การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิคจิ๊กซอว์ เรื่อง การบัญชี พาณิชยกรรม สำหรับนักศึกษา ชั้นปีที่ 1 สาขาการตลาด คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้วิชาหลักการบัญชี เรื่อง การบัญชีของธุรกิจพาณิชยกรรม โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือ เทคนิคจิ๊กซอว์ ของนักศึกษา สาขาการตลาด ชั้นปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) หาค่าดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยร่วมมือ เทคนิคจิ๊กซอว์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาสาขาการตลาด ชั้นปีที่ 2 คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ (1) แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือ เทคนิคจิ๊กซอว์ วิชาหลักการบัญชี เรื่อง การบัญชีของธุรกิจพาณิชยกรรม จำนวน 1 แผน (2) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 20 ข้อ เป็นแบบปรนัยเลือกตอบ 4 ตัวเลือก (3) แบบทดสอบย่อย จำนวน 1 ข้อ เป็นแบบอัตนัย (4) แบบประเมินพฤติกรรมกลุ่ม และ (5) แบบวัดความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือ เทคนิคจิ๊กซอว์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) แผนการจัดการเรียนรู้วิชาหลักการบัญชี เรื่อง การบัญชีของธุรกิจพาณิชยกรรม โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือ เทคนิคจิ๊กซอว์ มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 82.83/80.17 2) ดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้ มีค่าเท่ากับ 0.63 แสดงว่านักศึกษามีความก้าวหน้าในการเรียนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 63 และ 3) นักศึกษาสาขาการตลาด ชั้นปีที่ 2 คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิคจิ๊กซอว์ วิชาหลักการบัญชี เรื่อง การบัญชีของธุรกิจพาณิชยกรรม โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ในกรณีที่กองบรรณาธิการ หรือผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งได้รับเชิญให้เป็นผู้ตรวจบทความวิจัย หรือ บทความทางวิชาการมีความเห็นว่าควรแก้ไขความบกพร่อง ทางกองบรรณาธิการจะส่งต้นฉบับให้ ผู้เขียนพิจารณาจัดการแก้ไขให้เหมาะสมก่อนที่จะลงพิมพ์ ทั้งนี้ กองบรรณาธิการจะยึดถือความคิด เห็นของผู้เชี่ยวชาญเป็นเกณฑ์
References
บรรณานุกรม
กัญญารัตน์ นามสว่าง ศรณย์ ภิบาลชนม์ และสิศิริ สงห์ลพ. (2564). ผลการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคจิ๊กซอว์ ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์, 8(1), 100-113.
จิตราภรณ์ ทาเคลือบ และสาวิตรี เถาว์โท. (2563). การพัฒนาทักษะการทำงานเป็นทีมและผลสัมฤทธิ์ทาง
การเรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบจิ๊กซอว์ เรื่อง พัฒนาการของอาณาจักรอยุธยา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์, 15(3), 39-51.
ธิดารัตน์ ลุนาบุตร และปิยลักษณ์ โพธิวรรณ. (2564). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิคจิ๊ก ซอว์ เรื่อง การเงินและการคลัง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ มหาสารคาม, 18(3), 33-45.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
ปรัศนียพร ภูมิสุวรรณ ดรุนณภา นาชัยฤทธิ์ และชัยวัฒน์ สุภัควรกุล. (2564). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ แบบร่วมมือเทคนิคจิ๊กซอว์ เรื่องคำศัพท์ภาษาอังกฤษในวิชาชีพของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตร วิชาชีพชั้นสูง. วารสาร มจร อุบลปริทรรน์, 6(1), 303-316.
พระบุญเพ็ง สิทธิวงษา สงกรานต์ จันทะปัสสา และนงลักษณ์ พิมพ์ศรี. (2561). การพัฒนาชุดกิจกรรมการ เรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคจิ๊กซอว์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 5. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 8(3), 42-53.
พัชราภรณ์ ชินพรมราช และกรองทิพย์ นาควิเชตร. (2562). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการ เรียนรู้ ทุกชีวิตปลอดภัย จากการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ ของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารราชธานีนวัตกรรมทางสังคมศึกษา, 13(1), 37-45.
