ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคแสวงหาความรู้เป็นกลุ่มและเอส ที เอ ดี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

Main Article Content

นวพร พรหมพิลา
เกริก ศักดิ์สุภาพ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาฟิสิกส์ก่อนเรียนและหลังเรียน 2) เพื่อศึกษาพัฒนาการความสามารถในการเรียนรู้เป็นทีม และ 3) เพื่อเปรียบเทียบเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคแสวงหาความรู้เป็นกลุ่มและเอส ที เอ ดี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคแสวงหาความรู้เป็นกลุ่มและเอส ที เอ ดี 2) แบบประเมินความสามารถในการเรียนรู้เป็นทีม 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การเคลื่อนที่แนวตรง และ 4) แบบวัดเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ในรายวิชาฟิสิกส์ สถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ การทดสอบค่าที (t-test for dependent sample , t-test for one samples) ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาฟิสิกส์ เรื่อง การเคลื่อนที่แนวตรงหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด (ร้อยละ 60) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) นักเรียนมีพัฒนาการความสามารถในการเรียนรู้เป็นทีมสูงขึ้นจากเดิม และ 3) นักเรียนมีเจตคติต่อวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีเจตคติต่อวิทยาศาสตร์สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด (3.5) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์

ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กุญชรี ค้าขาย. (2540). จิตวิทยาการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา.

เขมณัฎฐ์ มิ่งศิริธรรม. (2554). การบูรณาการวิธีการเรียนแบบร่วมมือกับการเรียนร่วมกัน. สืบค้นจาก http://www.ejournal.su.ac.th/upload/261.pdf

จันทร์เพ็ญ เชื้อพานิช. (2542). ประมวลบทความการเรียนการสอนและการวิจัยระดับมัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ดวงกมล สินเพ็ง. (2553). การพัฒนาผู้เรียนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ : การจัดการเรียนการสอนที่เน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิศนา แขมมณี. (2552). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญเมฆ ภมรสิงห์. (2545). ร่วมปฏิรูปการเรียนรู้กับครูต้นแบบการปฏิรูปการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญการสอนแบบการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบร่วมมือและการวิจัยในชั้นเรียน. กรุงเทพฯ: ดับบลิวเจ.พร็อพเพอตี้.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2543). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สำนักทดสอบการทางศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

โรงเรียนคำเตยวิทยา. (2562). รายงานการประเมินตนเองของกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนคำเตยวิทยา ประจำปีการศึกษา 2561. ยโสธร: โรงเรียนคำเตยวิทยา.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

อาภรณ์ ใจเที่ยง. (2550). หลักการสอน (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

อารี พันธ์มณี. (2540). จิตวิทยาการเรียนการสอน (พิมพ์ครั้งที่3). กรุงเทพฯ: บริษัท ต้นอ้อ จำกัด.

อารี พันธ์มณี. (2551, กรกฎาคม – ธันวาคม). กลยุทธ์สู่ความสุขและความสำเร็จในการทำงาน. วารสารการแนะแนวและจิตวิทยาการศึกษา, 1(3), 6-10.

Johnson, D. W., และ Johnson, R. T. (1994). Learning Together and Alone: Cooperative and Individualistic Learning (4th ed). New Jersey: Prentice Hall.

Sharan Y, และ Sharan S. (1990). Group investigation expands cooperative learning. Education leadership, 47(4), 89.

Slavin, R. E. (1995). Cooperative Learning : Theory, Research and Practice. Englewood, New Jersey: Prestice Hall.