มุมมองของผู้เรียนต่อการจัดกิจกรรมแบบเน้นภาระงาน สำหรับการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในรายวิชาการแปล

Main Article Content

นิชฎารัสมิ์ รักษาสัตย์
อาภรณ์ชนิศ แสงสังข์

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาการแปล โดยเน้นการศึกษาเพื่อการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในรูปแบบการเน้นภาระงาน (a task-based learning approach) สำหรับรายวิชาการแปลนั้น ผู้ทำวิจัยพบว่าแม้จะมีการเน้นการทำแบบฝึกหัดเพื่อฝึกฝนทักษะการแปล แต่การเรียนรู้ในห้องเรียนส่วนใหญ่ยังคงเน้นการสอนที่เน้นผู้สอนเป็นศูนย์กลาง ด้วยเหตุนี้ ผู้ทำวิจัยจึงมีความสนใจเป็นอย่างยิ่งที่จะพัฒนารูปแบบการสอนรายวิชาการแปลให้มีประสิทธิภาพและส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนให้เกิดการสร้างความรู้และพัฒนาตนเองให้ได้มากที่สุด เนื่องจากทักษะการแปลภาษาถือเป็นทักษะที่สำคัญเป็นอย่างมากสำหรับสังคมในศตวรรษที่ 21 ซึ่งถือได้ว่าเป็นยุคแห่งข้อมูลข่าวสาร ภาษาถือเป็นเครื่องมือหรือตัวกลางสำคัญในการขับเคลื่อนการแลกเปลี่ยนข้อมูล (Kapur, 2014, หน้า 55) ผู้เข้าร่วมวิจัยเป็นนิสิตเอกภาษาอังกฤษ ระดับปริญญาตรี จำนวน 94 คน และอาจารย์ผู้สอนรายวิชาการแปล จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แบบสังเกตการเรียนการสอนรายในวิชาการแปล 2) แบบสำรวจพฤติกรรมการเรียนรู้สำหรับนิสิต 3) แบบสัมภาษณ์นิสิต และ 4)  แบบสัมภาษณ์อาจารย์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) และการจัดกลุ่มตามประเด็นที่ศึกษา (qualitative themes) ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความพึงพอใจโดยรวมของนิสิตในการสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางโดยใช้การเรียนรู้แบบเน้นภาระงานอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.72)  2) นิสิตส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในบทบาทของผู้สอนที่ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือในห้องเรียนแทนการเป็นผู้บรรยายเนื้อหาเป็นหลักในระดับปานกลาง (x̄ = 2.56) โดยนิสิตจำนวน 57 คนจาก 94 คน (57 %) แสดงความรู้สึกพึงพอใจเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของผู้สอนแบบพี่เลี้ยงในระดับต่ำ 3) จากข้อที่ 2 อาจารย์ผู้สอนรายวิชาการแปลให้ความเห็นเกี่ยวกับบทบาทของผู้สอนและการเรียนรู้ของนิสิตไปในทิศทางเดียวกันว่า นิสิตที่เรียนในรายวิชาการแปลสามารถปรับตัวเรียนรู้ในรูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในรูปแบบการเน้นภาระงานในระดับที่น้อย กล่าวคือ นิสิตยังคงต้องการคำชี้นำและคำอธิบายที่ละเอียดก่อนที่จะทำงานและระหว่างทำงาน โดยผู้สอนให้ความเห็นว่าสาเหตุหลักอาจจะมาจาก 1) ความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ด้วยตนเองของตัวนิสิตที่มีในระดับน้อย และ 2) ความเคยชินกับการเรียนการสอนแบบมีผู้สอนเป็นศูนย์กลาง ทำให้นิสิตเกิดความไม่มั่นใจในตนเองเมื่อต้องทำการเรียนรู้ ทำงานในการวิเคราะห์บทแปลหรือแปลงานด้วยตนเองในห้องเรียน  3) นิสิตกลัวการตอบผิดหรือวิเคราะห์ผิด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Arnold, J. (1999). Affect in language learning. Cambridge: Cambridge University Press.

Brown, H.D. (1987). Principles of Language Learning and Teaching. Hemel Hempstead: Prentice Hall.

