การศึกษาความตรงเชิงพยากรณ์ ความเที่ยงของผลการเรียนเฉลี่ย (GPA) รายกลุ่มสาระและผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX) รายช่วงชั้นของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 ถึงช่วงชั้นที่ 4

Main Article Content

สำราญ มีแจ้ง
ประภัสสร วงษ์ดี
ยุพิน โกณฑา

บทคัดย่อ

  การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความตรงเชิงพยากรณ์ และความเที่ยงตรงของผลการเรียนเฉลี่ย (GPA) รายกลุ่มสาระ และผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX) รายช่วงชั้น จำแนกตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ สังกัด ขนาดโรงเรียน และแผนการเรียน ผู้ให้ข้อมูล คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551 จากโรงเรียนในเขตภาคเหนือตอนล่าง จำนวน 6,296 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ และหาความเที่ยงตรงของผลการเรียนเฉลี่ย ผลการวิจัยพบว่า ความตรงเชิงพยากรณ์ของผลการเรียนเฉลี่ยของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 ช่วงชั้นที่ 3 และช่วงชั้นที่ 4 ในภาพรวมจำแนกตามสังกัด ขนาดโรงเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ และแผนการเรียน มีความตรงเป็นไปตามเกณฑ์กำหนด (R≥ .07) ยกเว้นผลการเรียนเฉลี่ยในแผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์มีความตรงต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด นอกจากนี้ยังพบว่าความเที่ยงตรงของผลการเรียนเฉลี่ยของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 ถึงช่วงชั้นที่ 4 ในภาพรวม จำแนกตามสังกัดขนาดโรงเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ และแผนการเรียนมีความเที่ยงเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด (.75)

 

A Study of Predictive Validity and Reliability of Grade Point Averages (GPAs) in each learning area and Cumulative Grade Point Averages (GPAX) in each Key Stage from Key Stages 2-4

    This research studies the predictive validity and reliability of GPAs in each learning area and GPAX in each key stage as classified by learning areas, affiliations, school sizes, and study programs, Informants are 6th grade students, 9th grade and 12th grade student in the academic year B.E.2551 from  the school in the lower Northern part of Thailand, totaling 6,296. Multiple regression and reliability analysis are employed for data analysis. The results reveal that in general, the predictive validity of GPAs of the students in key stages 2, 3 and 4 as classified by affiliations, school sizes, learning areas, and study programs meets the specified criteria (R≥ .07), whereas the GPAs in the science math program does not. Moreover, this research has found that the reliability of GPAs of the student in key stages 2-4 as classified by affiliations, school sizes, learning areas and study programs as a whole meets the specified criteria (.75)

Article Details

บท
บทความวิจัย