การจัดการศึกษาโรงเรียนสอนภาษาไทยในประเทศมาเลเซีย : กรณีศึกษาในรัฐเกดะห์

Main Article Content

รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ
จรัส อติวิทยาภรณ์

บทคัดย่อ

            การวิจัยนี้เป็นการศึกษา การจัดการศึกษาโรงเรียนสอนภาษาไทยในประเทศมาเลเซีย : กรณีศึกษารัฐเกดะห์ ซึ่งประกอบด้วย วัดวิสุทธิประดิษฐาราม วัดถ้ำคีรีวงศ์ ขอบเขตเนื้อหา 8 องค์ประกอบคือ 1) สาระเนื้อหา 2) ครู/ผู้สอนหรือผู้ให้การเรียนรู้ 3)สื่อ/อุปกรณ์การสอน 4) รูปแบบวิธีการเรียนการสอน 5) ผู้บริหารและบุคลากร 6) เงินทุนสนับสนุน 7) สถานที่ศึกษาและบรรยากาศแวดล้อม 8) ผู้เรียน ผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key Informant) ได้แก่ ครูผู้สอน(พระภิกษุ) นักเรียน (เด็กในมาเลเซียเชื้อชาติไทย) ผู้ปกครองนักเรียน ชุมชน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ใช้เพื่อสนทนากลุ่ม (Focus Group) การสังเกตแบบมีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

              หลักสูตรที่ใช้เป็นหลักสูตรจากกระทรวงศึกษาธิการของประเทศไทยเสริมด้วยเนื้อหาวัฒนธรรมไทย ผู้สอนส่วนใหญ่เป็นพระภิกษุ ไม่ได้สำเร็จทางด้านการศึกษา สอนด้วยจิตอาสา ใช้สื่อการเรียนการสอนแบบง่าย ๆ เช่น รูปภาพ วีดีโอ หนังสืออ่านประกอบ รูปแบบการสอนใช้การบรรยาย อภิปราย ทำกิจกรรมในการขัดหาบุคลากรส่วนใหญ่ใช้วิธีการแบบอาสาสมัครจากประเทศไทย มีทั้งพระภิกษุ และฆราวาส เงินสนับสนุนได้จากรัฐบาลมาเลเซีย  บางส่วนจากการบริจาคของหน่วยงานต่างๆ สำหรับสถานที่จัดการเรียนการสอนเป็นโบสถ์ ศาลาการเปรียญ ไม่ได้แยกเป็นสัดส่วนชัดเจน และผู้เรียนเป็นเด็กเชื้อชาติไทยที่สนใจในเรื่องพุทธศาสนาและต้องการเรียนภาษาไทย  

 

Educational Management of Thai Language School in Malaysia : Case Study in Kedah State

                 Thais research studied about Educational Management of Thai Language School in Malaysia : Case Study in Kedah State include Wat Phadittharam and Wat Thamkhireewong. The scope of contents consist of 8 components 1) Contents 2) Teachers 3) Teaching materials 4)Teaching Model 5) Prsonnel Administration 6)Support funding 7)Location and environment 8)Students. Key informants are teacher, students, parent and community. Structured interviews for focus group and participant observation are used as research tools. Data were descriptively analyzed. The research results were as follows :

                The school curriculum is the course curriculum from Ministry of Education of Thailand incorporated with Thai culture. Teachers are mostly monks without educational degree graduation who voluntarily teach. Simple materials such as pictures, VDOs and textbooks are used. Teaching  methods are mainly lecturing, discussing and doing activities. Personnel recruitment id done through calling for volunteers from Thailand which include monks and teachers. Supported funds are partly obtained from both Malaysian government and some donors from different organizations. Buddhist chapel sand sermon halls in monasteries are used as place for studying. The students are Thai race who want to learn Buddhist principles and Thai language. 

Article Details

บท
บทความวิจัย