ผลของการออกกำลังกายด้วยความหนักระดับสูงที่มีต่อการใช้พลังงานระบบแอโรบิกและแอนแอโรบิกในนักกีฬาบาสเกตบอล มหาวิทยาลัยทักษิณ

Main Article Content

ชวพงษ์ เมธีธรรมวัฒน์
ธีรพันธ์ สังข์แก้ว
นำโชค บัวดวง

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบผลของการออกกำลังกายด้วยความหนักระดับสูงที่มีต่อการใช้พลังงานระบบแอโรบิกและแอนแอโรบิกในนักกีฬาบาสเกตบอลมหาวิทยาลัยทักษิณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ครั้งนี้เป็นนักกีฬาบาสเกตบอลเพศหญิง จำนวน 12 คน มีอายุระหว่าง 19–22 ปี ซึ่งมีรายชื่อเป็นผู้เล่นในทีม บาสเกตบอลมหาวิทยาลัยทักษิณ เพื่อเตรียมทีมเข้าร่วมการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ทำการสุ่ม กลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Random Sampling) ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 12 คน โดยฝึกตามโปรแกรมการฝึกความเข้มข้นสูงแบบหนักสลับเบา (High Intensity Interval Training: HIIT) เป็นเวลา 8 สัปดาห์ๆ ละ 2 วัน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบทดสอบการวิ่งเพิ่มระยะความเร็ว (Multistage Fitness Test: MFT) และการทดสอบวิ่งเร็ว 35 เมตร 6 รอบ (Running Based Anaerobic Sprint Test: RAST) เพื่อใช้ประเมินระบบ พลังงานทั้ง 2 ระบบ คือระบบพลังงานแบบแอโรบิกและระบบพลังงานแบบแอนแอโรบิกตามตัวแปรที่เกี่ยวข้อง แล้วนำผลการทดสอบที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความ แตกต่างค่าเฉลี่ยของความสามารถสูงสุดในการใช้ออกซิเจน (VO2max), พลังอนากาศนิยม (Anaerobic Power), สมรรถภาพอนากาศนิยม (Anaerobic Capacity) และดัชนีความล้ำ (Fatigue Index) ก่อนและหลังการทดลอง สัปดาห์ที่ 8 โดยการทดสอบ Paired-Sample t-test กำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติไว้ที่ระดับ .05 
          ผลการวิจัยพบว่าหลังการฝึกครบ 8 สัปดาห์ การใช้พลังงานของระบบแอโรบิกด้านความสามารถสูงสุด ในการใช้ออกซิเจน (VO2max) เพิ่มขึ้นจาก 29.94 เป็น 40.77 มิลลิลิตรต่อกิโลกรัมต่อนาที (mL/kg/min) ส่วนการ ใช้พลังงานของระบบแอนแอโรบิก พบว่าพลังอนากาศนิยม (Anaerobic Power) เพิ่มขึ้นจาก 274 เป็น 283 วัตต์ (Watt), สมรรถภาพอนากาศนิยม (Anaerobic Capacity) เพิ่มขึ้นจาก 215 เป็น 240 วัตต์ (Watt) และดัชนีความล้ำ (Fatigue Index) มีค่าเฉลี่ยลดลงจากเดิม 2.47 เป็น 2.04 วัตต์ (Watt) ข้อมูลที่ได้จากการวิจัยในครั้งนี้สามารถ นำไปประยุกต์และพัฒนำโปรแกรมการฝึกที่เฉพาะเจาะจง เพื่อเพิ่มความสามารถในการใช้พลังงานทั้งระบบแอโรบิกและแอนแอโรบิกในนักกีฬาบาสเกตบอลของมหาวิทยาลัยทักษิณต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Allen, W. K.; Seals, D. R.; Hurley, B. F.; Ehsani, A. A,; and Hagberg, J. M. (1985). Lactate threshold and distance running performance in young and older endurance athletes. Journal of Applied Physiology, 58 : 1281-1284

American College of Sports Medicine. (2006). Guidelines for Exercise Testing and Prescription. 4th ed. Philadelphia: Lea & Febiger.

