ผลการเรียนรู้ภูมิศาสตร์ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ สำหรับนักเรียนประถมศึกษา สังกัดเครือข่ายการศึกษาเมืองใหม่พัฒนา จังหวัดสงขลา

Main Article Content

วิภาพรรณ พิมลา
วิภาดา พิมลา
ณัชชา มหปุญญานนท์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ออกแบบการจัดการเรียนรู้ภูมิศาสตร์ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ และ 2) ศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ภูมิศาสตร์ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง แบบกลุ่มเดียวก่อนสอบและหลังสอบ (One Group Pretest- Posttest Design) โดยมีนักเรียนจากโรงเรียนประถมศึกษาในสังกัดเครือข่ายการศึกษาเมืองใหม่พัฒนา จำนวน 6 โรงเรียนในจังหวัดสงขลา ในภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา 2565 จำนวน 145 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ แบบทดสอบวัดความสามารถในการเรียนรู้ และแบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ ประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 6 แผน 20 สัปดาห์ เวลา 20 ชั่วโมง ดำเนินการจัดการเรียนรู้ใน 5 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 เสนอสถานการณ์ปัญหาสิ่งแวดล้อม ขั้นที่ 2 สำรวจและรวบรวมข้อมูล ขั้นที่ 3 สะท้อนความคิดในสิ่งที่เกิดขึ้น ขั้นที่ 4 สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ขั้นที่ 5 วัดและประเมินผลการเรียนรู้ 2) ผลการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ พบว่า ผลการเรียนรู้ของนักเรียนด้านความสามารถในการเรียนรู้ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 และผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้ พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\fn_cm&space;\bar{x}= 4.41, S.D. = 0.23)

Article Details

How to Cite
พิมลา ว., พิมลา ว., & มหปุญญานนท์ ณ. . (2023). ผลการเรียนรู้ภูมิศาสตร์ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ สำหรับนักเรียนประถมศึกษา สังกัดเครือข่ายการศึกษาเมืองใหม่พัฒนา จังหวัดสงขลา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 23(2), 149–160. https://doi.org/10.55164/jedutsu.v23i2.260026
บท
บทความวิจัย

References

กิตติกวินท์ ปินไชย และรัตติกาล สารกอง. (2564). “การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการรู้เรื่องภูมิศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3”, วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 15(1), 29-42.

ฉวีวรรณ เพชรดี และดรุณี จำปาทอง. (2564). “ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิซึม เรื่อง เศรษฐศาสตร์เบื้องต้นที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนอนุบาลวัดบางนางบุญ จังหวัดปทุมธานี”, วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 13(1), 258-273.

ณัฏฐ์วัฒน์ อนันตะสุข และมาริษา มังกร. (2563). “การศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อ ส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษาและความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4”, วารสารคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์. 3(2), 40-49.

ดรุณี จำปาทอง. (2560). “สภาพการจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมตาม หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ในระดับการศึกษาภาคบังคับ”, วารสาร ศึกษาศาสตร์ มสธ. 10(2), 121-135.

ทัศวัฒน์ ซอแก้ว และณัฐเชษฐ์ พูลเจริญ. (2565). “รูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาภูมิศาสตร์ที่ส่งเสริมทักษะการคิดแบบองค์รวม : กรณีศึกษากล้วยไข่กำแพงเพชรที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์โดยใช้สวน กล้วยเป็นฐานการเรียนรู้”, วารสารวิชาชีพสู่การวิจัย. 9(1), 35-46.

ภริมา วินิธาสถิตกุล และชนินันท์ แย้มขวัญยืน. (2565). “การเรียนรู้เชิงรุก: แนวทางการเรียนการสอนที่เป็นเลิศใน ศตวรรษที่ 21”, วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย. 6(3), 921-933.

ยุพิน นารีหวานดี. (2563). “การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการสร้างความรู้และการแก้ปัญหาเชิง สร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5”, วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราช ภัฏสงขลา. 2(2), 133-159.

วลิดา อุ่นเรือน. (2563). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยการปฏิสัมพันธ์ทาง สังคมร่วมกับแนวคิดการเรียนรู้ตามสภาพจริง เพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นความ แตกต่างระหว่างบุคคลสำหรับนักศึกษาครู. (วิทยานิพนธ์ การศึกษาดุษฎีบัณฑิต). พิษณุโลก : มหาวิทยาลัย นเรศวร.

วัชราภรณ์ ประภาสะโนบล และมาเรียม นิลพันธุ์. (2564). “การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานตามแนวทฤษฎี การสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน”, วารสารวิจัยและพัฒนาหลักสูตร. 11(1), 8-23.

วิจิตรา กาวิชัย ชรินทร์ มั่งคั่ง และจารุณี ทิพยมณฑล. (2564). “แนวคิดการจัดการเรียนรู้สาระภูมิศาสตร์แบบการคิด เชิงพื้นที่ เพื่อส่งเสริมจิตสำนึกการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในพื้นที่สูงของนักเรียนชั้นประถมศึกษา”, วารสาร สังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ. 6(8), 178-192.

สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ.2561-2580. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติ.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางสาระภูมิศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง 2560) กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และแนวการจัดกิจกรรมการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่ง ประเทศไทย จำกัด.

เสรี คำอั่น และกิรณา จิรโชติเดโช. (2562). “ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามแนวคิดทฤษฎีสร้างองค์ความรู้ด้วย ตนเองร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์”, วารสารครุ ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 47(2), 328-344.

แสงมณี อยู่พุก. (2562). “การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองที่ส่งเสริมการคิด อย่างมีวิจารณญาณเพื่อการแก้ปัญหาและจิตวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1”, วารสาร ครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 1(1), 63-73

อัญญา บูชายันต์ และวนมพร พาหะนิชย์. (2563). “การใช้ Google Earth ในการจัดการเรียนรู้ภูมิศาสตร์”, วารสาร มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. 2(2), 18-29.

Anthony, R.N. (1996). Planning and Control System : A Framework for Analysis. Boston Massachusetts : Division of Research, Harvcord Business School.

Brooks, J.G., and Brooks., M.G. (1993). In Search of Understanding : The Case for the Constructivist Classroom. Alexandria, VA : ASCD.

Clements, D.H. (1997). (Mis) Constructing Constructivist. Teaching Children Mathematics. 4(4), 198- 200.

Driscoll. (1994). Psychology of Learning for Instruction. New Jersey : Allyn and Bacon.

Gredler, M.E. (1997). Learning and Instruction : Theory into Practice. 3rd ed. Upper Saddle River, NJ : Prentice Hall.