การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างจิตสาธารณะสำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา

Main Article Content

วัลลยา ธรรมอภิบาล
อัจฉรา วัฒนาณรงค์
วิชัย วงษ์ใหญ่
ศิริยุภา พูลสุวรรณ

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างจิตสาธารณะ สำหรับนิสิต ระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา และศึกษาประสิทธิผลของหลักสูตร โดยมีขั้นตอนดำเนินการ 4 ขั้นตอน ดังนี้

               ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์ความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้อง และการสนทนากลุ่มนิสิตกลุ่มกิจกรรมชมรมฝ่ายบำเพ็ญประโยชน์ ผลการศึกษาพบว่า จิตสาธารณะ เป็นคุณลักษณะสำคัญ และจำเป็นต้องเสริมสร้างให้แก่นิสิต ตามองค์ประกอบของการมีจิตสาธารณะทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการรู้คิด (Cognition) ด้านเจตคติ (Attitude) และด้านพฤติกรรม (Behavior)

                ขั้นตอนที่ 2 การสร้างหลักสูตร เป็นการนำผลการศึกษาที่ได้จากขั้นตอนที่ 1 มากำหนดรายละเอียดต่างๆ ของหลักสูตรฉบับร่าง ประกอบด้วย แนวคิดพื้นฐาน หลักการและเหตุผลวัตถุประสงค์หลักสูตร โครงสร้างหลักสูตร การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ การวัดและประเมินผลหลักสูตรที่พัฒนาขึ้น มีโครงสร้างเนื้อหา 4 หน่วยการเรียนรู้ 8 กิจกรรม จัดเป็นประสบการณ์การเรียนรู้ตามกระบวนการ พัฒนาจิตสาธารณะ 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นการรับรู้ ขั้นการตอบสนอง ขั้นการเห็นคุณค่า ขั้นการจัดระบบและสร้างอุปนิสัย ใช้ระยะเวลารวมทั้งสิ้น 40 ชั่วโมง ผลการประเมินความเหมาะสม และความสอดคล้องของหลักสูตร ฉบับร่างโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ทุกองค์ประกอบของหลักสูตรเหมาะสมและสอดคล้องกับการเสริมสร้างจิตสาธารณะให้แก่นิสิต โดยนำข้อเสนอแนะจากการประเมินหลักสูตรฉบับร่างมาปรับปรุง เพื่อให้หลักสูตรมีความเหมาะสมยิ่งขึ้น

                ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้หลักสูตร เพื่อตรวจสอบประเมินผลของหลักสูตร ผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัย กึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Design) แบบกลุ่มเดียว โดยมีการวัดก่อนการทดลอง 1 ครั้ง หลังจากทดลอง 1 ครั้ง (One Group Pretest-Posttest Design) กับนิสิตระดับปริญญาตรี ภาคปกติชั้นปีที่ 1 คณะศึกษาศาสตร์ ปีการศึกษา 2554 มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา จำนวน 40 คน ซึ่งได้มาด้วยวิธีการรับสมัคร และคัดเลือกคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด ผลการวิจัยพบว่า ระดับจิตสาธารณะของนิสิตกลุ่มเป้าหมายก่อนการทดลองและหลังการทดลองใช้หลักสูตรแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และผลการปฏิบัติโครงการจิตสาธารณะผ่านเกณฑ์การประเมินทุกขั้นตอนรวมทั้งนิสิตมีความพึงพอใจต่อหลักสูตรในระดับมาก

                ขั้นตอนที่ 4 การประเมิน แก้ไข และปรับปรุงหลักสูตร จากผลการประเมินการทดลองใช้หลักสูตรพบว่า ทุกองค์ประกอบของหลักสูตรมีความเหมาะสม อย่างไรก็ตาม หลังการทดลองใช้หลักสูตร ได้มีการปรับปรุงหลักสูตร โดยปรับระยะเวลาระหว่างการบรรยายกับการปฏิบัติกิจกรรม ให้เหมาะสมตามโครงสร้าง 40 ชั่วโมง ปรับปรุงการใช้ภาษาที่ใช้ให้ถูกต้อง และปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้ให้มีความต่อเนื่องกัน จากนั้นจัดทำเป็นหลักสูตรเสริมสร้างจิตสาธารณะ สำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา ฉบับสมบูรณ์

 

A DEVEOPMENT OF ENRICHMENT CURRICULUM TO ENHANCE DESIRABLE PIBLIC MIND FOR UNDERGRADUATE STUDENTS AT THAKSIN UNIVERSITY, SONGKHLA CAMPUS

          This   research   aimed   to   develop   an   enrichment   curriculum   to   enhance   desirablepublic  mind   for   undergraduate   student   at   Thaksin   University,   Songkhal   Campus,   and   investigate   the   effectiveness   of   the designed   curriculum.  There   were   four  step  in   theprocess   of   curriculum  development

                Step  1  The   study   and   Analysis   of   Basic   Data.   The   included   a   collection    of   data from   documents   and   related   research,   interviews   with   related   people,   and   group   discussions of   student   from   the   Public   Service   club.  The   results   showed  that  public   mind   was   regarded   as  a  key  characteristic  and  it  was  necessary  to  implant   in  the  students.  The  state  of  public mind  consisted  of  three  aspects;  cognition,  attitude  and  behavior.

                Step  2  Curriculum  Development :  In  this  step  the  result  as  obtained   from   step  1 were  used  to  determine  the  details  of  the  drafted  curriculum  which   consisted  of  fundamentalconcept,  curriculum  rational,  objectives,  structure,  learning  experience,  and  measurementand  evaluation.  The  designed  curriculum  consisted  of  4 learning  units  and  8  activities.Learning  experiences  were  arranged  thought  the  four  step  in  developing  public  mind;perceiving  or  receiving,  responding,  valuing,  and  organizing  and  characterizing.  Time  spentin  curriculum  trial  was  40  hours  in total.  The  curriculum  was  assessed  by  experts  for  itsappropriateness  and  consistent  with  the approach  to  building  up the  public  mind  in  student.All  suggestions  derived  from  the  assessment  of  the  drafted  curriculum  were  used  to  improve The  curriculum.

                Step  3  Curriculum  Trial:  This  step  was  carried  out  in  order  to  determine  the effectiveness  of  the  curriculum.  The  researcher  used  the  quasi  -  experimental  design  and a  one  group  pretest  -  posttest  design  with  40  first  -  year  undergraduate  students  of  the Faculty  of  Education  in  the  2011  academic  year  at  Thaksin  University,  Songkhal  campus,who  applied  to  participate  in  the  trial  and  were  selected  by  the  set  criteria.  The results showed  that  the  levels  of  student’s  public  mind  before  and  after  the  experiment  were significantly  different  at  the  level  of  001  and  the  practice  public  mind  was  found  to  meet the  set  criteria  in  every  step.  The  students  were  also  satisfied  with  the  curriculum  at  a high  level.

            Step  4  Curriculum  Evaluation  and  Improvement:  The  results  obtained  from  the experiment  showed  that  all  element  of  the  curriculum  were  appropriate.  However,  after the  trial  the  curriculum  was  improved  by  adjusting  time  of  both  lecturing  and  doing  activities  to  meet  the  structure  of  40  hour  training  periods  and  revising  the  language  used and  lesson  plans  to  make  them  contiguous.  Eventually,  the  final  output  of  the  curriculumto  implant  the  public  mind  for  undergraduate  students  at  Thaksin  University,  Songkhal campus  was  completed.

Article Details

บท
บทความวิจัย