

 

Factors Affecting to the Discipline of Secondary School Students In the Upper Southern Region

     The purposes of this research were to study 1) the factors affected to the discipline of Secondary School Students in the Upper Southern Region. The specific objectives are; 1) to study the discipline of Secondary School Students in the Upper Southern Region, 2) to study the factors affected to the discipline of Secondary School Students in the Upper Southern Region, and 3) to study the relationship of factors affected on the discipline of Secondary School Students in the Upper Southern Region. Population used in this study is 236 secondary schools situated in the Upper South. Sampling is 118 secondary schools. The information are from the school administrators, head department of student affairs, student advisee’s teachers and 1180 of 3rdyear secondary school students. The independent variables include; 1) the condition of their families, 2) the school environment, 3) psychological characteristics of students and 4) the social adjustment of students. The variables including the discipline of the student consisting of 1) responsibility 2) ethical behavior, and 3) the rules of society. A research instrument, created by researcher is questionnaires. Data were analyzed by using computer software packages.

                The results were as follows.

                1. The level of discipline as a whole is classified as a moderate on the level of discipline of the students were in the middle level on all sides. Sequentially as follows; ethical behavior, areas of responsibility and the rules of society.

                2. The factors affected to the discipline of the students sequentially as follows; 1) the school environmental factors are direct and indirect impacted on the discipline of secondary school students. The total influence impacted at Beta = 0.65, 2) for the condition of the students families are direct and indirect impacted on the discipline of secondary students. The total influence impacted at Beta = 0.39, 3) the influence of psychological characteristics of students factors are direct and indirect impacted on the discipline of high school students at Beta = 0.20  and 4) the social adjustment factors results are no direct impacted on the discipline. The Influence of Beta = 0.15.

                3. The relationship of the factors that affected to the discipline of secondary school students in the upper southern region are in harmony with the empirical data.

Article Details

บท
บทความวิจัย