ภควดี สุดสงวน และ วราภรณ์ สุดสงวน. (2563). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์และสถิติในชีวิตประจำวัน เรื่อง ความน่าจะเป็นเบื้องต้นโดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วย เทคนิคจิ๊กซอว์. วารสารครุพิบูล, 7(1), 145-156.
ล้วน สายยศ และอังณา สายยศ. (2553). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ : สุวีรยา สาส์น
วรรณภา กอกกระโทก ฐาปนี สีเฉลียว และรัฐกรณ์ คิดการ. (2557). การเปรียบเทียบผลการเรียนและเจตคติต่อ วิชาภาษาอังกฤษโดยใช้โปรแกรมบทเรียนกับการเรียนแบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ 2 วิชา ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 37(2), 121-130.
วริศรา วิทยาลัย. (2562). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิชาประวัติศาสตร์ เรื่อง พัฒนาการของอาณาจักร อยุธยา โดยเทคนิคจิ๊กซอว์ร่วมกับสื่อประสมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารปัญญา, 26(1), 28-41.
ศิริชัย พงษ์วิชัย. (2552). การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยคอมพิวเตอร์. (พิมพ์ครั้งที่ 20). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิรินภา น้อยสว่าง. (2563). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคจิ๊กซอว์ เรื่อง วันสำคัญทาง พระพุทธศาสนา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ มหาสารคาม, 17(1), 257-264.
ศิริลักษณ์ สุระขันธ์ ประภัสสร ปรีเอี่ยม และประสพสุข ฤทธิเดช. (2565). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบ ร่วมมือเทคนิคจิ๊กซอว์ สาระเศรษฐศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารสหวิทยาการวิจัยและวิชาการ, 2(4), 287-300.
สมนึก ภัททิยธนี. (2558). การวัดผลการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กาฬสินธุ์ : ประสานการพิมพ์.
สมบัติ ท้ายเรือคำ. (2555). ระเบียบวิธีวิจัยสำหรับมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์. มหาสารคาม : โรงพิมพ์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สันติ กระแจะจันทร์. (2562). กลยุทธ์การพัฒนานวัตกรรมความได้เปรียบเชิงแข่งขันทางธุรกิจสู่ประเทศไทย 4.0. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี, 10(2), 83-94.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติฉบับที่สิบสอง พ.ศ.2560-2564. สืบค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2565, เข้าถึงได้จาก https://www.nesdc.go.th/ewt_news.php?nid=7240
สุมาลี จันทร์ชลอ. (2542). การวัดและประเมินผล. กรุงเทพฯ : พิมพ์ดี.
สุวกุล นาคสุขมูล และทรงภพ ขุนมธุรส. (2564). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดีไทย เรื่อง สามัคคีเภทคำ ฉันท์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยการใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ ด้วยเทคนิคจิ๊ก ซอว์. วารสารอักษราพิบูล, 2(1), 29-46.
อัญญปารย์ ศิลปนิลมาย์. (2558). การเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้จิ๊กซอว์ ในรายวิชาหลักการพื้นฐาน สำหรับการ พัฒนาซอฟต์แวร์ สาขาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์. วารสารวิชาการแพรวา กาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์, ฉบับพิเศษ, 60-70.
อัมพวรรณ เมฆฉาย ทิพวัลย์ คำคง และสุเทพ อ่อนไสว. (2559). การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้วิชาบัญชี เบื้องต้น 2 เรื่องการซื้อขายสินค้าบันทึกรายการในสมุดรายวันทั่วไป กรณีมีและไม่มีภาษีมูลค่าเพิ่มชั้น ประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 1 โดยใช้วิธีสอนแบบแก้ไขปัญหากับวิธีสอนปกติ. วารสารราชพฤกษ์, 14(1), 84-90.
ฮารตีนี เจ๊ะหมิง ซัมซู สาอุ และอุไรรัตน์ ยามาเร็ง. (2562). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สาระการ เรียนรู้อัตตารีค (ศาสนประวัติ) เรื่อง เคาะลีฟะฮ์ทั้งสี่ โดยการใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคจิ๊กซอว์ สำหรับนักเรียนชั้นอิสลามศึกษาตอนต้น (ฮบตีดาอียะห์) ปีที่ 6. วารสารอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์, 7(1), 44-59.