ผลของการฝึกโปรแกรมคีตะมวยไทย ที่มีผลต่อสมรรถภาพทางกาย ในเด็กบกพร่องทางสติปัญญาที่มีค่าดัชนีมวลกายเกินมาตรฐาน โรงเรียนศึกษาพิเศษเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ จ.ยะลา

Main Article Content

ระวิวรรณ แซ่หลี
กิตติภัฏ หลงละเลิง
สุภาวดี จอดนาค

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาโปรแกรมคีตะมวยไทย และ 2) เพื่อศึกษาผลของการฝึกโปรแกรมคีตะมวยไทย ที่มีต่อสมรรถภาพทางกายในเด็กบกพร่องทางสติปัญญาที่มีค่าดัชนีมวลกายเกินมาตรฐาน โรงเรียนศึกษาพิเศษเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ จ.ยะลา กลุ่มเป้าหมาย คือ เด็กบกพร่องทางสติปัญญาที่มีค่าดัชนีมวลกายเกินมาตรฐาน อายุ 7-12 ปี กำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนศึกษาพิเศษเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ จ.ยะลา จำนวน 6 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ขั้นตอนการดำเนินการวิจัยจะมีการทดสอบสมรรถภาพทางกาย 2 ครั้ง คือ ก่อนและหลังการทดลอง โดยทำการฝึกด้วยโปรแกรมคีตะมวยไทย 35 นาที 3 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 8 สัปดาห์ วัดระดับการออกแรงรับรู้ของร่างกาย (RPE) สัปดาห์ที่ 1-4 (RPE 9-12) สัปดาห์ที่ 5-8 (RPE 13-16) การวิเคราะห์ข้อมูลจะใช้การหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติ Dependent t-test เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของสมรรถภาพทางกายก่อนและหลังการฝึก
          ผลการวิจัยพบว่า โปรแกรมคีตะมวยไทยมีค่า IOC ตั้งแต่ 0.6 -1.00 นอกจากนี้พบว่าหลังการฝึกด้วยโปรแกรมคีตะมวยไทย กลุ่มเป้าหมายมีสมรรถภาพทางกายด้านองค์ประกอบของร่างกาย ความอ่อนตัวและความทนทานของระบบหัวใจและไหลเวียนเลือดดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อย่างไรก็ตามพบว่าความแข็งแรงและความอดทนของกล้ามเนื้อไม่มีความแตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิตติพงษ์ พิพิธกุล. (2561). คุณภาพเครื่องมือแบบสอบถาม : Validity กับ Reliability ในการวิจัยทางรัฐ ประศาสนศาสตร์. วารสารวิชาการและการวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 104-106.

กุลยา ก่อสุวรรณ. (2553). ภาวะบกพร่องทางสติปัญญา (Intellectual Disabilities). กรุงเทพมหานคร: บริษัท สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสชิ่ง จำกัด.

เจริญ กระบวนรัตน์. (2557). วิทยาศาสตร์การฝึกสอนกีฬา : Science of Coaching. กรุงเทพมหานคร : สินธนาก๊อปปี๊ เซ็นเตอร์ จำกัด.

------------------------. (2548). การฝึกความแข็งแรงกล้ามเนื้อ. กรงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ชิดชนก ศรีราช, มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี, ไทย. วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ปีที่ 15 ฉบับที่ 3 (2564): กรกฎาคม-กันยายน 2564

ทรงศักดิ์ ภูสีอ่อน. (2558). การประยุกต์ใช้ SPSS วิเคราะห์ข้อมูลงานวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 7. มหาสารคาม : ตักสิลา การพิมพ์.

ประกาศกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เรื่อง ประเภทและหลักเกณฑ์ความพิการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2555. (9 กรกฎาคม 2555). ใน: ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 129 (ตอนพิเศษ 119 ง); หน้า 22-3.

ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง กำหนดประเภทและหลักเกณฑ์ของคนพิการทางการศึกษา พ.ศ.2552. (6 พฤษภาคม 2552). ใน: ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 126 (ตอนพิเศษ 80 ง); 45-47.

พระราชบัญญัติ การจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ.2551. (5 กุมภาพันธ์ 2551). ใน: ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 125 (ตอนที่ 28 ก). หน้า 1-12.

พระราชบัญญัติ ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550. (27 กันยายน 2550). ใน: ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 124 (ตอนที่ 61 ก); หน้า 8-24.

ภัทริศวร์ ดําเสน. (2552). ผลการฝึกยืดเหยียดกล้ามเนื้อ แบบกระตุ้นการรับรู้ของระบบประสาท. กล้ามเนื้อและการฝึกยืดเหยียดกล้ามเนื้อจากแรงภายนอกทีมีต่อความอ่อนตัว.วารสารคณะพลศึกษา (มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ) 13, 1 (ม.ค.-มิ.ย. 2553)

ภาพพิมพ์ พรหมวงศ์, ชาญชัย ขันติศิริ และ สมบัติ อ่อนศิริ. (2560). ผลของการออกกำลังกายแบบแอโรบิกเพื่อลดเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายของนักเรียนหญิงอายุ 13 ปี โรงเรียนคำเตยอุปถัมภ์ จังหวัดนครพนม. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 32(1), 108-116.

Allen NA. (2004). Social cognitive theory in diabetes exercise research: an integrative literature review. Diabetes Educ, 30, 805-819.

American Psychiatric Association. (2013). Neurodevelopmental Disorders. In: American Psychiatric Association. Diagnostic and statistical manual of mental disorders 5th ed. (DSM-5). Washington DC: American Psychiatric Publishing; pp. 31-86.

