ผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความสามารถในการสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์ เรื่อง เซลล์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนจะนะชนูปถัมภ์ จังหวัดสงขลา

Main Article Content

อทิยา ลิขิตจรรยารักษ์
ดวงเดือน สุวรรณจินดา
จุฬารัตน์ ธรรมประทีป

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เซลล์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ระหว่างก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น และ (2) ศึกษาความสามารถในการสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์ เรื่อง เซลล์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ระหว่างก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนจะนะชนูปถัมภ์ จังหวัดสงขลา จำนวน 20 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ (1) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เซลล์ และ (2) แบบวัดความสามารถในการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง เซลล์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบเครื่องหมาย             
         ผลการวิจัยพบว่า (1) นักเรียนที่เรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (2) นักเรียนที่เรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น มีความสามารถในการสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยระดับความสามารถในการสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์หลังเรียนจัดอยู่ในระดับดี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรกนก เลิศเดชาภัทร, และปริณดา ลิมปานนท์ พรหมรัตน์. (2561). ผลของการสืบเสาะแบบร่วมมือรวมพลังที่มีต่อความสามารถในการสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น. Journal of Education Studies, 46(2), 1-20.

เขมรัฐ จุฑานฤปกิจ, เอกภูมิ จันทรขันตี, และสุรศักดิ์ เชียงกา. (2561, สิงหาคม). การจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์แบบ 5 ขั้น เพื่อพัฒนาการสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์ ในวิชาฟิสิกส์ เรื่อง การเคลื่อนที่แบบวงกลม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. ใน วรรณี ศุขสาตร (บ.ก.). Rangsit Graduate Research Conference: RGRC (1741-1753). ปทุมธานี: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต

จุฬารัตน์ ธรรมประทีป. (2561). การรู้วิทยาศาสตร์. ใน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช บัณฑิตศึกษา สาขาวิชาศึกษาศาสตร์, ประมวลสาระชุดวิชาสารัตถะ วิทยวิธีและธรรมชาติของวิทยาศาสตร์. หน่วยที่ 4 (พิมพ์ครั้งที่ 6, 4-10). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ฉลองวุฒิ จันทร์หอม, และสมเกียรติ พรพิสุทธิมาศ. (2563). การส่งเสริมความสามารถในการสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์ของผู้เรียนด้วยการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้. STOU Education Journal, 12(1), 40-54.

ธนัทพงษ์ วังทะพันธ์, ชลทิพย์ จันทร์จําปา, และวนิดา วอนสวัสดิ์. (2561, พฤศจิกายน). การศึกษาลิพิดและโปรตีนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้(5E) เพื่อพัฒนาทักษะการสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์. ใน ดวงสมร รุ่งสวรรค์โพธิ์ (บ.ก.). รายงานการประชุม Graduate School Conference (346-353). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

นวลจิตต์ เชาวกีรติพงศ์. (2562). การส่งเสริมความสามารถในการสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์ของผู้เรียนด้วยการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ., 12(1), 40-54.

ภัทรสุดา หาดขุนทด, นวลจิตต์ เชาวกีรติพงศ์, และดวงเดือน สุวรรณจินดา. (2563). ผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น โดยเน้นการสร้างคําอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่อง ลมฟ้าอากาศและการสร้างคําอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนนวมิน ทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย ปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 35(1), 35 – 47.

มิ่งมุก สุทธิกิตติพงศ์. (2562). การพัฒนาความสามารถในการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง สมบัติของสารของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 4 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะเป็นฐาน (5E). (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรังสิต, กรุงเทพฯ.

ลือชา ลดาชาติ, กมลรัตน์ ฉิมพาลี, ณิชัชฌา อาโยวงษ์, นพคุณ แงวกุดเรือ, สำเร็จ สระขาว, ชื่นหทัย หวังเอียด, และจุฬารัตน์ ธรรมประทีป. (2558). การลงข้อสรุปและสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย, 35(1), 171-206.

ศศิกานต์ นิ่มดำ. (2561). ผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการใช้เทคนิคการเขียนทางวิทยาศาสตร์ (SWH) เรื่อง อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และความสามารถในการสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสหวิทยาเขตชุมพร 2 จังหวัดชุมพร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2565). ค่าสถิติพื้นฐานระดับประเทศ ของผลการทดสอบ O-NET ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. สืบค้น 9 กรกฎาคม 2565, จาก https://catalog.niets.or.th/dataset/it-16-19

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2545). รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนากระบวนการคิดระดับสูง วิชาชีววิทยา ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. สืบค้น 10 พฤษภาคม 2565, จาก http://biology.ipst.ac.th/?p=688

สันติชัย อนุวรชัย. (2553). ผลของการเรียนการสอนชีววิทยาด้วยรูปแบบการเรียนการสอนสืบเสาะร่วมกับกลวิธีการโต้แย้งที่มีต่อความสามารถในการสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์และความมีเหตุผลของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

_____________. (2557). การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ด้วยการสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ., 7(2), 1 - 14.

สุทธิดา จำรัส. (2561). การจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ 1. ใน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช บัณฑิตศึกษา สาขาวิชาศึกษาศาสตร์, ประมวลสาระชุดวิชาสารัตถะ วิทยวิธีและธรรมชาติของวิทยาศาสตร์. หน่วยที่ 8 (พิมพ์ครั้งที่ 6, 5-7). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Ahmad, N., Shaheen, N., & Gohar, S. (2018). 5E Instructional Model: Enhancing Students Academic Achievement in the Subject of General Science at Primary Level. Sir Syed Journal of Education & Social Research, 1(1), 91-100.

Beyer, C. J., & Davis, E. A. (2008). Fostering Second Graders' Scientific Explanations: A Beginning Elementary Teacher's Knowledge, Beliefs, and Practice. The Journal of the Learning Sciences, 17, 381-414.

McNeill, K. L., Lizotte, D. J., Krajcik, J., & Marx, R. W. (2006). Supporting students' construction of scientific explanations by fading scaffolds in instructional materials. The Journal of the Learning Sciences, 15(2), 153 - 191.

McNeill, K. L., & Krajcik, J. (2008). Scientific explanations: Characterizing and evaluating the effects of teachers' instructional practices on student learning. Journal of Research in Science Teaching, 45(1), 53-78.

National Research Council. (1996). National Science Education Standards. Retrieved from https://nap.nationalacademies.org/read/4962/chapter/2#1

OECD. (2014). PISA 2012 Results in Focus What 15-year-olds know and what they can do with what they know. Retrieved from https://www.oecd.org/pisa/keyfindings/pisa-2012-results-overview.pdf

_____. (2018). PISA 2015 Results EXCELLENCE AND EQUITY IN EDUCATION. Retrieved from https://www.oecd-ilibrary.org/education/pisa-2015-results-volume-i_9789264266490-en

_____. (2019). PISA 2018 Insight and Interpretations. Retrieved from https://www.oecd.org/pisa/PISA%202018%20Insights%20and%20Interpretations%20FINAL%20PDF.pdf