ผลการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มตามทฤษฎีพิจารณาเหตุผล อารมณ์ และพฤติกรรมเพื่อพัฒนาเจตคติ ต่อการรักนวลสงวนตัวของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนนวมินทราชูทิศ ทักษิณ จังหวัดสงขลา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบเตคติต่อการรักนวลสงวนตัวของนักเรียนหญิงก่อนและหลังการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มตามทฤษฎีพิจารณาเหตุผล อารมณ์ และพฤติกรรม และเพื่อเปรียบเทียบเจตคติต่อการรักนวลสงวนตัวของนักเรียนหญิงหลังการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มตามทฤษฎีพิจารณาเหตุผล อารมณ์ และพฤติกรรม กับนักเรียนหญิงที่เข้าร่วมกลุ่มควบคุม โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนนวมินทราชูทิศ ทักษิณ จังหวัดสงขลา ที่มีคะแนนเจตคติต่อการรักนวลสงวนตัวตั้งแต่เปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 25 ลงมา และสมัครใจเข้าร่วมการทดลอง จำนวน 20 คน แบ่งกลุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่มโดยการสุ่มอย่างง่ายด้วยวิธีการจับฉลาก เป็นกลุ่มทดลองที่ได้รับการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มตามทฤษฎีพิจารณาเหตุผล อารมณ์ และพฤติกรรม จำนวน 10 คน และกลุ่มควบคุมจำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ โปรแกรมการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มตามทฤษฎีพิจารณาเหตุผล อารมณ์ และพฤติกรรม เพื่อพัฒนาเจตคติต่อการรักนวลสงวนตัว และแบบวัดเจตคติต่อการรักนวลสงวนตัว โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้วิธีการของวิลคอกซัน (Wilcoxon Signed Ranks Test) และวิธีการของแมนทิวนีย์ (Mann-Whitney U test)
ผลการวิจัย พบว่า
- เจตคติต่อการรักนวลสงวนตัวของนักเรียนหญิงหลังการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มตามทฤษฎีพิจารณาเหตุผล อารมณ์และพฤติกรรม สูงกว่าก่อนให้คำปรึกษาแบบกลุ่มตามทฤษฎีพิจารณาเหตุผล อารมณ์และพฤติกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 01
- เจตคติต่อการรักนวลสงวนตัวของนักเรียนหญิงหลังการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มตามทฤษฎีพิจารณาเหตุผล อารมณ์และพฤติกรรมสูงกว่านักเรียนหญิงที่เข้าร่วมกลุ่ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 01
The Effects of Rational Emotive Behavior Therapy in Group Counseling for Development Attitude toword love due respect to the Female Students in Mathayom Suksa 2 at Navamindharajudis Taksin School, Songkhla.
The purposes of this research were study to compare the effects attitude toward love due respect to the female before and after the counseling group theory considers rational emotive and behavior. And to compare attitude toward love due respect to the female student after the counseling group Theory considers rational emotive and behavior attendance control group. The sample is used as female students in mathayom suksa 2 at Navamindharajudis Taksin school, Songkhla who has scored attitude to love due respect below the 25 percentile of 20 people divide into the experimental group and a control group by simple random sampling. Each group had 10 people. The instruments used in this research were the rational emotive behavior theory in group counseling program and queries attitude toward love due respect. The statistics used in data analysis using the Wilcoxon Signed Ranks test and the Man Whitney U test
The results of the study were as follows.
- Attitude toward love due respect to the female students after counseling group theory considers rational emotive and behavior higher than before the consultation group Statistically significant at the .01 level.
- Attitude toward love due respect to the female students after counseling group theory considers rational emotive and behavior higher than female students attendance control group group Statistically significant at the .01 level.
Article Details
ในกรณีที่กองบรรณาธิการ หรือผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งได้รับเชิญให้เป็นผู้ตรวจบทความวิจัย หรือ บทความทางวิชาการมีความเห็นว่าควรแก้ไขความบกพร่อง ทางกองบรรณาธิการจะส่งต้นฉบับให้ ผู้เขียนพิจารณาจัดการแก้ไขให้เหมาะสมก่อนที่จะลงพิมพ์ ทั้งนี้ กองบรรณาธิการจะยึดถือความคิด เห็นของผู้เชี่ยวชาญเป็นเกณฑ์