Ayotte B.J., Margrett J.A., Hicks-Patrick J. (2010). Physical activity in middle-aged and young-old adults: the roles of self-efficacy, barriers, outcome expectancies, self-regulatory behaviors and social support. J Health Psychol; 15:173-185.

Armando Cocca, Francisco Espino Verdugo, Luis Tomás Ródenas Cuenca and DuPlessis, E.A.. Araujo, E.A.. Behrents, R.G., Kim, K.B. (2016). Relationship between body mass and dental and skeletal development in children and adolescents. Am. J. Orthod. Dentofac. Orthop, 150, 268–273.

Biddle S.J., and Mutrie N. (2007). Psychology of physical activity: determinants, well- being, and interventions. London: Routledge.

Calders P., Elmahgoub S., Roman de Mettelinge T., Vandenbroeck C., Dewandele I., Rombaut L., Vandevelde A. and Cambier D. (2011). Effect of combined exercise training on physical and metabolic fitness in adults with intellectual disability: a controlled trial. Clin Rehabil, 25, 1097-1108.

Collins K. and Staples K. (2017). The role of physical activity in improving physical fitness in children with intellectual and developmental disabilities. Res. Dev. Disabil, 69, 49–60.

Einfeld S. and Emerson E. (2008). Intellectual Disability. In: Rutter M, Bishop D, Pine D, Scott S, Stevenson J, Taylor E, Thapar A, eds. Rutter’s Child and Adolescent Psychiatry 5th ed. Singapore: Fabulous Printer Pte. Ltd; pp. 826-7.

Griban G., Porntenko K., Yavorska T., Bezpaily S., Bublei T., Marushchak,M., Pustoliakova L., Andreychuk V., Tkachenko P., Zhukovsky Y., et al. (2019). Non-traditional means of physical training in middle school physical education classes. Int. J. Appl. Exerc. Physiol, 8, 221–229.

Jeng, S.C., Chang, C.W., Liu,W.Y., Hou, Y.J., Lin, Y.H. (2017). Exercise training on skill-related physical fitness in adolescents with intellectual disability: A systematic review and meta-analysis. Disabil. Health J., 10, 198–206.

Jo G., Rossow-Kimball B. and Lee Y. (2018). Effects of 12-week combined exercise program on self-efficacy, physical activity level, and health related physical fitness of adults with intellectual disability. Journal of Exercise Rehabilitation; 14(2):175-182.

Kamadjeu, R.M., Edwards, R., Atanga, J.S., Kiawi, E.C., Unwin, N., Mbanya, J.C. (2006). Anthropometry measures and prevalence of obesity in the urban adult population of Cameroon: An update from the Cameroon Burden of Diabetes Baseline Survey. BMC Public Health, 6, 228-237.

Kaewthummanukul T., Brown K.C. (2006). Determinants of employee participation in physical activity: critical review of the literature. AAOHN J; 54:249-261.

Kong Z. et. al (2019). Tai Chi as an Alternative Exercise to Improve Physical Fitness for Children and Adolescents with Intellectual Disability. Int. J. Environ. Res. Public Health, 16, 1152, 1-12.

Kwon, D., Mucci, D., Langlais, K.K., Americo, J.L., Devido, S.K., Cheng, Y., Kassis, J.A. (2009). Enhancer-promoter communication at the Drosophila engrailed locus. Development 136(18): 3067--3075.

McAuley E. (1992). The role of efficacy cognitions in the prediction of exercise behavior in middle-aged adults. J Behav Med; 15:65-88.

Ozmen, T., Ryildirim, N.U., Yuktasir, B., Beets, M.W. (2007). Effects of school-based cardiovascular-fitness training in children with mental retardation. Pediatr. Exerc. Sci., 19, 171–178.

Peterson J.J., Lowe J.B., Peterson N.A., Nothwehr F.K., Janz K.F., Lobas J.G. (2008). Paths to leisure physical activity among adults with intellectual disabilities: self-efficacy and social support. Am J Health Promot; 23: 35-42.

Rimmer J.H., Riley B., Wang E., Rauworth A., Jurkowski J. (2004). Physical activity participation among persons with disabilities: Barriers and facilitators. Am. J. Prev. Med, 26, 419–425.

Seeramad, S. (2014). Physical Activity for Good Health. Bangkok: Chulalongkorn University Printing House. [in Thai]

Shin I.S. and Park E.Y. (2012). Meta-analysis of the effect of exercise programs for individuals with intellectual disabilities. Res. Dev. Disabil., 33, 1937–1947.

Song K.Y. and Jeong Y.T. (2011). Effects of combined exercise on self-esteem and physical self-efficacy in the intellectual disability with Down syndrome. Spec Educ Res, 10, 177-195.

Volkmar F.R., Dykens E.M. and Hodapp R.M. (2004). Mental Retardation. In: Martin A, Volkmar FR, Lewis M, eds. Lewis’s Child and Adolescent Psychiatry: A Comprehensive textbook 4th ed. Baltimore: Lippincott William & Wilkins; pp. 401-10.

Ulrich D.A., Burghardt A.R., Lloyd M., Tiernan C., Hornyak J.E. (2011). Physical activity benefits of learning to ride a two-wheel bicycle for children with Down syndrome: a randomized trial. Phys Ther, 91:1463-1477.

Wu C.L., Lin J.D., Hu J., Yen C.F., Yen C.T., Chou Y.L. and Wu P.H. (2010). The effectiveness of healthy physical fitness programs on people with intellectual disabilities living in a disability institution: six-month short-term effect. Res Dev Disabil, 31ม 713-717.

Yaowapong, P. (2011). The Effects of Aerobic Exercise Program influences to Overweight of Grade SIX Primary Girl Students of Pramochwittayaramintra School. Bangkok: Master Degree Thesis of Physical Education, Kasetsart University. [in Thai]