การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเรื่อง “หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานของประเทศในกลุ่มประชาคมอาเซียน” สำหรับครูสังกัดมหาวิทยาลัยในจังหวัดสงขลา

Main Article Content

จุไรศิริ ชูรักษ์

บทคัดย่อ

   การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเรื่อง “หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานของประเทศในกลุ่มประชาคมอาเซียน” สำหรับนักศึกษาครูสังกัดมหาวิทยาลัยในจังหวัดสงขลา 2)ศึกษาผลการประเมินการใช้หลักสูตรการฝึกอบรม “หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานของประเทศในกลุ่มประชาคมอาเซียน” สำหรับนักศึกษาครูสังกัดมหาวิทยาลัยในจังหวัดสงขลา แบบแผนการวิจัยเป็นแบบวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างในการนำหลักสูตรไปใช้จริงเป็นนักศึกษาครูชั้นปีที่ 4 ปีการศึกษา 2556 มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา จำนวน 43 คน การพัฒนาหลักสูตรมี 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดจุดมุ่งหมายและจุดประสงค์ของหลักสูตรฝึกอบรม ขั้นตอนที่ 2 การออกแบบหลักสูตรฝึกอบรม ขั้นตอนที่ 3 การนำหลักสูตรไปใช้ฝึกอบรม และขั้นตอนที่ 4 การประเมินผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรมเครื่องมือเครื่องที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ หลักสูตรฝึกอบรม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ด้านความรู้ แบบประเมินผลสัมฤทธิ์ด้านการปฏิบัติ แบบวัดเจคติต่อการรวมกลุ่มเป็นประชาคมอาเซียน และแบบสอบถามความคิดเห็นต่อการใช้หลักสูตรฝึกอบรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย เลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และสถิติการทดสอบที (t-test)

          ผลการวิจัยพบว่า

          1. หลักสูตรฝึกอบรมเรื่อง “หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานของประเทศในกลุ่มประชาคมอาเซียน” ที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย หลักการ จุดหมาย เนื้อหาสาระ วิธีการฝึกอบรม สื่อประกอบ การวัดและประเมินผล ตารางการฝึกอบรม และแผนการฝึกอบรม ใช้เวลา 36 ชั่วโมง ผลการตรวจสอบคุณภาพหลักสูตรจากผู้เชี่ยวชาญพบว่า หลักสูตรมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.68

          2. ผลการประเมินการใช้หลักสูตรฝึกอบรม พบว่า

          2.1 นักศึกษาครูมีผลสัมฤทธิ์ด้านความรู้หลังการใช้หลักสูตรฝึกอบรมมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

          2.2 นักศึกษาครูมีผลสัมฤทธิ์ด้านความรู้หลังการใช้หลักสูตรฝึกอบรมมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ระดับ (ร้อยละ 70) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

          2.3 นักศึกษาครูมีผลสัมฤทธิ์ด้านการปฏิบัติหลังการใช้หลักสูตรฝึกอบรมในภาพรวมอยู่ในระดับดีเยี่ยม โดยมีค่าเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 81.58 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ระดับดี (ร้อยละ 70) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

          2.4 นักศึกษาครูมีเจตคติต่อการรวมกลุ่มกันเป็นประชาคมอาเซียนหลังการใช้หลักสูตรฝึกอบรมมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

          2.5 นักศึกษาครูมีเจตคติต่อการรวมกลุ่มกันเป็นประชาคมอาเซียนหลังการใช้หลักสูตรฝึกอบรมมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ระดับมาก (3.51) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

          2.6 นักศึกษาครูมีความคิดเห็นต่อการใช้หลักสูตรฝึกอบรมในภาพรวมอยู่ในระดับมากโดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.26

 

Development of the Training Curriculum on "Basic Education Curriculum of The ASEAN Community Countries" for Teacher Students of Universities in Songkhla Province

   The objectives of this research were : 1) to develop the training curriculum on “basic education curriculum of the ASEAN community countries” for teacher student of universities in Songkhla province. and 2) to study the result of the training curriculum evaluation on “basic education curriculum of the ASEAN community countries” for teacher student of universities in Songkhla province. This research was based on research and development. The sample group consisted of 43 fourth year teacher students at Songkhla Rajabhat University. The research was in 4 steps as : 1) setting goals and objectives. 2) curriculum design. 3) curriculum implementation. and 4) curriculum evaluation. The research tools comprised of a training curriculum. a learning achievement test. A performance test. a questionnaire on students attitudes. and a  questionnaire on students opinions. Analytical statistics were percentage. mean standard deviation. and t-test value.

Research found that :

          1. The training curriculum consists of principles. Goals, subject matters, training methods. Instructional media, evaluation. Timetables, and lesson plans for 36 training hours. A quality check of the training curriculum by experts found that the curriculum was appropriate at the highest value. Averaging in value at 4.68

          2.  The results of the training curriculum  evaluation were as follows :

                   2.1 Students learning achievements after the training curriculum implemented was higher than before the impiementation with statistically significant at .01 level.

                   2.2 Students learning achievements after the training curriculum implemented was higher than the good level criteria (70%) with statistically significant at .01 level.

                   2.3 Students learning achievements after the training curriculum implemented was at an excellent level (average = 81.58%) and higher than the good level criteria (70%) with statistically significant at .01 level.

                   2.4 Students had positive attitudes towards the association of the ASEAN community after the training curriculum implemented was higher than before the impiementation with statistically significant at .01 level.

                   2.5 Students had positive attitudes towards the association of the ASEAN community after the training curriculum implemented higher than the high level criteria (3.51) with statistically significant at .01 level.

                   2.6 Students opinions towards the training curriculum implemented was at a high level (x = 4.26)

Key word : development of training curriculum ; basic education curriculum ; ASEAN Community ; teacher students.

Article Details

บท
บทความวิจัย