Buzan T. (1991). Use Both Sides of Your Brain. New York: Plume.

Chang, H. H., & Chuang, S. S. (2011). Social capital and individual motivations on knowledge sharing: Participant involvement as a moderator. Information & management, 48(1), 9-18. Retrieved on November, 6, 2021 from http://dx.doi.org/10.1016/j.im.2010.11.001

Davies M.G. (2017). Multiple Voices in the Translation Classroom. John Benjamins Publishing Company.

Dorathy, A. (2018). Effectiveness of Task-based Language Teaching in Developing the Communicative Skills of Students. International Journal of Pure and Applied Mathematics, 119(18), pp. 1-22. Retrieved on August 21, 2020 from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/eduthu/article/view/248096/170536

Ellis, R. (2003). Designing a Task-based Syllabus. SAGE journals, 34(1), 64-81. Retrieved on November, 6, 2018 from https://doi.org/10.1177/003368820303400105

Farfán, M. H. (2019). English Foreign Language Teachers’ Perceptions of the Implementation of Task Based Language Teaching in Chile. Gist Education and Learning Research Journal, 6, 147-158. Retrieved on May 10, 2021 from https://era.library.ualberta.ca/items/e10defe7-7cf4-4359-82ba-3d25f2027de1/view/60ba7a29-26c9-4c46-8df5-2e47218322a9/Herrera_Marcela_I_201901_EdD.pdf

Gibbs, G. (1995). The Society for Research into Higher Education and Open University Press. Celtic Court: Buckingham.

Hadi, A. (2012). Perceptions of Task-based Language Teaching: A Study of Iranian EFL Learnings. English Language Teaching, 6(1), 103-111. Retrieved on January 7, 2019 from DOI:10.5539/elt.v6n1p103.

Hmelo-Silver, C. E. (2004). Problem-based learning: What and how do students learn? Educational psychology review, 16(3), 235-266. Retrieved on August 24, 2020 from https://link.springer.com/article/10.1023/B:EDPR.0000034022.16470.f3

Kapur, M. (2014). Comparing Learning from Productive Failure and Vicarious Failure. Journal of the Learning Sciences, 23(4), pp. 651-677. https://doi.org/10.1080/10508406.2013.819000.

Király, D. C. (2000). A Social Constructivist Approach to Translator Education; Empowering the Translator. Manchester: St. Jerome

Kussmaul, P. (1995). Training the Translator. Amsterdam & Philadelphia: John Benjamins

Littlewood, W. (1995). Communicative Language Teaching. Cambridge: Cambridge University Press.

Li, D. (1998). Teaching Business Translation: A Task-based Approach. The Interpreter and Translator Trainer, 7(1), DOI:10.1080/13556509.2013.798841

Lochana, M. and Deb, G. (2006). Task Based Teaching: Learning English without Tears. The Asian EFL Journal Quarterly, 8(3),140-164. Retrieved on August 28, 2020 from http://www.asian-efl- journal.com/Sept_06_ml&gd.php

Meksophawannagul, M. (2015). Engineering students’ views on the task-based project learning approach and the effectiveness of task-based project learning toward English courses. International Journal of Business and Social Science, 6(8), 107-116. Retrieved on 10 September 2017 from https://ijbssnet.com/journals/Vol_6_No_8_August_2015/12.pdf

Motuziene, R. (2013). A Task-based Language Teaching Approach in Teaching Esp. Cypriot Journal of Educational Sciences. 8(3), 331-340. Retrieved on May 14, 2021 from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhusoc/article/view/197154

Nunan, D. (2004). An Introduction to Task Based Teaching. Cambridge: Cambridge University Press.

Ruso, N. (2007). The Influence of Task Based Learning on EFL Classrooms. The Asian EFL Journal Quarterly, 18, 1-23. Retrieved on October 5, 2020 from http://www.asian-efl-journal.com/pta_February_2007_tr.pdf

Suranakkharin, T. (2017). Using the Flipped Model to Foster Thai Learners’ Second Language Collocation Knowledge. 3L: The Southeast Asian Journal of English Language Studies, 23(3): 1-20. DOI:10.17576/3L-2017-2303-01

Willis, J. (1996). A Framework for Task-Based Learning. Harlow: Longman.