การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมการคิดเชิงบริหารสำหรับเด็กปฐมวัยในจังหวัดจันทบุรี

Main Article Content

วราลี ถนอมชาติ
เกศิณี ศิริสุนทรไพบูลย์
ญาณิศา บุญพิมพ์

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐานเพื่อส่งเสริมการคิดเชิงบริหารสำหรับเด็กปฐมวัยในจังหวัดจันทบุรีให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบพัฒนาการด้านการคิดเชิงบริหารของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของเด็กปฐมวัยที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้
          กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ เด็กปฐมวัยที่มีอายุ 5-6 ปี ของโรงเรียนวัดดอนตาล จำนวน 21 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ 2) แบบประเมินพัฒนาการด้านการคิดเชิงบริหาร (MU.EF101) และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจของเด็กปฐมวัยที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้สถิติร้อยละ (%)
          ผลการวิจัยพบว่า 1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีทั้งหมด 5 ชุดกิจกรรม ได้แก่ 1) นักจดจำ 2) นักยับยั้ง 3) นักคิด 4) นักควบคุม และ 5) นักวางแผน แต่ละชุดกิจกรรมประกอบด้วย 1) ชื่อกิจกรรม 2) คำชี้แจง 3) จุดประสงค์การเรียนรู้ 4) กิจกรรมการเรียนรู้ และ 5) แบบประเมินความพึงพอใจ มีประสิทธิภาพ 82.30/82.38 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่กำหนดไว้ 2. ผลการเรียนรู้พบว่า หลังการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้มีคะแนนสูงกว่าก่อนการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ และ 3. ผลการจัดลำดับความพึงพอใจของเด็กปฐมวัยที่มีต่อชุดกิจกรรม การเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน พบว่า กิจกรรม/เกมที่ได้รับความพึงพอใจเป็นลำดับที่ 1 ของแต่ละชุดกิจกรรม ได้แก่ Chicken Cha Cha Cha, Zingo, Space V.1, Falling Monkeys Game และ Fold-it

Article Details

How to Cite
ถนอมชาติ ว. ., ศิริสุนทรไพบูลย์ เ. ., & บุญพิมพ์ ญ. . (2024). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมการคิดเชิงบริหารสำหรับเด็กปฐมวัยในจังหวัดจันทบุรี. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 24(1), 44–56. https://doi.org/10.55164/jedutsu.v24i1.265385
บท
บทความวิจัย

References

กาญจนา บุญประคม และจิระพร ชะโน. (2562). การพัฒนาชุดกิจกรรมการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมการคิดเชิงบริหาร ด้านการกำกับตนเองของเด็กปฐมวัยที่มีภาวะเสี่ยงสมาธิสั้น. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัย มหาสารคาม, 25(1), 66-77.

ชนิพรรณ จาตเสถียร, กันตวรรณ มีสมสาร และอภิรดี ไชยกาล. (2560). การพัฒนาเด็กปฐมวัยอย่างเป็นองค์รวม. กรุงเทพฯ: พลัสเพรส.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). ประมวลสาระชุดวิชาพัฒนาหลักสูตรและสื่อการเรียนการสอนหน่วยที่ 14. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ฐิตพัฒน์ สตางค์จันทร์ และคนอื่น ๆ. (2560). การพัฒนากิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียน โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 10(3), 152-173.

ทิศนา แขมมณี. (2560). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 21). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นวลจันทร์ จุฑาภักดีกุล, ปนัดดา ธนเศรษฐกร และอรพินท์ เลิศอวัสดาตระกูล. (2560). การพัฒนาและหาค่าเกณฑ์ มาตรฐานเครื่องมือประเมินการคิดเชิงบริหารในเด็กปฐมวัย. นครปฐม: สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล.

ประหยัด จิระวรพงศ์. (2555). Game Baesd Learning. สืบค้น 10 ธันวาคม 2564, จาก wordpress.com/2013/ 12/30/game-baesd-learning/

สุธาวัลย์ หาญขจรสุข. (2563). การพัฒนาชุดเกมกระดานเพื่อส่งเสริมการคิดเชิงบริหารของเด็กปฐมวัย. วารสาร มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 15, 191-202.

สุภาวดี หาญเมธี. (2559). พัฒนาทักษะสมอง EF ด้วยกัน. กรุงเทพฯ: ไอดีออล ดิจิตอล พริ้นท์.

อุษณีย์ อนุรุทธ์วงศ์. (2555). การพัฒนาทักษะการคิดระดับสูง : Developing Higher Thinking Skills. นครปฐม: ไอ คิว บุ๊คเซ็นเตอร์.

Dawson, P. & Guare, R. (2014). Interventions to promote executive development in children and adolescents, In handbook of executive functioning, Springer, NY, 427-443.

Greenberg, M.T. (2006). Promoting resilience in children and youth : Preventive Interventions and their interface with neuroscience. Annal of the New York Academy of Science, 1094(1), 139-150.