การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุก ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาประวัติศาสตร์และทักษะการคิดขั้นสูง สำหรับนักเรียนโรงเรียนขนาดเล็ก
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง แบบกลุ่มเดียวก่อนสอบและหลังสอบ (One Group Pretest- Posttest Design) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ออกแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุก และ 2) ศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุก โดยมีนักเรียนจากโรงเรียนขนาดเล็ก กลุ่มอำเภอเมืองสงขลา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1 จำนวน 8 โรงเรียน ในภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา 2565 จำนวน 73 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุก แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาประวัติศาสตร์ แบบทดสอบวัดทักษะการคิดขั้นสูงในวิชาประวัติศาสตร์ และแบบสอบถามของครูในโรงเรียนขนาดเล็ก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุก ประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 3 แผน 16 สัปดาห์ เวลา 16 ชั่วโมง ดำเนินการจัดการเรียนรู้ใน 5 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 การทำความเข้าใจสถานการณ์ ขั้นที่ 2 การรวบรวมหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ขั้นที่ 3 การพิจารณาและตีความข้อมูล ขั้นที่ 4 การตัดสินใจเลือกข้อสรุป ขั้นที่ 5 การอภิปรายข้อมูลร่วมกัน 2) ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุก พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาประวัติศาสตร์ของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 ทักษะการคิดขั้นสูงของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 และผลการศึกษาความคิดเห็นของครูที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ พบว่า ครูมีความคิดเห็นในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= 4.35, S.D. = 0.12)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ในกรณีที่กองบรรณาธิการ หรือผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งได้รับเชิญให้เป็นผู้ตรวจบทความวิจัย หรือ บทความทางวิชาการมีความเห็นว่าควรแก้ไขความบกพร่อง ทางกองบรรณาธิการจะส่งต้นฉบับให้ ผู้เขียนพิจารณาจัดการแก้ไขให้เหมาะสมก่อนที่จะลงพิมพ์ ทั้งนี้ กองบรรณาธิการจะยึดถือความคิด เห็นของผู้เชี่ยวชาญเป็นเกณฑ์
References
กมล โพธิเย็น. (2564). Active Learning: การจัดการเรียนรู้ที่ตอบโจทย์การจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 19(1), 11-28.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
ชัยยงค์ ราตรี, วรเวช ศิริประเสริฐศรี และอรัญ ซุยกระเดื่อง. (2565). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก เรื่อง พลเมืองดีในวิถีประชาธิปไตย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 9(1), 163-178.
ฐนัส มานุวงศ์. (2562). การจัดการเรียนการสอนเชิงรุกเพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของนักเรียนนายร้อยตาม แนวคิดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า, 6(2562), 232-263.
ทรรศนัย โกวิทยากร และมาเรียม นิลพันธุ์. (2564). การจัดการเรียนรู้เชิงรุกระดับประถมศึกษาด้วยเกมการเรียนรู้เป็นฐานสำหรับผู้เรียนเจเนอเรชันแอลฟา. วารสารนานาชาติ มหาวิทยาลัยขอนแก่น สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 11(3), 173-195.
นพรัตน์ มาเขียว. (2564). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning). วารสารอักษราพิบูล, 2(2), 83-99.
นวรัตน์ ไวชมภู, ดวงใจ เปลี่ยนบำรุง และกิตติพร เนาว์สุวรรณ. (2562). การเรียนรู้แบบเชิงรุก: การเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานในศตวรรษที่ 21. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 14(1), 149-159.
ฝนพรม พุทธนา. (2562). การพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาโดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Active Learning ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. ปริญญาการศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พิชญา ทองคำพานิช. (2564). ผลการเรียนรู้เชิงรุกที่มีต่อการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง หน้าที่พลเมือง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.
ยุวดี ชมชื่น. (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์โดยประยุกต์วิธีการทางประวัติศาสตร์และการเรียนรู้แบบผสมผสาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
รัชนีกร หงส์พนัส. (2563). การพัฒนาตัวชี้วัดและเกณฑ์คุณลักษณะครูประวัติศาสตร์ในศตวรรษที่ 21. วารสารวิธีวิทยาการวิจัย, 33(3), 239-256.
ราตรี เลิศหว้าทอง. (2565). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและพฤติกรรมการเรียนรู้การทำงานกลุ่ม โดยการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนหนองสังข์วิทยายน สังกัดองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดชัยภูมิ. วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์, 4(1), 1-8.
โรงเรียนวัดท้ายยอ. (2563). รายงานการประเมินตนเอง. สงขลา: โรงเรียนวัดท้ายยอ จังหวัดสงขลา. ลีลาวดี ชนะมาร. (2563). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อส่งเสริมความสามารถในการออกแบบการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย ของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย. ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
วารินท์พร ฟันเฟื่องฟู. (2562). การจัดการเรียนรู้Active Learning ให้สำเร็จ. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 9(1), 135-145.
สาวิตรี โชดก. (2564). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นตามแนวคิดประวัติศาสตร์บอกเล่าเพื่อส่งเสริมการรับรู้ความรู้สึกทางประวัติศาสตร์ร่วมกัน สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา. ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สิทธิพร ชุลีธรรม, ณัฐวุฒิ ช่วยเอื้อ และดวงตา อินทรนาค. (2563). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ในการจัดการเรียนการสอนระหว่างการใช้การเรียนการสอนแบบ Active Learning โดยใช้นวัตกรรมการสอน Google Classroom กับการเรียนการสอนแบบปกติ (Passive Learning) กรณีศึกษา การจัดการเรียนการสอนรายวิชาประวัติศาสตร์ไทย นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ มหาวิทยาลัยมหิดล, 7(2), 203-220.
Aykan, A. (2022). The Effect of Active Learning Techniques on Academic Performance and Learning Retention in Science Lesson: An Experimental Study. Journal of STEM Teacher Institutes, 2(1), 42-48.
Altintas, İ.N. and Yenigül, Ç.K. (2020). Active learning education in Museum. International Journal of Evaluation and Research in Education (IJERE), 9(1), 120-128.
Akhan, O. (2021). History Teaching Approaches Preferred by Turkish and Russian History Teachers. World Journal of Education, 11(1), 62-74.
Birdwell, T. (2022). Active Learning Classroom Observation Tool: Improving Classroom Teaching and Supporting Instructional Change through Reflection. Journal of Learning Spaces, 11(1), 108-121.
Issar, K. (2021). Students’ Attitude Towards Studying History and Teaching Practices. The Asian Institute of Research Education Quarterly Reviews, 4(3), 45-50.
Keith, C and Linda, L. (2010). Why Don’t More History Teacher Engage Students in Interpretation. Social Studies Today Research and Practice, 22(2), 37.
Knudsen, H.E. (2020). History teaching as a designed meaning-making process: Teacher facilitation of student–subject relationships. History Education Research Journal, 17(1), 36–49.
Martella, A.M. (2021). Implementing Active Learning: A Critical Examination of Sources of Variation in Active Learning College Science Courses. Journal on Excellence in College Teaching, 32(1), 67-96.
Rezaei, A. (2020). Groupwork in Active Learning Classrooms: Recommendations for Users. Journal of Learning Spaces, 9(2), 1-21.
Sefa, Y., Özkan, A. and Bülent, A. (2017). The Level of History Teachers’ Use Active Learning Methods and Technics. International Education Studies, 10(12), 140-152.
Shrof, R.H. (2021). Conceptualization, Development and Validation of an Instrument to Measure Learners’ Perceptions of their Active Learning Strategies within an Active Learning Context.International Journal of Educational Methodology, 7(1), 201-223.