การรับรู้และการประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครูของนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพ หลักสูตร 4 ปี ในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพในสถานศึกษา

Main Article Content

ณัฏฐ์วิชิดา เลิศพงศ์รุจิกร
ปัฐมาภรณ์ พิมพ์ทอง
วีณา ยาไทย
ธีรภพ ชาดวง
มนตรี แจ้งมงคล
คันธารัตน์ ยอดพิชัย
มณฑิชา อุไรพงษ์
นฤมล ศราธพันธุ์
อุทุมพร อินทจักร์

บทคัดย่อ

        การวิจัยเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้สมรรถนะทางวิชาชีพครูของนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพ หลักสูตร 4 ปี กลุ่มที่ศึกษา ได้แก่ นิสิตครูในสถาบันผลิตครูแห่งหนึ่ง จำนวน 168 คน ครูพี่เลี้ยง จำนวน 112 คน และอาจารย์นิเทศก์จำนวน 46 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสำรวจการรับรู้สมรรถนะทางวิชาชีพครูของนิสิต และแบบประเมินสมรรรถนะทางวิชาชีพครูโดยครูพี่เลี้ยงและอาจารย์นิเทศก์หลังจากสิ้นสุดการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ การสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และแฟ้มสะสมผลงานของนิสิต
        ผลการวิจัยพบว่านิสิต ครูพี่เลี้ยงและอาจารย์นิเทศก์ส่วนมากมีความเห็นตรงกันว่านิสิตมีสมรรถนะด้านจรรยาบรรณต่อตนเอง ต่อวิชาชีพ ต่อผู้รับบริการ ต่อผู้ร่วมวิชาชีพ ต่อสังคมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยนิสิตมีการรับรู้สมรรถนะทางวิชาชีพครูของตนเองระดับมากที่สุด ในด้านการยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล (ค่าคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 4.64) ส่วนครูพี่เลี้ยงและอาจารย์นิเทศก์มีความคิดเห็นว่านิสิตส่วนมากมีสมรรถนะทางวิชาชีพครูมากที่สุด ในด้านจรรยาบรรณต่อตนเอง ต่อวิชาชีพ ต่อผู้รับบริการ ต่อผู้ร่วมวิชาชีพ ต่อสังคม (ค่าคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 4.56) ในด้านของปัญหาพบว่านิสิตส่วนมากระบุถึงปัญหาด้านการจัดการชั้นเรียนการสอนในเนื้อหาวิชาเฉพาะ และความสัมพันธ์กับผู้ปกครองและชุมชน สำหรับความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ พบว่าเกี่ยวกับช่วงเวลาในการฝึกปฏิบัติวิชาชีพระหว่างเรียนและการประสานงานและวางแผนร่วมกันระหว่างสถาบันผลิตครูและสถานศึกษา ข้อเสนอแนะจากงานวิจัยนี้สำหรับสถาบันผลิตครูคือควรมีเกณฑ์การประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครูให้เหมาะสมกับระยะเวลาในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพและบริบทของนิสิต ผู้สอน และสถานศึกษา และใช้เวลาในการศึกษาสมรรถนะของนิสิตครูให้ยาวขึ้นเนื่องจากการพัฒนาสมรรถนะเป็นสิ่งต้องใช้เวลา

Article Details

How to Cite
เลิศพงศ์รุจิกร ณ. ., พิมพ์ทอง ป. ., ยาไทย ว. ., ชาดวง ธ. ., แจ้งมงคล ม. ., ยอดพิชัย ค. ., อุไรพงษ์ ม. ., ศราธพันธุ์ น. ., & อินทจักร์ อ. . (2024). การรับรู้และการประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครูของนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพ หลักสูตร 4 ปี ในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพในสถานศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 24(1), 106–117. https://doi.org/10.55164/jedutsu.v24i1.261053
บท
บทความวิจัย

References

ประกาศคณะกรรมการคุรุสภา เรื่อง รายละเอียดของมาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพครูตามข้อบังคับ คุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562. (2563, 7 พฤษภาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 137 ตอนพิเศษ 109ง, หน้า 10-14.

สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2562). กรอบสมรรถนะครูเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ซี-ทีซีเอฟ). กรุงเทพฯ: บริษัท ออนป้า จำกัด.

สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2564). เอกสารประกอบการประชุมชี้แจง เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเครื่องมือ การทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครู ด้านการปฏิบัติงานและการปฏิบัติตนตามมาตรฐานวิชาชีพครู พ.ศ. 2564. [ม.ป.ท.]

Bertram, A., & Loughran, J. (2012). Science Teachers’ Views on CoRes and PaP-eRs as a Framework for Articulating and Developing Pedagogical Content Knowledge. Research in Science Education, 42(6), 1027–1047.

Cravens, X. C., & Hunter, S. B. (2021). Assessing the impact of collaborative inquiry on teacher performance and effectiveness. School Effectiveness and School Improvement, 32(4), 564–606.

Foote, M. Q., Roth McDuffie, A., Turner, E. E., Aguirre, J. M., Bartell, T. G., & Drake, C. (2013). Orientations of prospective teachers toward students’ family and community. Teaching and Teacher Education, 35(1), 126–136.

Joffe, H. (2012). Thematic Analysis. In D. Harper & A. R. Thompson (Eds.), Qualitative research methods in mental health and psychotherapy: a guide for students and practitioners (pp. 209–223). West Sussex: John Wiley & Sons.

Kartal, G. (2020). Collaborative metaphor and anticipatory reflection in preservice teacher education: Is drama the answer? Teaching and Teacher Education, 88, 1-11.

Kloser, M., Wilsey, M., Madkins, T. C., & Windschitl, M. (2019). Connecting the dots: Secondary science teacher candidates’ uptake of the core practice of facilitating sensemaking discussions from teacher education experiences. Teaching and Teacher Education, 80, 115–127.

Kroeger, J., & Lash, M. (2011). Asking, listening, and learning: Toward a more thorough method of inquiry in home–school relations. Teaching and Teacher Education, 27(2), 268–277.

Lee, S. A., & Schallert, D. L. (2016). Becoming a teacher: Coordinating past, present, and future selves with perspectival understandings about teaching. Teaching and Teacher Education, 56, 72–83.

MacPhail, A., Tannehill, D., & Goc Karp, G. (2013). Preparing physical education preservice teachers to design instructional aligned lessons through constructivist pedagogical practices. Teaching and Teacher Education, 33, 100–112.

Magnusson, S., Krajcik, J., & Borko, H. (1999). Nature, sources, and development of pedagogical content knowledge for science teaching. In J. Gess-Newsome & N. G. Lederman (Eds.), Examining pedagogical content knowledge: The construct and its implication for science education (pp. 95-132). Dordrecht: Kluwer Academic.

Peralta, L., & Burns, K. (2012). First off the blocks: professional experience and learning for first-year preservice Physical and Health Education teachers. Asia-Pacific Journal of Teacher Education, 40(2), 127–141.

Reynolds, W.M. and Park, S. (2020). Examining the relationship between the Educative Teacher Performance Assessment and preservice teachers' pedagogical content knowledge. Journal of Research in Science Teaching, 58(5). 721-748.

Sevimli-Celik, S., & Johnson, J. E. (2016). Teacher preparation for movement education: increasing pre-service teachers’ competence for working with young children. Asia-Pacific Journal of Teacher Education, 44(3), 274–288.

Shulman, L. S. (1986). Those who understand: Knowledge growth in teaching. Educational Researcher, 15(2), 4–14.

Shulman, L. S. (1987). Knowledge and teaching: Foundations of the new reform. Harvard Educational Review, 57(1), 1–22.

The Florida Center for Instructional Technology. (2021). Technology Integration Matrix. Retrieved January 1, 2023, from https://fcit.usf.edu/matrix/matrix/

United Nations. (2015). Sustainable development goals (SDGs). Retrieved January 1, 2023, from https://sustainabledevelopment.un.org/sdgs

Wang, L., Kimura, Y., & Yurita, M. (2022). One step further: advancing lesson study practice through collaborative inquiry school-university partnerships. Asia Pacific Journal of Education, 42(1), 124–137.