การพัฒนาระบบการผลิตเสียงบรรยายภาพประกอบรายการโทรทัศน์ สำหรับผู้พิการทางสายตา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ทั่วไปเพื่อการพัฒนาระบบการผลิตเสียงบรรยายภาพประกอบรายการโทรทัศน์สำหรับผู้พิการทางสายตา โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของระบบการผลิตเสียงบรรยายภาพประกอบรายการโทรทัศน์สำหรับผู้พิการทางสายตา 2) เพื่อสร้างระบบการผลิตเสียงบรรยายภาพประกอบรายการโทรทัศน์สำหรับผู้พิการทางสายตา 3) เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของระบบการผลิตเสียงบรรยายภาพประกอบรายการโทรทัศน์สำหรับผู้พิการทางสายตา4) เพื่อประเมินรับรองระบบการผลิตเสียงบรรยายภาพประกอบรายการโทรทัศน์สำหรับผู้พิการทางสายตา และ 5) เพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายของระบบการผลิตเสียงบรรยายภาพประกอบรายการโทรทัศน์สำหรับผู้พิการทางสายตา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้พิการทางสายตาที่บอดสนิทและเลือนราง จากโรงเรียนในสังกัดมูลนิธิธรรมิกชนทั่วประเทศ จำนวน 70 คน ผู้อำนวยการและผู้แทนสถานีโทรทัศน์ดิจิทัล จำนวน 3 คน ผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ดิจิทัล จำนวน 40 คน ผู้เชี่ยวชาญในการประเมินร่างระบบ จำนวน 9 คน ผู้เชี่ยวชาญในการประเมินสื่อ จำนวน 5 คน กลุ่มตัวอย่างที่ได้ทดสอบประสิทธิภาพ จำนวน 42 คน และผู้ทรงคุณวุฒิในการรับรองระบบ จำนวน 5 คน
เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ผู้บริหารสถานีโทรทัศน์ แบบสอบถามผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ แบบสอบถามความต้องการจำเป็นของผู้พิการทางสายตา แบบประเมินคุณภาพสื่อ สื่อโทรทัศน์สำหรับผู้พิการทางสายตา แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินและรับรองระบบการผลิตเสียงบรรยายภาพประกอบรายการโทรทัศน์สำหรับผู้พิการทางสายตาสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าประสิทธิภาพ (E1/ E2)
ผลการวิจัยพบว่า
1. องค์ประกอบของระบบการผลิตเสียงบรรยายภาพประกอบรายการโทรทัศน์สำหรับผู้พิการทางสายตา มี 5 องค์ประกอบหลัก คือ 1) บริบท ได้แก่ นโยบาย สถานการณ์ของผู้พิการทางสายตา และเทคโนโลยีด้านการสื่อสาร 2) ปัจจัยนำเข้า ได้แก่ กลุ่มเป้าหมาย เนื้อหารายการ บุคลากร งบประมาณ อุปกรณ์/เครื่องมือ เสียงบรรยายภาพ และปัจจัยสนับสนุนอื่นๆ 3) กระบวนการสร้างระบบการผลิตเสียงบรรยายภาพ 3P7e แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนหลัก และ 7 ขั้นตอนย่อย คือ ก่อนการผลิตรายการ (1) วิเคราะห์ความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย (2) เขียนบทบรรยายภาพ (3) ตรวจสอบบทบรรยายภาพ ขั้นตอนการผลิตรายการ (4) ลงเสียงบรรยายภาพ และขั้นตอนหลังการผลิต (5) ตัดต่อลำดับภาพและใส่เสียงบรรยายภาพ (6) ตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ และ (7) นำไปเผยแพร่ 4) ผลลัพธ์ ได้แก่ ระบบการผลิตเสียงบรรยายภาพประกอบรายการโทรทัศน์สำหรับผู้พิการทางสายตา และ 5) ผลย้อนกลับ
2. ระบบการผลิตเสียงบรรยายภาพประกอบรายการโทรทัศน์สำหรับผู้พิการทางสายตา มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 80.66/ 87.55 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กําหนดไว้
3. ผลการรับรองระบบการผลิตเสียงบรรยายภาพประกอบรายการโทรทัศน์สำหรับผู้พิการทางสายตา คะแนนเฉลี่ย = 4.75 อยู่ในระดับดีมาก
4. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย มีการนำเสนอให้หน่วยงานที่รับผิดชอบด้านนโยบาย ผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ดิจิทัล และผู้ที่ได้รับประโยชน์จากการนำระบบไปใช้งาน ต้องทำการศึกษากลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้อง ทำการศึกษาองค์ประกอบของระบบการผลิตเสียงบรรยายภาพประกอบรายการโทรทัศน์สำหรับผู้พิการทางสายตา ทำการประชาสัมพันธ์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับรายการโทรทัศน์ที่มีเสียงบรรยายภาพให้บุคคลทั่วไปได้ทราบ รวมทั้ง สนับสนุนสถาบันการศึกษาให้ทำการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับผู้พิการทางสายตาให้มากขึ้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ในกรณีที่กองบรรณาธิการ หรือผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งได้รับเชิญให้เป็นผู้ตรวจบทความวิจัย หรือ บทความทางวิชาการมีความเห็นว่าควรแก้ไขความบกพร่อง ทางกองบรรณาธิการจะส่งต้นฉบับให้ ผู้เขียนพิจารณาจัดการแก้ไขให้เหมาะสมก่อนที่จะลงพิมพ์ ทั้งนี้ กองบรรณาธิการจะยึดถือความคิด เห็นของผู้เชี่ยวชาญเป็นเกณฑ์
References
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2565). ข้อมูลสถิติคนพิการ. สืบค้น 8 พฤศจิกายน 2565, จาก https://dep.go.th/th.
กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ. (2565). การฝึกทักษะการดำรงชีวิต. สืบค้น 21 พฤศจิกายน 2565, จาก http://neppr56.dep.go.th/index.php/home-page.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). หมวด 9 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา. สืบค้น 5 พฤศจิกายน 2565, จาก http://www.moe.go.th/hp-vichai/ex-prb05-9.htm
จุฑารัตน์ กลิ่นค้างพลู. (2559). การวิเคราะห์-ประสิทธิผลการจัดทำบริการเสียงบรรยายภาพในรายการโทรทัศน์ สำหรับคนพิการทางการเห็น. (วิทยานิพนธ์ปริญญาเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต). คณะเศรษฐศาสตร์ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556 ). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากร ศึกษาศาสตร์วิจัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 5 (1), 5-20.
ตรี บุญเจือ. (2558). คนพิการกับการเข้าถึงเทคโนโลยีสื่อสารด้านกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์เพื่อการ พัฒนาคุณภาพชีวิต: การศึกษาเชิงวิเคราะห์ วิจักษ์ และวิธาน (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัย สวนสุนันทา.
ตรี บุญเจือ. (2562). คนพิการกับการเข้าถึงหรือรับรู้และใช้ประโยชน์จากกิจการโทรทัศน์. วารสารวิชาการ กสทช., 4(4), 120– 147.
ธีร์ธวัช เจนวัชรรักษ์. (2562). สถานการณ์ปัจจุบันของเสียงบรรยายภาพสำหรับรายการโทรทัศน์ในประเทศ. วารสารมนุษยศาสตร์วิชาการปีที่ 26 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2562), 286-314.
ประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง การส่งเสริม และคุ้มครองสิทธิของคนพิการให้เข้าถึงหรือรับรู้และใช้ประโยชน์จากรายการของกิจการโทรทัศน์, (2559, 5 กุมภาพันธ์), ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม133 ตอนพิเศษ 35 ง.
ประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่องการส่งเสริม และคุ้มครองสิทธิของคนพิการให้เข้าถึงหรือรับรู้และใช้ประโยชน์จากรายการของกิจการโทรทัศน์ (2560, มีนาคม, ราชกิจจานุเบกษา. (ฉบับที่ 2)
ประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง แนวทางการ จัดทำล่ามภาษามือ คำบรรยายแทนเสียง และเสียงบรรยายภาพสำหรับการ ให้บริการโทรทัศน์ตาม ประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของคนพิการให้เข้าถึง หรือรับรู้และใช้ประโยชน์จากรายการของกิจการ โทรทัศน์ (2560, 27 ธันวาคม), ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 134 ตอนพิเศษ 322 ง.
ภัทธีรา สารากรบริรักษ์. (2559). เสียงบรรยายที่ผู้พิการทางการเห็นต้องการ. คณะวารสารศาสตร์ และ สื่อสารมวลชน. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศิริมิตร ประพันธ์ธุรกิจ. (2560). การสื่อสารแบบมีส่วนร่วมของคนพิการทางการเห็นในฐานะ “ผู้ผลิต” เสียง บรรยายภาพฺ (รายงานผลการวิจัย). คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศิริมิตร ประพันธ์ธุรกิจ. (2562). ชวนคิดเกี่ยวกับประเภทรายการและสัดส่วนการให้บริการสำหรับการจัดให้บริการ ล่ามภาษามือ คำบรรยายแทนเสียง และเสียงบรรยายภาพในกิจการโทรทัศน์ไทย (รายงานผลการวิจัย). คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน .กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ. (2562). อำนาจ หน้าที่ของ กสทช. และสำนักงาน กสทช. สืบค้น 22 พฤศจิกายน 2565, จาก https://www.nbtc.go.th/About/Commissioners/PowerNBTC.aspx
อัญมณี เพชรมา. (2561). การผลิตเสียงบรรยายภาพด้วยระบบดิจิทัลประกอบรายการสารคดีโทรทัศน์สำหรับผู้ พิการทางการเห็น. (ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ธัญบุรี.