การปรับตัว และแนวปฏิบัติที่ดีในการจัดการเรียนรู้ของครูคหกรรมศาสตร์ การศึกษาขั้นพื้นฐานในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19

Main Article Content

นฤมล ศราธพันธุ์
สุวิมล อุไกรษา
คันธารัตน์ ยอดพิชัย

บทคัดย่อ

การแพร่ระบาดของโควิด -19 ก่อให้เกิดวิถีปกติใหม่ โดยเฉพาะในด้านการจัดการศึกษาที่ต้องมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบจัดการเรียนรู้ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปรับตัวและแนวปฏิบัติที่ดีในการจัดการเรียนรู้ของครูคหกรรมศาสตร์การศึกษาขั้นพื้นฐานในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้าง (Semi-Structured Interview) กับครูคหกรรมศาสตร์ที่สอนในโรงเรียนการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 9 คน ใช้การเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยมีเกณฑ์การคัดเลือกกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ เป็นครูประจำการ โรงเรียนสังกัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีประสบการณ์การสอนในโรงเรียนการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างน้อย 3 ปี อยู่กลุ่มสาระการงานอาชีพ มีประสบการณ์ในการสอนช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (Content Analysis) ร่วมกับวิธีการวิเคราะห์แก่นสาระ (Thematic Analysis) ผลการวิจัย พบว่า ครูคหกรรมศาสตร์จัดการเรียนรู้ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ใน 3 ช่วงแตกต่างกันตามระดับความรุนแรงของการแพร่ระบาด คือจัดการเรียนรู้แบบออนไซต์ แบบผสมผสาน และแบบออนไลน์ 100 % ครูคหกรรมศาสตร์มีการปรับตัวใน 1) การประสานงานกับผู้ปกครอง และติดตามนักเรียนจากเพื่อน ครูที่ปรึกษา และครูประจำชั้นมากขึ้น 2) ปรับลดเนื้อหาให้กระชับสอดคล้องกับสภาวะการณ์ปัจจุบันในชีวิตจริง 3) มีความยืดหยุ่นในการประเมินผล ชิ้นงานที่สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน เปิดโอกาสให้เลือก แต่สอดคล้องกับตัวชี้วัดการเรียนรู้ 4) การเรียนรู้เทคโนโลยีเพื่อการสื่อสารทางการศึกษา และผลิตสื่อการเรียนรู้ ครูคหกรรมศาสตร์ มีแนวปฏิบัติที่ดีในการจัดการเรียนรู้ในการติดต่อสื่อสารกับผู้ปกครอง การวางตัวที่เข้ากับวัยของนักเรียน การเป็นครูที่ขยัน และใส่ใจนักเรียน ปรับเนื้อหาให้มีความยืดหยุ่นเข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน ทันสมัย ใช้ในชีวิตประจำวันได้ ลดชิ้นงานโดยบูรณาการหลายหน่วยการเรียนรู้ ใช้แนวคิดบ้านเป็นฐานในการเรียนรู้ การใช้แอปพลิเคชันทางการศึกษาในการผลิตสื่อและจัดระบบสารสนเทศของนักเรียน การประเมินผลที่มีความยืดหยุ่นตามสภาวะของนักเรียน ให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการประเมิน และนักเรียนมีส่วนร่วมในการประเมินการจัดการเรียนรู้ของครู

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมโรคติดต่อ. (2564). สถานการณ์ผู้ติดเชื้อ COVID-19 อัพเดทรายวัน. สืบค้นจากhttps://ddc.moph.go.th/covid19-dashboard

กาญจนา บุญภักดิ์. (2563). บทความปริทัศน์ เรื่อง การจัดการเรียนรู้ยุค New Normal. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 19(2), A1-A6.

เก็จกนก เอื้อวงศ์, ชูชาติ พ่วงสมจิตร์, นงเยาว์ อุทุมพร, กุลชลี จงเจริญ และฐิติกรณ์ ยาวิไชย. (2564). รายงานการศึกษา รูปแบบการจัดการเรียนรู้สำหรับนักเรียน ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ COVID-19. กลุ่มพัฒนานโยบายด้านการเรียนรู้ สำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. สืบค้นจาก http://backoffice.onec.go.th/uploads/Book/1834-file.pdf

งานโรคติดต่ออุบัติใหม่ กลุ่มพัฒนาวิชาการโรคติดต่อ. (2564). สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มาตรการสาธารณสุข และปัญหาอุปสรรคการป้องกันควบคุมโรคในผู้เดินทาง. สืบค้นจาก https://ddc.moph.go.th/uploads/files/2017420210820025238.pdf

เทื้อน ทองแก้ว. (2563). การออกแบบการศึกษาในชีวิตวิถีใหม่: ผลกระทบจากการแพร่ระบาด COVID-19. คุรุสภาวิทยาจารย์, 2563(1): 2, 1-10.

ปภัสสร อยู่ชา. (2563). New Normal และพัฒนาการเรียนรู้ กับความท้าทาย การศึกษาไทย: บทเรียนจากต่างประเทศ สู่การจัดการเรียนรู้ของไทย. วารสารการศึกษาไทย. 17(4).

พงศ์ทัศ วนิชานันท์. (2564). การศึกษาขั้นพื้นฐานในยุค โควิด-19: จะเปิด-ปิดโรงเรียนอย่างไร?. สืบค้นจาก https://tdri.or.th/2020/05/basic-education-in-covid-19-crisis-reopening-school-after-lockdown

ภูษิมา ภิญโญสินวัฒน์. (2564). จัดการเรียนการสอนอย่างไรในสถานการณ์โควิด–19: จากบทเรียนต่างประเทศสู่การจัดการเรียนรู้ของไทย. สืบค้นจาก https://tdri.or.th/2020/05/examples-of-teaching-and-learning-in-covid-19-pandemic

ยืน ภู่วรวรรณ. (2564). โควิด 19 กับการศึกษาวิถีใหม่. สืบค้นจาก https://learningdq-dc.ku.ac.th/

ราชกิจจานุเบกษา. (2563). เรื่อง ศบค.ควบคุมโรค. สืบค้นจาก http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2564/E/173/T_0001.PDF

วิชัย วงษ์ใหญ่ และ มารุต พัฒผล. (2563). การออกแบบการเรียนรู้ใน New Normal. กรุงเทพมหานคร.บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Al Ghazali, F. (2020). Challenges and Opportunities of Fostering Learner Autonomy and Self-access Learning during the COVID-19 Pandemic. Studies in Self-Access Learning Journal 11(3), 114–127.

Brown, M. and B. Paolucci. (1978). Home Economics: A Definition. University of Minnesota And Michigan State University. (Mimeographed).

Minke, K. M., Sheridan, S. M.,Kim, E. M. Ryoo, J.H., & Koziol, N.A. (2014). Congruence in Parent-Teacher Relationships: The Role of Shared Perceptions. The Elementary School Journal, 114(4), 527-546.

Salhab, R., S. Hashaykeh, A. Rabo, Z. Khlaif, S. Salha, S. Affouneh. (2021). Best Practices of School Teacher to Sustain their Students Learning During Crisis. Journal of Southwest Jiaotong University, 56(4), 44-53.