ความคาดหวังของผู้ปกครองที่มีต่อภาวะการนำของผู้บริหารสถานศึกษา ในสถานศึกษาขนาดเล็กจังหวัดปทุมธานีและจังหวัดสระแก้ว

Main Article Content

จุรีรัตน์ หนองหว้า
ปวริศา เลิศวิริยะประสิทธิ์

บทคัดย่อ

       การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความคาดหวังของผู้ปกครองที่มีต่อภาวะการนำของผู้บริหารสถานศึกษาในสถานศึกษาขนาดเล็กจังหวัดปทุมธานีและจังหวัดสระแก้ว และ 2) เปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ปกครองที่มีต่อภาวะการนำของผู้บริหารสถานศึกษาในสถานศึกษาขนาดเล็กจังหวัดปทุมธานีและจังหวัดสระแก้ว กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้ปกครองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายในสถานศึกษา ขนาดเล็กจังหวัดปทุมธานีและจังหวัดสระแก้ว จำนวน 400 คน โดยการหาขนาดกลุ่มตัวอย่างจากการเปิดตารางของ Krejcie & Morgan เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ทำการทดสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาและความเชื่อมั่น สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การเปรียบเทียบความแตกต่างโดยทดสอบค่า t-test และ F-test หรือ one-way Anova
       ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่าง 400 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 65.75 อายุ 41 – 50 ปี ร้อยละ 50.50 การศึกษาระดับมัธยมศึกษา / หรือเทียบเท่า ร้อยละ 48.50 ความสัมพันธ์กับนักเรียนเป็นบิดา / มารดา ร้อยละ 85.75 และเป็นผู้ปกครองอาศัยอยู่ในจังหวัดสระแก้ว ร้อยละ 85.25 ความคาดหวังของผู้ปกครองที่มีต่อภาวะการนำของผู้บริหารสถานศึกษาในสถานศึกษาขนาดเล็กจังหวัดปทุมธานีและจังหวัดสระแก้ว โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X}= 3.61) โดยด้านการชี้นำ อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X} = 3.63) รองลงมาคือ ด้านการสร้างความสอดคล้องไปในทางเดียวกัน อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X} = 3.61) และด้านการเป็นแบบอย่างที่ดี อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X} = 3.60, S.D. = 1.24) ตามลำดับ ส่วนการเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ปกครองที่มีต่อภาวะการนำของผู้บริหารสถานศึกษาในสถานศึกษาขนาดเล็ก พบว่า อายุ ระดับการศึกษา ความสัมพันธ์ของผู้ปกครองกับนักเรียน และจังหวัดที่ผู้ปกครองอาศัยอยู่ ต่างกัน ผู้ปกครองมีความคาดหวังต่อภาวะการนำของผู้บริหารสถานศึกษา ในสถานศึกษาขนาดเล็ก แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

How to Cite
หนองหว้า จ. ., & เลิศวิริยะประสิทธิ์ ป. . (2024). ความคาดหวังของผู้ปกครองที่มีต่อภาวะการนำของผู้บริหารสถานศึกษา ในสถานศึกษาขนาดเล็กจังหวัดปทุมธานีและจังหวัดสระแก้ว. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 24(1), 152–168. https://doi.org/10.55164/jedutsu.v24i1.261699
บท
บทความวิจัย

References

กรรณิการ์ ทองใบ และประเสริฐ อินทร์รักษ์. (2564). บทบาทผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับการทำงานเป็นทีมของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(1), 312-328.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2566). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. สืบค้นเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://www.moe.go.th/.

ครูบ้านนอก.คอม. (2565). จะยุบโรงเรียนขนาดเล็กอีกกี่แห่ง ? : รองศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ นพรัก. สืบค้นเมื่อ 16 ธันวาคม 2565, จาก https://www.kroobannok.com/90292.

จรรยา โต๊ะตาเหยะ, อโนทัย ประสาน และชัยรัตน์ ศิริพัธนะ. (2561). คุณธรรม จริยธรรม ของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ในจังหวัดนครศรีธรรมราชตามความคิดเห็นของครู. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 18(1): 108-115.

จารุสิริ ทองเกตุแก้ว. (2562). ภาวะผู้นำและบรรยากาศสถานศึกษาตามทัศนะของผู้บริหารสถานศึกษาและครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี. วารสารลวะศรีวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี, 3(1): 63-80.

จิตรลดา ศิลารัตน์ และชนะชัย อวนวัง. (2565). ความคาดหวังของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการบริหารงานวิชาการโรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์. 6(1), 1-13.

ณัชชา เรียงสา. (2561). ความคาดหวังของผู้ปกครองที่มีต่อการบริหารโรงเรียนวัดทำเลทอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2. สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ, กรุงเทพฯ.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2555). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. (พิมพ์ครั้งที่ 13). นนทบุรี: เอส. อาร์. พริ้นติ้ง แมสโปรดัดส์.

พิสมร อุปลา, อรุณ จุติผล และสำเริง จันชุม. (2560). ความคาดหวังของผู้ปกครองต่อการบริหารตามมาตรฐานการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตอำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์. 9(1), 65-74.

พรทิพย์ อัยยิมาพันธ์. (2547). Leadership for Organizational Effectiveness. วารสารการบริหารคน, 3(24), 65-68.

วิรัตน์ ผดุงชีพ, สิน งามประโคน และพระมหาญาณวัฒน์ ฐิตวฑฺฒโน. (2564). การพัฒนาคุณลักษณะภาวะผู้นำเชิงพุทธของผู้บริหารโรงเรียนวิถีพุทธในประเทศไทย. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 8(1): 286-296.

สุธิกานต์ บริเอก และคณะ. (2565). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของครูผู้สอนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ, 10(38), 82-92.

สุพิชชา ยังมีมาก. (2565). ความคาดหวังของผู้ปกครองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีต่อการบริหารโรงเรียนบ้านหนองตาแต้ม (ราชประชานุกูล) สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลหนองตาแต้ม อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี. 10(1), 67-79.

สุดารัตน์ พงษ์ทวี. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาในเครือข่ายท่าแซะ 2 จังหวัดชุมพร. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี, 8(3), 26-39.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี. (2564). ข้อมูลพื้นฐาน. สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2565, จาก https://sites.google.com/a/ssps4.go.th/ssps4main/profile/oc.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสระแก้ว. (2564). ข้อมูลพื้นฐาน. สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2565, จาก https://spm-sk.go.th/.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2564). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2565). รมว.ศธ.ตอบกระทู้ถาม “การควบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก และการจัดสรรงบประมาณด้านบุคลากรทางการศึกษา. สืบค้นเมื่อ 9 มกราคม 2566, จาก https://ops.moe.go.th/360small-school-merger/.

อโนชา ทนกล้า และปิยะนาถ บุญมีพิพิธ. (2563). ภาวะผู้นําของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรีเขต 2. วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 6(2), 473-495.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Mickey, B. H. (2000). Instructional leadership: A vehicle for one urban principal to effective pedagogical restructuring in a Middle school, Doetoral dissertation, Temple University.