Chaipatpreecha, N. (2010). Effect of proprioceptive training on agility and balance in soccer players. Journal of sports science and health, 11(2), 54-64.

Covadonga, M.-P., Manuel, G.-M. J., José, M.-P. M., & Teresa, V.-E. (2019). Analysis of effectiveness of free segment actions and antero-posterior and lateral body displacements during the take-off phase of high jump (flop style). International Journal of Performance Analysis in Sport, 19(1), 14-27

Crisafulli, A., Melis, F., Tocco, F., Laconi, P., Lai, C., & Concu, A. (2002). External mechnical work versus oxidative energy consumption ratio during a basketball field test. The Journal of Sport Medicine and Physical Fitness, 42(4), 409-417.

Hoffman, J. R. (2003). Physiology of basketball. Oxford: Blackwell Science, 12-24

Kamutsri T., Treeraj A., Sriwilai C.,Nabsanit, J. (2015). The Physical Fitness Norms of Thai University Athletes. J Sports Sci Technol. 2015;15(2):145-58.

Kornecki S, Lenart I, & Siemieński A. (2002). Dynamical analysis of basketball jump shot. Biol Sport, 19.

McInnes, S. E., Carlson, J.S., Jones, C. J., & McKenna, M. J. (1995). The physiological load imposed on basketball players during competition. Journal of Sport Science, 13(5), 387-397

Muongmee, P. (1984). Foundation of exercise and sport physiology. Bangkok. Burapha Publishers.

Peter, R.; and Jenssen, J.M. (1992). Training lactate pulse rate. Finland: Oy Litto

Robergs, R. A.; and Roberts, S (1997). Exercise physiology: exercise, performance and clinical applications. St Louis, MO: Mosby.

Seyoung, K., Sukyung, P., & Sangkyu, C. (2014). Countermovement strategy changes with vertical jump height to accommodate feasible force constraints. Journal of Biomechanics, 47(12), 3162-3168.

เจริญ กระบวนรัตน์. (2557). วิทยาศาสตร์การฝึกสอนกีฬา. กรุงเทพฯบริษัท สินธนาก๊อปปี้ เซ็นเตอร์ จำกัด.

เจริญ กระบวนรัตน์. (2540). เทคนิคการฝึกความเร็ว = Speed training. กรุงเทพฯ: ภาควิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ชินณรงค์ ชูไกรไทย. (2563). ผลการฝึกความมั่นคงหลักของร่างกายและเทคนิคการยิงประตูที่มีต่อความแม่นยำในการกระโดดยิงประตูระยะกลางของนักกีฬาบาสเกตบอลชาย. การศึกษามหาบัณฑิต. สาขาวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา. คณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ถาวร กมุทศรี. (2560). การเสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย. กรุงเทพฯ หจก. มีเดีย เพรส.

ภาคภูมิ โชคทวีพาณิชย์. (2548). ผลของอุณหภูมิเย็นที่มีต่อเวลาฟื้นตัวของอัตราการเต้นของหัวใจและระดับกรดแลคติกในเลือดภายหลังการออกกำลังกาย. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

สนธยา สีละมาด. (2547). หลักการฝึกกีฬาสำหรับผู้ฝึกสอนกีฬา. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สนธยา สีละมาด. (2560). หลักการฝึกกีฬาสำหรับผู้ฝึกสอนกีฬา (พิมพ์ครั้งที่5). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อภิรมย์ จามพฤกษ์. (2560). ผลของการฝึกอินเทอร์วาลแบบแอนแอโรบิก แบบแอโรบิก และแบบผสมผสานที่มีต่อตัวแปรเชิงแอนแอโรบิก แอโรบิก และความสามารถในการวิ่งระยะทาง 400 เมตร. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและกีฬา. มหาวิทยาลัยบูรพา.

อรวรีย์ อิงคเตชะ. (2559). ความสัมพันธ์ของโมเมนตัมของรยางค์ขาขณะก้าวขาเลย์อัพในนักกีฬาระดับมหาวิทยาลัย. การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ครั้งที่13 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน. Retrieved from https://www.researchgate.net/publication/311386601